Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22832
Title: ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Titles: Tourist’s expectation and satisfaction toward eco-tourism in Pai district, Mae-Hongson province
Authors: ณัฐนรี สมิตร
Advisors: สมบัติ กาญจนกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Sombat.K@Chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- แม่ฮ่องสอน
นักท่องเที่ยว -- ไทย
ความพอใจ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อำเภอปายจังหวัด จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ที่มีชื่อเสียงมาในด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบัน ซึ่งในอำเภอปายนั้นมีสภาพพื้นที่ที่งดงาม สภาพอากาศที่หนาวเย็น รวมถึงธรรมชาติที่งดงามจึงทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาเพื่อสัมผัสธรรมชาติ และเดินทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจ ระหว่างเพศ และอายุ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว ณ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการวิจัย 1. ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนอยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่านักท่องเที่ยวเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นแตกต่างกันในความคาดหวังด้านชุมชนสีเขียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่านักท่องเที่ยวที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน มีความคาดหวังแตกต่างกันในด้านชุมชนสีเขียว และมีความพึงพอใจแตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Other Abstract: Pai district. Mae Hong Son province is renowned for tourism attraction. Pai has a beautiful scenery and cold weather, these strength attract a lot of tourist to experience the nature and Eco-tourism each year. Purposes The purposes of this research were to study the expectations and sastisfaction of the visitors about eco-tourism in the area of Pai, Mae Hong Son provinceand to compare the expectations and satisfaction between sex and age of the tourist. Methods Four hundred accidentally samples was selected from Thai tourists who travelled to Pai district. Mae Hong Son province. Questionnaire were used for data collecting. The statistical analysis was analyzed in term of means, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance (F-test). The results showed that: 1.A study of expectation and satisfaction of tourist toward eco-tourism in Pai district, Mae Hong Son found that expectation of tourist was at a high level but the sastisfaction of tourist was at medium level. 2.The comparison of tourist expectation and satisfaction was found significantly different between male and female in green communities at 0.05 level. 3.The comparison of tourist expectation and satisfaction was found significantly different between ages in green communities expectation and found the difference in every satisfaction at 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22832
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.936
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.936
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natnaree_sm.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.