Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22842
Title: การแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉล
Other Titles: Fraudulent Misrepresentation
Authors: อำนาจ เจตน์เจริญรักษ์
Advisors: ไชยยศ เหมะรัชตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแสดงเจตนาด้วยความสมัครใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งในเรื่องนิติกรรม ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้แสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉล ย่อมถือไม่ได้ว่าเขามีความสมัครใจที่จะแสดงเจตนาทำนิติกรรม อย่างไรก็ดี การจะพิจารณาว่ากรณีใดเป็นเรื่องการแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉลหรือไม่ และจะมีผลมากน้อยเพียงใดนั้น เป็นเรื่องยากทั้งในทางทฤษฎีและในทางปฏิบัติ เพราะกฎหมายไม่สามารถบัญญัติแยกแยะในรายละเอียดได้แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ซึ่งบัญญัติหลักกฎหมายเรื่องการแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉลไว้ตามมาตรา 121 – 125 ก็ไม่เป็นการเพียงพอที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะเนื้อหาในเรื่องการแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉลมีความสลับซับซ้อน เช่น ในเรื่ององค์ประกอบของการทำกลฉ้อฉลต้องมีการหลอกลวง และมีเจตนาหลอกลวง ซึ่งแต่ละหัวข้อก็มีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีก หรือการแบ่งกลฉ้อฉลเป็นกลฉ้อฉลที่ถึงขนาด กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ หรือกลฉ้อฉลโดยคู่กรณี กลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง ฯลฯ ซึ่งแต่ละหัวข้อมีปัญหาให้พิจารณาได้มากมาย นอกจากนี้เรื่องการแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉลยังคาบเกี่ยวกับบทบัญญัติกฎหมายอื่น ๆ เช่น สำคัญผิด ละเมิด เป็นต้น ดังนั้นเรื่องการแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉลจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าพิจารณาศึกษาเป็นอย่างมาก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการค้นคว้าเพื่อหาหลักเกณฑ์ในเรื่องการแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉล โดยศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายต่างประเทศกับหลักกฎหมายไทย พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาและเสนอข้อคิดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ โดยทำการวิจัยจากตำราภาษาต่างประเทศและภาษาไทย จากการวิจัยพบว่า การจะเข้าใจถึงหลักเกณฑ์และปัญหาในเรื่องการแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉลได้นั้น จำเป็นต้องเข้าใจถึงลักษณะทั่วไปอันเป็นสาระสำคัญในเรื่องนี้ก่อน เช่น ลักษณะการหลอกลวง เจตนาหลอกลวง เป็นต้น จากนั้นจึงนำลักษณะทั่วไปดังกล่าวไปปรับใช้กับบทบัญญัติในกรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังจะทำให้สามารถวางหลักในการพิจารณาคดีได้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี บทบัญญัติบางมาตราซึ่งไม่เหมาะสมก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการวางหลักเกณฑ์และเข้าใจถึงปัญหาในเรื่องการแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉล ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไข บทบัญญัติมาตรา 121 วรรค 3 จากข้อความเดิมเป็นข้อความใหม่ดังนี้ “การบอกล้างการแสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลนั้น ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต” ซึ่งจะได้ความหมายตรงตามต้นร่างภาษาอังกฤษมากกว่า นอกจากนี้บทบัญญัติบางมาตรา เช่น มาตรา 121 วรรค 2 ซึ่งมีปัญหาว่าจะนำมาใช้บังคับในกรณีกลฉ้อฉลเพื่อเหตุโดยบุคคลภายนอกหรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่า หากจะมีการดำริแก้ไขก็ควรบัญญัติให้ชัดเจนว่าไม่ใช้กับกรณีกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ หรือใช้กับกรณีกลฉ้อฉลเพื่อเหตุด้วย และท้ายที่สุด ผู้เขียนเห็นว่า หลักการพิจารณาว่าบุคคลใดได้แสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉลหรือไม่ ควรพิจารณาจากด้านตัวผู้แสดงเจตนาประกอบกับพฤติการณ์อื่นด้วย อันจะทำให้ได้ข้อเท็จจริงว่าบุคคลนั้นได้แสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉลหรือไม่
Other Abstract: A voluntary declaration of intention is an essential element of a juristic act. When a party had made a declaration of intention owing to a fraud, the law does not regard that he has intended to create a juristic act. To determine whether or not such declaration of intention is owed to a fraud and what the effect it will be, however, is difficult both in theoretical and practical aspects because the laws cannot be distinctly enacted in details. Although the Thai Civil and Commercial Code has been provided for the legal principles relating to the declaration owing to a fraud under Sections 121 – 125, it is insufficient to have it clearly understood. It is because the nature of the declaration of intention owing to a fraud is of intricateness. For example, deception and intention of deception will constitute the elements of a fraud, each of which has a lot of details. A fraud can be classified as a principal fraud, an incidental fraud, a fraud by parties, a fraud by a third person, a fraud by intentional silence etc, each of which also has many aspects to be taken into consideration. Morever, the declaration owing to a fraud mainly involves other provisions such as mistake, tort, etc. Therefore, The declaration of intention owing to a fraud is one of the subjects to be taken into consideration. This Thesis is therefore made to research and find out the rules relating to the declaration of intention owing to a fraud by comparative study between foreign and Thai legal principles. It will include the analysis of the aspects and proposal of opinions for the solution of those aspects by research form foreign language and Thai texts. It is found form the research that to understand the rules and aspects concerning the declarations of intention owing to a fraud requires firstly an understanding of general characteristics which constitute essential elements in this issue, i.e. nature of deception, intention of deception. Then the legal provisions in various cases will apply according to the general characteristics. Furthermore, the rules for the trial of cases can be laid down to be conformity with the facts. Some improper provisions, however, are of the hindrances to lay down the rules and understand the problems regarding the declaration owing to a fraud. The writer is of the opinion that the provision of Section 121 paragraph 3 be amened as follows: “The avoidance of a declaration of intention procured by fraud cannot be set up against a third person acting in good faith.” It seems more proper translation of the English language version. Besides, some problems arise, namely Section 121 paragraph 2 as whether or not this provision shall apply to a case where an incidental fraud is comitted by a third person. The writer is of the opinion that if the amendment of the said provision were initiated, it should be clearly provided whether or not this provision shall apply to a case of an incidental fraud. Finally, the writer would like to express the opinion that the principle of consideration on whether or not any person has declared his intention owing to a fraud should be made from the person himself together with other circumstances from which the facts of whether or not a person has declared his intention owing to a fraud are acquired
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22842
ISBN: 9745640719
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amnat_Je_front.pdf538.37 kBAdobe PDFView/Open
Amnat_Je_ch1.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Amnat_Je_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Amnat_Je_ch3.pdf901.44 kBAdobe PDFView/Open
Amnat_Je_ch4.pdf810.91 kBAdobe PDFView/Open
Amnat_Je_ch5.pdf798.58 kBAdobe PDFView/Open
Amnat_Je_ch6.pdf370.69 kBAdobe PDFView/Open
Amnat_Je_back.pdf341.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.