Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22867
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์นิยายรักระหว่างปุรูรวัสกับอุรวคี
Other Titles: n analytical study of the Romance of Pururavas and Urvasi
Authors: อารี คงธะรังษี
Advisors: ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา
ทัศนีย์ สินสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เริ่มจากประเด็นที่ว่านิยายรักระหว่างปุรูรวัสกับอุรวศีซึ่งปรากฏอยู่ในวรรณคดีสันสกฤตแต่ละสมัยนั้นมีความแตกต่างกัน อันทำให้ผู้ศึกษาไม่แน่ใจเกี่ยวกับฉบับที่ต้นเค้าหรือฉบับที่เป็นที่มาของฉบับอื่น ๆ ประเด็นที่น่าสนใจประการที่สองก็คือ เนื้อเรื่องของนิยายรักระหว่างปุรูรวัสกับอุรวศีสามารถตีความได้หลายประการ นักปราชญ์หลายท่านมีความเห็นแตกต่างกันบางท่านตีความว่าเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ บางท่านแสดงความเห็นว่าเป็นนิยายพื้นบ้านธรรมดา และบางท่านก็เห็นว่านิยายรักเรื่องนี้เป็นนิยายที่สะท้อนให้เห็นประเพณีการแต่งงานบางประการของคนโบราณ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขสำคัญระหว่างเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ต่อมาประเพณีนี่ถูกเลิกไป แต่เรื่องราวและเงื่อนไขการแต่งงานยังปรากฏให้เห็นในลักษณะของเทพนิยายในสมัยต่อมา วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะค้นคว้าให้ทราบว่า ฉบับใดเป็นต้นเค้าและการตีความแบบใดน่าเชื่อที่สุด จึงได้ศึกษาเชิงวิเคราะห์ถึงที่มาและความสัมพันธ์ของนิยายรักระหว่างปุรูรวัสกับอุรวศีฉบับต่างๆ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือและเป็นไปได้ดังนี้คือ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนิยายรักระหว่าปุรูรวัสกับอุรวศีฉบับภาษาสันสกฤต และข้อมูลจากวรรณคดีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แปลข้อมูลเหล่านั้นเป็นภาษาไทย แล้วศึกษาและวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบจนได้ข้อสรุปว่านิยายรักระหว่างปุรูรวัสกับอุรวศีในคัมภีร์ฤคเวทเป็นฉบับแรกเริ่มและเป็นที่มาของฉบับในศตปถพราหมณะส่วนนิยายรักในศตปถพราหมณะนั้นเป็นที่มาของนิยายรักระหว่างปุรูรวัสกับอุรวศีที่ปรากฏในวรรณคดีสันสกฤตฉบับอื่น ๆ ในสมัยหลัง การศึกษาเปรียบเทียบนิยายรักระหว่างปุรูรวัสกับอุรวศีทุกฉบับ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า นิยายรักที่ปรากฏในศตปถพราหมณะเป็นนิยายรักเรื่องแรกที่มีความสมบูรณ์ในตัวและเป็นแบบฉบับของนิยายเรื่องนี้ในวรรณคดีสันสกฤตสมัยหลัง ๆ ส่วนการที่เนื้อเรื่องปรากฏแตกต่างกันนั้นเป็นธรรมชาติที่จำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเรื่องเพื่อให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ เวลา และสถานที่ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของวรรณคดีแต่ละเล่ม สำหรับการตีความเนื้อเรื่องนั้น ผู้วิจัยมีความเห็นว่านิยายรักระหว่างปุรูรวัสกับอุรวศีเป็นนิยายที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีของการแต่งงานระหว่างชนต่างเผ่าในสมัยโบราณซึ่งปรากฏว่าไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมในสมัยต่อมา
Other Abstract: The reason for chossing the story of Pururavas and Urvasi as the topic of this thesis originates from the idea that the story, which appeared in several forms in the Sanskrit literature of different periods, had substantial variations, causing uncertainty among students regarding the original version or the direct source of other versions. Another point of interest which makes the story of Pururavas and Urvasi a good topic for a thesis is the story itself which has been given a number of interpretations by various scholars. Some interpret that it alludes to a natural phenomenon. Some are of the openion that it is an ordinary folktale. Others believe that this romantic story is a reflection of a certain convention of a people of remote past respecting a certain agreement which was an important condition of the marriage of the bride and the groom. This agreement was later on abolished and finally forgotten, but not before it developed into a simple but lovely myth which remains until later times.The aim of this thesis is to determine which is the original version and which interpretation is most convincing. To achieve this goal, the researcher collected from Sanskrit texts all of the available data concerning the story of Pururavas and Urvasi as well as related pieces of literature and opinions of scholars. These data were translated and critically analysed. The researcher came to the conclusion that the story of Pururavas and Urvasi in the Big – Veda was the original which was the direct source of the story of Pururavas and Urvasi in Satapatha Brahmana which in turn developed into many other versions of the story of later periods. It is the researcher’s believe that the story as found in the Satapatha Brahmana is the oldest version with the most complete details. These details necessarily vary in later stories which are to be expected. Changes are naturally introduces in ordes to suit the new objective, time and classes of literature concerned. With to the various interpretations, the researcher believes that the story reflects a discontinued practice of a certain marriage conditions of some people of antiguity.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22867
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aree_Kon_front.pdf442.76 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Kon_ch1.pdf272.84 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Kon_ch2.pdf413.78 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Kon_ch3.pdf794.16 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Kon_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Aree_Kon_ch5.pdf899.09 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Kon_ch6.pdf302.15 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Kon_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.