Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23016
Title: ต้นทุนการผลิตลูกโคนมโดยวิธีการผสมเทียมของกรมปศุสัตว์
Other Titles: Cost of production of dairy calf by artificial insemination of the Livestock Development's Department
Authors: พัชรี ว่องตระกู
Advisors: ภาษย์ สาริกะภูติ
สุภาพรรณ รัตนาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นมเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอและบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ความต้องการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์นมในประเทศไทย นับวันแต่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่การเลี้ยงโคนมในประเทศยังไม่แพร่หลายมากนัก จึงควรที่จะขยายการเลี้ยงโคนมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีที่จะขยายการเลี้ยงโคนมให้เพิ่มมากขึ้น และได้ผลเร็วที่สุดก็คือ วิธีการผสมเทียม โดยการนำน้ำเชื้อจากพ่อโคพันธุ์ดีฉีดเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของแม่โคในขณะที่แม่โคกำลังเป็นลัด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงต้นทุนในการผลิตลูกโคนม โดยวิธีผสมเทียมของกองผสมฟรีเทียม กรมปศุสัตว์ โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งจากพ่อโคลูกผสมพันธุ์ฟรีเขียน-โฮลสโตน์ เพื่อนำมาคำนวณต้นทุนในการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งต่อปริมาณการใช้น้ำเชื้อ 1 ครั้ง (Dose) และศึกษาถึงขั้นตอนของการนำน้ำเชื้อไปใช้ในการผสมเทียม เพื่อที่จะคำนวณหาต้นทุนการผลิตลูกโคนมโดยวิธีการผสมเทียม ตลอดจนศึกษาปัญหาต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงในการดำเนินงานด้านการผสมเทียม การศึกษาได้กระทำโดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และจากการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในงานผสมเทียมของกองผสมเทียมกรมปศุสัตว์ รวม 4 สถานีผสมเทียมด้วยกันแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาคำนวณต้นทุนในการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง และต้นทุนในการผลิตลูกโคนม โดยวิธีผสมเทียม ผลจากการศึกษาข้อมูลในช่วงปีงบประมาณ 2522 และ 2523 ปรากฏดังนี้ คือ 1) ต้นทุนในการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อโคลูกผสม (75%) พันธุ์ฟรีเขียน-โฮลสไตน์ คำนวณได้ 23 บาท ต่อปริมาณการใช้น้ำเชื้อ 1 ครั้ง (Dose) 2) ต้นทุนในการผลิตลูกโคนม 1 ตัว โดยวิธีการผสมเทียมของสถานีผสมเทียม 4 แห่ง ได้คำนวณโดยแยกตามประเภทของน้ำเชื้อที่ใช้ในการผสมเทียมสรุปได้ดังนี้ [ดูตารางในเล่ม] ในการผสมเทียมเพื่อให้ได้ลูกโค 1 ตัว ต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนทางอ้อมในส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ ซึ่งเป็นต้นทุนที่ควบคุมได้ยาก ดังนั้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตลูกโค 1 ตัวของแต่ละสถานีผสมเทียมแตกต่างกันก็คือ 1) ปริมาณการผสมเทียม สถานีผสมเทียมใดที่มีปริมาตรการผสมเทียมมากจะทำให้มีต้นทุนคงที่ต่อการผสมเทียม 1 ครั้งต่ำกว่าสถานีผสมเทียมที่มีปริมาณการผสมเทียมน้อย 2) ประสิทธิภาพในการผสมเทียม ซึ่งมีปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้อง ปัจจัยภายใน หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับสถานีผสมเทียม ได้แก่ คุณภาพของน้ำเชื้อที่ใช้ในการผสมเทียม และความสามารถหรือความชำนาญในการผสมเทียมของเจ้าหน้าที่ผสมเทียมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการผสมเทียม ปัจจัยภายนอก ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงโค และตัวแม่โค กล่าวคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ในเรื่องการผสมเทียมดีพอ ไม่เข้าใจว่าระยะเวลาใดเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่แม่โคควรจะได้รับการผสมเทียม เพราะถ้าไปผสมเทียมไม่ทันภายในเวลานั้นก็จะทำให้เกิดการผสมไม่ติด นอกจากนี้ตัวแม่โคอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางการสืบพันธุ์ก็ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผสมเทียมไม่ติด ดังนั้นถ้าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจากการผสมเทียมได้จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตลูกโค 1 ตัวได้มาก ด้วยเหตุนี้ในการผสมเทียมของสถานีผสมเทียมจึงควรที่จะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี หรือมีการประสานงานที่ดีทั้งในส่วนของสถานีผสมเทียมและจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ซึ่งจะมีผลให้ทั้ง 2 ฝ่ายบรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ สถานีผสมเทียมก็จะมีผลการปฏิบัติงานที่ดีมีประสิทธิภาพ ต้นทุนในการผลิตลูกโคนม 1 ตัวก็จะต่ำลงด้วย สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ คือ การได้ลูกโคซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่ง
Other Abstract: Milk is one of the most healthy food for human beings, since it is very nourishing. Although the consumption of milk and dairy products in Thailand increases every year, dairy farming in the country is not widespread. To increase dairy farming the quickest method is by artificial insemination, which is the injection into the cow of the semen from top bred bull. The theme of this thesis is to study the cost of production of dairy calf by artificial insemination of the Livestock Development's Department. The first part is the production of the deep frozen semen from the bull cross-bred Friesian-Holstein 75%. The second part is to calculate the cost of production of a dairy calf by artificial insemination with deep frozen semen. Successive steps as well as problems encountered in the artificial insemination were studied. A study of documents on the subject was made while the officers in charge and the experts from 4 differences artificial insemination stations were interviewed. From the data gathered the cost of production of the deep frozen semen per dose and the production cost of a dairy calf of each artificial insemination station were calculated. The results of the study for the Fiscal years 2522 and 2523 are as follow. - the cost of production of deep frozen semen is 23 baht per dose by -a cross-bred (75%) Friesian-Holstein, - the cost of production of a dairy calf by artificial insemi¬nation from 4 stations are: (unitrbaht) The main differences in the cost of production of a dairy calf among the four stations were caused by the indirect fixed costs which are difficult to control. The differences in the cost of production per unit are due to. 1.The quantity of the production. The station that has larger output will have lower fixed cost per unit of production than the station that has lower output. 2.Disparity in. efficiency in the production due to:- the quality of the semen used and the capability and experience of the person in charge, - the farmer's inadequate knowledge on artificial insemination such as the right time for the insemination to be effective. Another factor is the defectiveness of the cow to be inseminated. It is therefore obvious that in order to lower the cost of production of a dairy cow by artificial insemination, a good co¬ordination between the officers at the artificial insemination station and the farmers is very important. Fanners need more knowledge on artificial insemination so that the work of the officers in charge can be effective while at the same time more diligence and care in conducting their duty by the officers in charge of the programme could lead to a lower cost of production per unit.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23016
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee_Wo_front.pdf615.86 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Wo_ch1.pdf427.11 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Wo_ch2.pdf401.48 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Wo_ch3.pdf579.19 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Wo_ch4.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Wo_ch5.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Wo_ch6.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Wo_ch7.pdf437.61 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Wo_back.pdf240.72 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.