Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/240
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกื้อ วงศ์บุญสิน-
dc.contributor.authorอัจฉรา เอ๊นซ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2006-06-02T11:10:49Z-
dc.date.available2006-06-02T11:10:49Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746351702-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/240-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องผู้ดูแลบุตรวัย 3-5 ปี ของสตรีไทยในเขตเมืองและเขตชนบทนอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของผู้ดูแลบุตรวัย 3-5 ปี แล้วยังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจ สังคม และประชากรที่มีต่อแบบแผนการดูแลบุตรวัยดังกล่าว ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจสถิติสังคมเกียวกับเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2535 ซึ่งดำเนินการโดยกองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนพฤษภาคม 2535 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือบุตรอายุ 3-5 ปี ในปีการศึกษา 2534 ที่มีบิดามารดาอาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกันและบิดามารดาเป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือคู่สมรสของหัวหน้าครัวเรือน และมีสถานภาพสมรสกำลังสมรส จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,701 ราย ปัจจัยทางประชากร สังคมและเศรษฐกิจที่ใช้ในการศึกษา เพื่อหาความสัมพันธ์กับแบบแผนการดูแลบุตรนั้นได้แก่ ภาคที่อยู่อาศัย จำนวนสมาชิกในครัวเรือน อายุของบิดามารดา การศึกษาของบิดาและมารดา อาชีพของบิดาและมารดา สถานภาพการทำงานของบิดารและมารดา ทั้งนี้ได้ใช้การวิเคราะห์แบบตารางไขว้และตรวจสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาปรากฏว่า ทั้งในเขตเมืองและชนบท บุตรอายุ 3-5 ปี มีบิดามารดาเป็นผู้ดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งมากกว่า 3 ใน 4 ในเขตชนบท ขณะที่เขตเมือง ประมาณครึ่งหนึ่งของบุตรมีบิดามารดาเป็นผู้ดูแลและประมาณร้อยละ 40 ของบุตรกำลังเรียนโดยส่วนใหญ่เรียนอยู่ในระดับอนุบาลหรือเด็กเล็ก ซึ่งพบอีกด้วยว่าในเขตเมืองประมาณ 3 ใน 4 ของบุตรที่กำลังเรียนนั้น เรียนในโรงเรียนเอกชน แต่เขตชนบทประมาณร้อยละ 60 เรียนในโรงเรียนรัฐบาล ตัวแปรต่าง ๆ ที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับผู้ดูแลบุตรอายุ 3-5 ปี ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนสมาชิกในครัวเรือนกับผู้ดุแลบุตรในเขตเมือง นอกจากนี้เมื่อนำอายุบุตรมาร่วมพิจารณาด้วย พบว่าโดยส่วนใหญ่ยังคงความสัมพันธ์ในลักษณะเดิม แต่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของปัจจัยอื่นที่มีผลต่อบุคคลที่จะทำหน้าที่ดูแลบุตรอายุ 3-5 ปีว่าจะเป็นบุคคลใด ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการเตรียมสถานบริการดูแลเด็กอายุ 3-5 ปี เช่น ในรูปของโรงเรียนอนุบาย โดยต้องมีการดูแลควบคุมให้กระจายอย่างทั่งถึงทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่บิดามารดาจะต้องรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของเด็ก และเป็นการส่งเสริมให้บิดามารดาสามารถประกอบอาชีพได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้การวิจัยในเรื่องนี้ควรมีการดำเนินการต่อไปโดยเพิ่มปัจจัยอื่น ๆ เข้าร่วมในการศึกษาen
dc.format.extent15293816 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเด็ก--การดูแล--ไทยen
dc.subjectสตรี--ไทยen
dc.subjectผู้ดูแลเด็ก--ไทยen
dc.titleผู้ดูแลบุตรวัย 3-5 ปี ของสตรีในเขตเมืองและเขตชนบทของประเทศไทยen
dc.title.alternativeChild care among children aged 3-5 in urban and rural of Thailanden
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorkua.w@chula.ac.th-
dc.email.authorAchara.E@chula.ac.th-
Appears in Collections:Pop - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kua_takecare.pdf6.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.