Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23502
Title: ระดับโปรเจสเตอโรนในซีรั่มของหนูขาวและแฮมสเตอร์เพศเมีย และความสัมพันธ์กับไดอามีน ออกซิเดส ในมดลูกในระยะแรกของการตั้งครรภ์
Other Titles: Serum progesterone levels in female rats and hamsters and its relationship with uterine diamine oxidase during early pregnancy
Authors: วนิดา ศิริประสมทรัพย์
Advisors: ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาระดับโปรเจสเตอโรนในซีรั่มของหนูขาวและแฮมสเตอร์เพศเมียโดยวิธีเรดิโออิมมูโนเอสเสย์ โดยเจาะเลือดจากหัวใจของสัตว์ทดลองที่สลบด้วยอีเธอร์ ในเวลา 9.00-12.00 น. ทุก 2 วัน ตั้งแต่ในวงอิสตรัสตลอดไปจนถึงในระหว่างการตั้งครรภ์และระหว่างการให้นม และศึกษาหาปริมาณไดอามีน ออกซิเดส ในเนื้อเยื่อมดลูกในบริเวณต่างๆ คือ บริเวณที่มีการเกิดเดซีดัว บริเวณกล้ามเนื้อ และบริเวณที่ไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนในวันที่ 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ10 ของการตั้งครรภ์ในหนูขาวและแฮมสเตอร์ จากผลการศึกษาพบว่าระดับโปรเจสเตอโรนในซีรั่มของหนูขาว ในระหว่างวงอีสตรัสมีค่าสูงสุดในตอนเช้าของวันอีสตรัส คือ 43.75 ± 5.41 ng/ml ( X̅ ± SE) แล้วเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดตั้งแต่วันที่ 3 หลังจากการผสมพันธุ์จนตลอดระยะการตั้งครรภ์ (ยกเว้นในวันที่ 8 ที่มีระดับต่ำลง) โดยอยู่ในระดับ 81.20 ± 9.10 (ในวันที่3) ถึง 147.73 ± 24.58 ng/ml (ในวันที่ 16) จนถึง 6 ชั่วโมงก่อนคลอดจะลดลงเหลือ 40.50 ± 4.60 ng/ml และจะสูงขึ้นในระหว่างการให้นมเป็น 74.62 ± 15.88 (ในวันที่ 5) ถึง 89.35 ± 3.65 ng/ml (ในวันที่ 12) รูปแบบของระดับโปรเจสเตอโรนในซีรั่มของแฮมสเตอร์พบว่า มีค่าสูงสุดในตอนเช้าของวันอีสตรัส คือ 5.75 ± 0.29 ng/ml (X̅ ± SE) และเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดตั้งแต่วันที่ 3 หลังจากการผสมพันธุ์ จนตลอดการตั้งครรภ์ (ยกเว้นในวันที่ 8 ที่มีระดับต่ำลง) โดยอยู่ในระดับ 10.38 ± 0.70 (ในวันที่ 5) ถึง 26.46 ± 2.63 ng/ml (ในวันที่ 13) และก่อนคลอดลดลงเป็นค่าสูงสุด 16.30 ± 1.55 ng/ml ในระหว่างการให้นมพบว่าลดต่ำลงอีกเป็นค่าต่ำสุด 3.52 ± 0.73 (ในวันที่ 13) ถึง 6.32 ± 1.24 ng/ml (ในวันที่ 15) ส่วนปริมาณของไดอามีน ออกซิเดสในเนื้อเยื่อมดลูกพบว่า ก่อนวันที่มีการฝังตัวของตัวอ่อนไม่พบปริมาณไดอามีน ออกซิเดส เลยทั้งในหนูขาวและในแฮมสเตอร์ ในวันที่มีการฝังตัวของตัวอ่อนเป็นต้นไปพบปริมาณไดอามีน ออกซิเดสในมดลูกบริเวณที่เกิดเดซีดัวมากที่สุดกล่าวคือ ในหนูขาวพบ 58.22 ± 11.55, 253.06 ± 43.00 และ 894.12 ± 172 mU/mg protein (X̅ ± SE) ในวันที่ 7, 8 และ 10 ของการตั้งครรภ์ตามลำดับและในแฮมสเตอร์พบ 137.80 ± 13.00, 284.00 ± 64.00, 861.82 ± 61.00 และ 1,482.03 ± 342.00 mU/mg protein ในวันที่ 6,7,8 และ 10 ของการตั้งครรภ์ตามลำดับ ส่วนบริเวณกล้ามเนื้อมดลูกและบริเวณที่ไม่มีการฝังตัว จะพบปริมาณไดอามีน ออกซิเดสน้อยมาก หรือไม่พบเลยทั้งในหนูขาวและแฮมสเตอร์ จนกระทั่งในวันที่ 10 ของการตั้งครรภ์จึงพบว่าสูงขึ้นโดยบริเวณกล้ามเนื้อมดลูกวัดได้ 49.50 ± 2.31 และ 467.28 ± 89.80 mU/mg protein กับบริเวณที่ไม่มีการฝังตัววัดได้ 29.82 ± 9.68 และ 33.54 ± 18.30 mU/mg protein ในหนูขาวและในแฮมสเตอร์ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า 1) หนูขาวและแฮมสเตอร์มีแบบแผนของโปรเจสเตอโรนในซีรั่มในระหว่างวงอิสตรัส และระหว่างการตั้งครรภ์คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันในระหว่างการให้นม และระดับโปรเจสเตอโรนในซีรั่มของหนูขาวจะสูงกว่าในแฮมสเตอร์โดยตลอด 2) ปริมาณไดอามีน ออกซิเดสในเนื้อเยื่อมดลูกจะเริ่มสูงขึ้นเด่นชัดหลังจากวันที่มีการฝังตัวของตัวอ่อน และมีความสัมพันธ์กับการเจริญของเนื้อเยื่อมดลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เกิดเดซีดูอัลตามจำนวนวันที่ตั้งครรภ์ 3) การเพิ่มขึ้นของระดับโปรเจสเตอโรนไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์กับปริมาณไดอามีน ออกซิเดส ในเนื้อเยื่อมดลูกที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นให้เกิดเดซิดูอะไลเซชั่น
Other Abstract: Serum progesterone levels in female rats and hamsters during estrous cycle, pregnancy and lactation were determined by radioimmunoassay technique as the method recommended by WHO, 1981. Blood samples were collected from animals by cardiac puncture every other two-day at 9.00 a.m. throughout the entire period of study. The uterine diamine oxidase activities in endometrium, myometrium and inter-implantation sites on day 3, 4 ,5, 6, 7, 8 and 10 of pregnancy were determined in both animal by the enzyme-substrate reaction using putrescine dihydrochloride as the substrate described by Harris and Kim, 1972. It has been found that in rats, during the cycle, serum progesterone level was highest in the morning of estrus (43.75 ± 5.41 ng/ml) (X̅ ± SE). After mating, serum progesterone levels maintained high throughout the entire period of pregnancy (except on day 8) ranging to 81.20 ± 9.10 (on day 3) - 147.73 ± 24.58 (on day 16) ng/ml then dropped to 40.30 ± 4.60 ng/ml on day of delivery and rised to 74.62 ± 15.88 (on day 5) - 89.35 ± 3.65 (on day 12) ng/ml during 18 days of lactating period. Similar pattern of serum progesterone levels during cycle and pregnancy were found in hamster. However less amount in all circumstances studied were found in rats i.e. 5.75 ± 0.29 ng/ml (X̅¯± SE) in the morning of estrus, 10.38 ± 0.70 (on day 5) - 26.46 ± 2.63 (on day 13) ng/ml during pregnancy, 16.30 ± 1.55 ng/ml on the day of delivery and dropped to 3.52 ± 0.73 (on day 13) - 6.32 ± 1.24 (on day 15) ng/ml during lactation period. The uterine diamine oxidase activities could not be detected until implantation occurred in both rats and hamsters. Endometrium was the area found the highest amount of uterine diamine oxidase activities i.e. 58.22 ± 11.55, 253.06 ± 43.00 and 894.12 ± 172.00 mU/mg protein on day 7, 8 and 10 of pregnancy in rats and 137.80 ± 13.00, 284.00 ± 64.00, 861.82 ± 61.00 and 1,482.03 ± 342.00 mU/mg protein on day 6, 7, 8 and 10 of pregnancy in hamsters respectively. In conversely, myometrium has less amount of uterine diamine oxidase activities which gradually increased on day 8-10 of pregnancy (14.5 ± 0.80 - 49.50 ± 5.19 mU/mg protein) in rats and day 7-10 of pregnancy (22.04 ± 11.88 – 467.28 ± 89.80 mU/mg protein) in hamsters. The uterine diamine oxidase activities could not be detected in inter-implantation sites of both rats and hamsters until day 10 of pregnancy, i.e. 29.82 ± 9.68 and 33.54 ± 18.30 mU/mg protein respectively. These results indicated that a) rats and hamsters had similar pattern of serum progesterone levels during estrous cycle and pregnancy but different pattern during lactatation period, and the progesterone levels in rats were higher than in hamsters in all circumstances. b) the uterine diamine oxidase activities were appearently high from the day of implantation and most activities found in decidual tissues. c) there was no relationship between uterine diamine oxidase activities and serum progesterone levels unless the decidual cell reaction was stimulated or implantation occurred in both species.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23502
ISBN: 9745640026
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanida_si_front.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_si_ch1.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_si_ch2.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_si_ch3.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_si_ch4.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_si_back.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.