Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23007
Title: การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง "การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน" สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
Other Titles: Construction of a programed lesson on "self care for daily activities" for diabetic patients
Authors: พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง “ การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน ” สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ผู้วิจัยได้สร้างบทเรียนแบบโปรแกรมขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 200 กรอบ และแบบทดสอบ จำนวน 50 ข้อ เพื่อทดสอบผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนบทเรียนแบบโปรแกรมแล้วนำแบบทดสอบไปหาความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ระดับความยากและอำนาจจำแนกของแบบทดสอบโดยใช้เทคนิคร้อยละ 50 และหาค่าความเที่ยงของแบบทดสอบโดยใช้สูตร คูเดอร์ ริชาร์ดสัน สูตรที่ 21 2 ครั้ง พบว่ามีค่าความเที่ยงในครั้งที่ 2 เท่ากับ .80 โดยกำหนดระดับความยากตั้งแต่ .20 ถึง .80 และอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 ขึ้นไป จากนั้นได้นำแบบทดสอบและบทเรียนแบบโปรแกรมไปทดลองกับตัวอย่างประชากร 3 ขั้น คือ ขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง ขั้นกลุ่มเล็ก และขั้นภาคสนาม ตัวอย่างประชากรในการทดลองแต่ละขั้นมี 1 คน 5 คน และ 40 คน ตามลำดับ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ทดลอง คือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลมิชชั่น และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยทดลองในภาคสนาม ปรากฏว่าบทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 93.59/91.05 หมายความว่าผู้เรียนสามารถตอบคำถามในบทเรียนได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยร้อยละ 93.59 ของจำนวนคำตอบทั้งหมดซึ่งสูงกว่ามาตรฐานร้อยละ 90 ตัวแรกที่กำหนดไว้ และผู้เรียนทำข้อทดสอบหลังการเรียนบทเรียนได้ถูกต้องโดยเฉลี่ย 91.05 ของคะแนนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานร้อยละ 90 ตัวหลังที่กำหนดไว้ ดังนั้นบทเรียนนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงสนองสมมติฐานของการวิจัย ข้อที่ 1 ที่ว่า “ บทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง การปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ” ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนและหลังการเรียนบทเรียนแบบโปรแกรมด้วยการทดสอบค่า t พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จึงสนองสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 2 ที่ว่า “ มีความแตกต่างกันของคะแนนทดสอบก่อนและหลังการเรียนบทเรียนแบบโปรแกรมในระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แสดงว่าบทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นนี้ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจ การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำคะแนนแบบทดสอบหลังการเรียนบทเรียนไปหาค่าความเที่ยงได้ค่าเท่ากับ .78
Other Abstract: The purposes of this research were to construct a programmed lesson on “ Self Care for Daily Activities” for diabetic patients and to search for effectiveness of the programmed lesson which based upon the 90/90 standard. This programmed lesson is consisted of 200 frames. Addi¬tionally, fifty test items were constructed for utilizing in pre and post test. The tests were analyzed for content validity, the level of difficulties and discriminating power by using fifty percent technique and the reliability was calculated twice by using the Kuder-Pd.chardson Formula 21. The result of the second reliability was 80, the level of difficulties was between .20 and .80 and dis¬criminating power was beyond .20. Then the programmed lesson and the tests were Carried out in three steps as follows; one to one testing, small-group testing and field testing. The samples of each testing was one, five and forty patients, respectively. The samples were drawn from the patients who have had received medical treatment in Siriraj Hospital, Raniathibodi Hospital, Chulalongkorn Hospital, Rajavithi Hospital, Phramongkutkloa Hospital, Phuraipholardullayadej Hospital, Wachirapayab,al Hospital, Mission Hospital and Diabetes Association of Thailand. The results of field testing were to point out and evaluate the 93.59/91.05. The patients were able to make 3ท average score of 93.59 percent on the programmed lesson which was higher than the first 90 standard, and also able to make the average score of 91.05 percent on the post test which was higher than the second 90 standard. Therefore, the results indicate that the efficiency of programmed lesson were obtained the 90/90 at the higher level and the first hypothesis of this research was supported. The statement of the first hypothesis is “ the programmed Lesson on Self Care for Daily Activities for diabetic patients were obtained the 90/90 standard” The comiparison of the means between pre and post test were statistically significant difference at the .001 level by using the t-test, so the second hypothesis was strongly supported. The statement of the second hypothesis is "the difference of the means score between pre and post test is statistically significant at the level of .001” This means that the programmed lesson has significantly improved the knowledge and understanding of the diabetic patients on :,Self care for Daily Activities.” Additionally, the reliability on the post test was .78
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23007
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Puangtip_Ch_front.pdf434.5 kBAdobe PDFView/Open
Puangtip_Ch_ch1.pdf466.94 kBAdobe PDFView/Open
Puangtip_Ch_ch2.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Puangtip_Ch_ch3.pdf523.75 kBAdobe PDFView/Open
Puangtip_Ch_ch4.pdf307.4 kBAdobe PDFView/Open
Puangtip_Ch_ch5.pdf425.37 kBAdobe PDFView/Open
Puangtip_Ch_back.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.