Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24092
Title: การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาปัญญาบนพื้นฐานแนวคิดไทยของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
Other Titles: A model development on wisdom development learning process based on Thai perspectives of students in Chulalongkorn University Demonstration Elementary School
Authors: ลัดดา ภู่เกียรติ
สมศรี เพ็ชรยิ้ม
สุพร ชัยเดชสุริยะ
มาลินี ชาญศิลป์
ทิพพดี อ่องแสงคุณ
ศิริลักษณ์ ศรีกมล
อรชา พันธุบรรยงก์
เหมวรรณ ขันมณี
พิมพ์พร อสัมภินพงศ์
Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม)
การเรียนรู้
ภูมิปัญญา
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สรุปผลการวิจัย 1.รูปแบบกระบวนการการเรียนรู้บนพื้นฐานแนวคิดไทย ประกอบด้วยกระบวนการสอน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม การจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในแต่ละคาบเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นสอน การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ตามขั้นตอนการพัฒนาปัญญา 3 ขั้นตอน คือ 1) สุตมยปัยญา การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดปัญญาจากการสดับตรับฟัง การเล่าเรียน การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากการอ่าน การดู การเห็น การสัมผัส การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกลุ่ม 2) จินตมยปัญญา การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดปัญญาจากการฝึกฝนค้นคิดเอง รวมทั้งการค้นคว้าแสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยวิธีการหลากหลาย และสรุปเป็นองค์ความรู้ 3) ภาวนมยปัญญา การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดปัญญาจากการปฏิบัติ โดยการนำความรู้ ความคิด และความรอบรู้หรือปัญญาไปใช้ปฏิบัติจริง จากการจัดกิจกรรมขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ มุ่งดำเนินการตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ ของโรงเรียนสาธิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รวม 4 ขั้นตอน คือ 1)การให้ประสบการณ์เป็นรูปธรรม 2) การส่งเสริมให้สังเกตอย่างไตร่ตรอง 3) การนำให้มีการสร้างแนวคิดเชิงนามธรรมและสรุปเป็นหลักการ และ 4) การให้ทดลองประยุกต์หลักการที่เรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ และกิจกรรมหลักในขั้นสอนทุกขั้นตอนเน้นความสำคัญของการคิดตามแนวอริยสัจสี่ การคิดแบบโยนิโสมนสิการ และการปฏิบัติตามคาถาหัวใจนักปราชญ์ ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินผล ผู้สอนจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสาระที่ได้เรียนรู้ เพื่อให้ทราบถึงผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน การประเมินผลการเรียนรู้เน้นความสำคัญของการประเมิน โดยการสังเกตว่าผู้เรียนใช้วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธี วิธีคิดและวิธีปฏิบัติแบบอริยสัจสี่ 4 วิธี และการปฏิบัติตามคาถาหัวใจนักปราชญ์ 4 วิธี ในแต่ละขั้นตอนการสอนทั้ง 3 ขั้นตอน คือ สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา และประเมินผลการเรียนรู้ว่าผู้เรียนมีพัฒนามากน้อยอย่างไร 2.ผลการทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาบนพื้นฐานแนวคิดแบบไทยในเนื้อหาสาระตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2,3,4 และ 6 พบว่า 1) สาระการเรียนรู้ที่นักเรียนเกิดการพัฒนาปัญญามากที่สุด คือ คณิตศาสตร์ 2) นักเรียนระดับชั้นประถามศึกษาปีที่ 6 เกิดการพัฒนาปัญญามากที่สุด 3) ปัญญาที่นักเรียนเกิดการพัฒนามากที่สุด คือ วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 4) วิธีคิดที่ดีที่สุดของแต่ละแบบ คือ วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ได้แก่ คิดสืบสาวเหตุปัจจัย คิดวิเคราะห์ คิดรู้เท่าทันธรรมดา และคิดแล้วแสดงออก วิธีปฏิบัติแบบหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ. จิ. และ ลิ. และวิธีคิดและวิธีปฏิบัติแบบอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย และนิโรธ 3.รูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาบนพื้นฐานแนวคิดไทยที่สร้างขึ้น มีคุณภาพ เพราะเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้จากประสบการณ์จริงตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ รวมทั้งเป็นการเรียนการสอนตามหลักพุทธธรรมและแนวคิดไทย อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้กับนักเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด เกิดการคิดอันนำไปสู่ปัญญา สามารถคิดตามสถานการณ์ที่กำหนด และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงเรียนและการปรับปรุงแก้ไขสิ่งไม่ดีด้วยตนเองรูปแบบการเรียนรู้นี้จึงเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบ และมีการใช้ปัจจัยการผลิตคือผู้สอนและผู้เรียนอย่างเต็มตามศักยภาพมากกว่าการสอนปกติ
Other Abstract: Research finding were as follows : 1. The learning process model enhancing students’ wisdom based on Thai perspectives composed of 3 stages, 1.1 Preparatory Stage: This stage aimed to prepare the students for what they were going to learn through the meaningful activities. 1.2 Learning Stage: In this stage the students learned all particular content through prepared lesson based on wisdom development process composed of 3 sub-stages, a. “Suta-Maya-Panya” (Building wisdom resulting from study) was the knowledge inquiry stage that encouraged the students to acquire knowledge with their five sensory functions : reading, listening, seeing, smelling and touching, together with brain-storming, discussing and sharing the experiences. b. “Jinta-Maya-Panya” (Building wisdom resulting from reflection) was the stage of self-practising and knowledge inquiring through various methods of discussion, studying and critically observation, experiment, examination, and finally making their own assumptions to create the body of knowledge. c. “Pawana-Maya-Panya” (Building wisdom resulting from mental development) was the stage of self-directed practice through the application of knowledge and ideas in everyday lives, using revisions, exercises and practices. Those 3 sub-stages of learning were related to Experiential Learning Model using in Chulalongkorn University Demonstration Elementary school which included 1) creating concrete experience 2) enhancing critical observation 3) building concepts 4) applying concepts into the new situation. Every sub-stage would be emphasized and integrated with the four Noble Truths (Tooka, samutai, Nirot and Maak), Yo-Niso-Mana-Sikarn and the Intellectual Core Concept. 1.3 Evaluation Stage; the teachers would encourage the students to reflect what they had learned to evaluate their learning outcome. The evaluation would emphasized on students’ skills. Performances and learning development which shown that they applied Yo-Niso-Mana-Sikarn, the Four Noble Truths and the Intellectual Core Concept into their learning process. 2. The experiment results of the learning process model enhancing students’ wisdom based on Thai perspectives of grade 2,3,4 and 6 students was shown that 1) the students developed their wisdom most in mathematics 2) grade 6 students wee highest achieved developing their wisdom 3) the students developed their wisdom most in area of Yo-Niso-Mana-Sikarn 4) the most impacted thinking components of Yo-Niso-Mana-Sikarn were investigated thinking of causal factors, analytical thinking, aspects of contemporary thinking and analytic thinking and expressing idea. While the most impacted components of the Intellectual Core Concept were Su, Ji and Li and the most impacted components of the four Noble Truths were Tooka, Samutai and Nirot. 3) It was proved that the wisdom Development Learning Model was an efficient model because it helped promote the child-centered learning. The students could learn through their own experiences with their highest proficiency based on Dharma and Thai wisdom. They could also apply their skills into all various subject matters. More than 80 percent of the students transferred their though to wisdom which was used in particular situation. They could efficiently express on what the school should do to develop itself. As for its quality and efficiency, this model played the best role encouraging the purposed learning outcome as well as enhances the teachers and students to play their best in teaching and learning.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24092
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladda_phu.pdf19.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.