Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22921
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: The development of a self-directed learning model in English reading comprehension for upper secondary school students
Authors: คณาพร คมสัน
Advisors: บุญมี เณรยอด
สุมิตรา อังวัฒนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Boonmee.n@chula.ac.th
Sumitra.A@chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การอ่านขั้นมัธยมศึกษา
ความเข้าใจในการอ่าน
การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเพื่อประเมินรูปแบบที่สร้างขึ้น ผลของการวิจัยได้รูปแบบที่เน้นกระบวนการเรียนที่ผู้เรียนมีอิสระ ในการวางแผนกิจกรรมการเรียนให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวของการเรียน จะโดยลำพังหรือร่วมมือกับผู้อื่นก็ได้โดยใช้สัญญาการเรียน เป็นเครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายการเรียน ที่มาจากการประเมินความต้องการที่แท้จริงของตนเอง กำหนดกิจกรรมที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย กำหนดวิธีประเมินผลงาน แล้วรับผิดชอบควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตามสัญญาการเรียน รวมทั้งรับความรู้เสริมการอ่านจากครูรูปแบบได้รับการประเมิน โดยการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และการนำไปใช้ในห้องเรียนจริงในรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง และสุ่มห้องเรียนอย่างง่ายมา 2 ห้อง ให้เป็นกลุ่มควบคุม 1 ห้อง มีนักเรียน 40 คน เรียนด้วยวิธีสอนอ่านตามคู่มือครู และกลุ่มทดลอง 1 ห้อง มีนักเรียน 42 คน เรียนด้วยรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยใช้เวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวม 24 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบวัดลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และแบบสอบถามความคิดเห็นผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการทดลองเป็นดังนี้ 1) คะแนนความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจหลังการเรียนของผู้เรียนทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่คะแนนของผู้เรียนที่มีความสามารถอยู่ในระดับต่ำ ของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนของผู้ที่มีความสามารถ อยู่ในระดับต่ำของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2) คะแนนเฉลี่ยลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกัน คะแนนเฉลี่ยลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง หลังการเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผู้เรียนในกลุ่มทดลองมากกว่าร้อยละ 80 เห็นด้วยกับการเรียนตามรูปแบบ ยกเว้นเรื่องความพอใจที่ไม่ต้องทำตามสิ่งที่ครูบังคับให้ทำ มีผู้เรียนเห็นด้วยร้อยละ 64.30.
Other Abstract: To develop a self-directed learning model in English reading comprehension for upper secondary secondary school students and to evaluate the model. The model derived from the study concentrated on a learning process that students were free to plan their learning activities by themselves or collaborating with their friends in order to achieve long term learning goals by using learning contracts as a tool to set goals derived from individual's needs, to define activities and methods to evaluate learning outcomes. Students had responsibilities to follow their contracts and gain reading supplementary knowledges from the teacher. The model was verified by experts and implemented in classroom with the quasi-experimentation. The subjects of this study were mathayom suksa five students from Rajvinit Bangkaew school, purposively sampling from the upper secondary school students. Two classes were randomly selected for experimentation. The controlled group with 40 students was taught through the method in the teacher's manual whereas the experimental group with 42 students was taught through a self-directed learning model in English reading comprehension for 12 weeks with two 50 minutes periods a week, 24 periods in total. The instruments used were a reading comprehension test, a self-directed learning scales and a questionnaire. The two way Analysis of Covariance, the two way Analysis of Variance, t-test, mean, standard deviation and percentage were used for data analysis. The findings revealed that: 1. The English reading comprehension scores of both groups were not different. The scores of the low ability students in the experimental group were significantly higher than those of the controlled group at the .01. The post-test scores of the experimental group were significantly higher than the pre-test scores at the .01 level. 2. The self-directed learning scores in both groups were not different. The post measurement scores of the experimental group were significantly higher than the pre measurement scores at the .01 level. 3. More than 80 percent of students in the experimental group agreed to the model's learning process excepted one item that they were pleasure not to do as the teacher force which 64.30 percents of students agreed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22921
ISBN: 9746372912
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanaporn_Kh_front.pdf827.08 kBAdobe PDFView/Open
Kanaporn_Kh_ch1.pdf968.87 kBAdobe PDFView/Open
Kanaporn_Kh_ch2.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Kanaporn_Kh_ch3.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Kanaporn_Kh_ch4.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Kanaporn_Kh_ch5.pdf910.58 kBAdobe PDFView/Open
Kanaporn_Kh_back.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.