Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23505
Title: พัฒนาการเรือมอันเร
Other Titles: Development of reum an-re
Authors: ภัคกวินทร์ จันทร์ทอง
Advisors: สุรพล วิรุฬห์รักษ์
ปรานี วงษ์เทศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: เรือมอันเร -- ประวัติ
การเต้นรำพื้นเมือง -- ไทย -- สุรินทร์ -- ประวัติ
Reum An-re -- History
Folk dancing -- Thailand -- Surin -- History
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องพัฒนาการเรือมอันเรมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา พัฒนาการ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการแสดงเรือมอันเรจากอดีตถึงปัจจุบันที่ปรับปรุงมาจากการละเล่น พื้นบ้านโล้ดอันเรของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรจังหวัดสุรินทร์ โดยกำหนดกรอบการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ศึกษาถึงความเป็นมาของโล้ดอันเร (เต้นสาก) ที่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม 2) ศึกษาถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเรือมอันเร (จังหวะรำสาก) ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่จากการเล่นโล้ดอันเร ดั้งเดิม ผลการศึกษาพบว่า 1. โล้ดอันเร เป็นการละเล่นพื้นบ้านตามประเพณีเดือนแคแจ๊ด (เดือน 5) ของกลุ่มชาติพันธุ์ เขมรที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อที่เป็นข้อห้ามให้เล่นปีละ 1 ครั้ง มีบทบาทหน้าที่ทั้งต่อปัจเจกบุคคลและ ต่อสังคมโดยรวม การเล่นโล้ดอันเรจะแสดงออกในการกระโดด เต้น รำอย่างอิสระเต็มที่ เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดจากการปฏิบัติภารกิจและต้องรักษาขนบจารีตปฏิบัติอย่างเคร่งครัด (โดยเฉพาะ ผู้หญิง) การแสดงออกจึงเป็นลักษณะขบถข้อห้ามตามประเพณีและยังมีบทบาทในการสร้างความ สมานฉันท์ในชุมชนอีกด้านหนึ่ง ในโล้ดอันเรยังพบอีกว่ามีเอกลักษณ์ที่แสดงออกทางกิริยาท่ารำเต้นที่ เรียกว่า “จังหวะรำสาก” อยู่ 3 ลักษณะ คือ 1) การเข้าสากมี 2 แบบ คือ จืงมูย (ขาเดียว) จืงปีร (2 ขา) 2) ลีลาเข้าสาก มี “เรือมจ๊ะฮ์กะบั๊จฮ์” (รำหมดตัว) “เรือมจ๊ะฮ์เจ๊ะฮ์” (รำต้านลม) 3) รำรอบสาก แบ่งออกเป็น กิริยามือจีบ 2 แบบ คือ ซังก็อตได (จีบกดนิ้ว) ตะเปือนได (จีบขัดนิ้ว) และการทรงตัวมี 2 แบบ คือ “ปัญช็จญ์” (สืบเท้าชิด) “จัญเติ๊จญ์” (โหย่งขา) ซึ่งเอกลักษณ์ในโล้ดอันเรได้ส่งผ่านไปยังเรือมอันเรในช่วง ต่อมา 2. เรือมอันเร เป็นชุดการแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากโล้ดอันเรและได้เข้าไปเป็นฉากหนึ่งใน งานแสดงของช้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน การศึกษาพบว่ามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ 4 ช่วงใหญ่ๆ คือ 1) การปรับเปลี่ยนให้เป็นศิลปะการแสดง ได้เลือกเอามาเพียง 3 จังหวะ คือ จืงมูย จืงปีรและมะโล้บโดงและยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมของโล้ดอันเรทั้ง 3 ลักษณะไว้ 2) การหยิบยืมรูปแบบของศิลปะการแสดง ด้วยการนำเอาลีลาทางนาฏศิลป์แบบกรมศิลปากรเข้ามาผสมเพิ่มท่ารำอีก 2 จังหวะ คือ ท่าออก (จืงปีรช้า) และกัจปกา (เด็ดดอกไม้) แต่ยังคงเอกลักษณ์บางอย่างในโล้ดอันเรอยู่ 3) การปรับปรุงท่ารำให้มีแบบแผนทางนาฏศิลป์ด้วยการปรับลีลาท่ารำให้อ่อนช้อย ประณีตตามเกณฑ์มาตรฐานของศิลปะการแสดง อย่างที่กรมศิลปากรกำหนด ได้เพิ่มท่าปะกุมกรู (ไหว้ครู) และท่าเชื่อม เรียบเรียงเพลงที่มีอยู่หลายทำนอง ให้เป็นเนื้อเดียวกันเพื่อให้การแสดงลื่นไหลไม่หยุดชะงัก ตัดเอกลักษณ์บางอย่างในโล้ดอันเรออกไปนำเอกลักษณ์เฉพาะมาปรับลีลาให้มีกิริยาอ่อนช้อย ประณีตขึ้น 4) การแตกหน่อต่อแขนงและแปลงรูป เกิดจากนโยบายทางการศึกษาและวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นส่งเสรีมนาฏศิลป์พื้นเมืองอีกทั้งนโยบายการท่องเที่ยว ส่งผลให้เกิดรูปแบบเรือมอันเรขึ้นมา 3 แบบ คือ แบบดั้งเดิม (จังหวะรำสาก) แบบครูนาฏศิลป์ (รำสาก) และแบบประยุกต์ (ลู้ดอันเดร)
Other Abstract: This thesis aims to study the development and transformation of Reum An-re performance from the Lod An-re folk dance of the Khmer ethnic group in Surin Province. The study is divided into two parts: 1) The development of Lod An-re (Ten Sark) in relation to its social and cultural contexts. 2) The transformation of Reum An-re (Jangwa Rum Sark), from the traditional Lod An-re performance. The findings in this study are: 1. Lod An-re is a Khmer ethnic group’s folk dance of the Duen Khae-jad (the 5th month) celebration. Prescribed by their taboo, this dance can only be performed once a year. It performs important roles and functions for both the individuals and the community. Lod An-re’s free dancing steps dance provide an escape from the stresses of their daily obligations and a strict adherence to tradition (especially for women). The dance is, in effect, a rebellion to the traditions and taboos as well as a means to form social bonds among the community members. There are three dance steps in the unique “Jangwa Rum Sark” of Lod An-re dance: 1) Two styles of Khao Sark dance steps, Jeung Mui (dancing on one leg) and Jeung Pir (dancing on two legs). 2) Two styles of Khao Sark dance gestures, “Reum Jakabut” (a complete turn) and “Reum Jajeh” (against the wind). 3) Two styles of finger movements in Rum Robsark dance, Sang Goddai (pressing the fingers together) and Ta-puen-dai (crossing the fingers). Two unique Lod An-re postures that have subsequently been passed on to Reum An-re are Pan Chod (pulling one foot close to the other) and Jan Terd (standing on one’s toes). 2. Reum An-re is a reconstruction of Lod An-re dance that has been incorporated into the Elephant Show since 1960. This study found that there are four major phases of Reum An-re transformation. 1) The performing art transformation phase. Only three Lod An-re steps - Jeung Mui, Jeung Pir, and Malopdong -- and their original unique styles are selected and retained. 2) The formal dance styles incorporation phase. The Fine Art Department’s dance styles were incorporated, resulting in two additional dance steps of Tha Ok (slow Jeung Pir) and Katpaka (flower picking). Some of the Lod An-re unique styles were retained. 3) The refinement phase. More elegant and formal dance styles in the standardized Fine Art Department’s tradition were added; two of them are the Pakumkru (paying respect to the teacher) and Tha Cheum steps. Different original melodies were combined together to allow uninterrupted performance. A number of unique Lod An-re styles were eliminated while others were further refined. 4) The expansion and transformation phase following the changes in the government’s educational, cultural and tourism policies that put strong emphasis on the elevation of the folk performance status. At present, there are three styles of Reum An-re: the traditional style (Rum Sark dance steps), the formal style (Rum Sark), and the applied style (Lod An-re).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23505
ISBN: 9741769733
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhagawin_ch_front.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open
Bhagawin_ch_ch1.pdf6.68 MBAdobe PDFView/Open
Bhagawin_ch_ch2.pdf11.98 MBAdobe PDFView/Open
Bhagawin_ch_ch3.pdf7.14 MBAdobe PDFView/Open
Bhagawin_ch_ch4.pdf30.59 MBAdobe PDFView/Open
Bhagawin_ch_ch5.pdf18.76 MBAdobe PDFView/Open
Bhagawin_ch_ch6.pdf8.05 MBAdobe PDFView/Open
Bhagawin_ch_back.pdf7.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.