Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24276
Title: ผลของการพัฒนาเมืองภายใต้อิทธิพลการผังเมืองตะวันตก : กรณีศึกษาเมืองลพบุรี
Other Titles: Effectiveness of urban development under western urban planning influence : a case study of Muang Lop Buri
Authors: ธนาพร เทียมศรีรัชนีกร
Advisors: นพนันท์ ตาปนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาและประเมินผลการปฏิบัติทางผังเมืองที่เกิดจากการนำแนวคิดวิธีการพัฒนาเมืองตามรูปแบบการผังเมืองตะวันตกเข้ามาใช้ในการดำเนินงานพัฒนาเมืองลพบุรีในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการวางและจัดทำแผนผังโครงการพัฒนาเมืองลพบุรีเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติต่อไป จากการที่จอมพล ป. พิบูลสงครามได้มีนโยบายพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นเมืองทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ พร้อมทั้งได้มีแนวคิดการวางผังเมืองแห่งใหม่ที่ต่อเนื่องจากเมืองเก่าเพื่อเป็นการรองรับการเจริญเติบโตที่จะเกิดขึ้นและเป็นการแก้ไขปัญหาความแออัดภายในบริเวณเมืองเก่า โดยเมื่อเปรียบเทียบวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเมืองกับสภาพของเมืองลพบุรีพบว่าเมืองมีองค์ประกอบทางกายภาพที่มีพัฒนาการตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์มาสู่เมืองใหม่ที่มีรูปแบบอิทธิพลจากตะวันตกพร้อมกับฐานะของการเป็นศูนย์กลางทางทหาร โดยผลของการพัฒนาครั้งนี้ทำให้พื้นที่บริเวณเมืองใหม่มีการเพิ่มขึ้นของอาคารบ้านเรือนอย่างรวดเร็ว แต่ในปัจจุบันพบว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีแนวโน้มของการเจริญเติบโตที่ลดลง เนื่องจากขาดพื้นที่ในการขยายตัวของเมืองที่เหมาะสม ทำให้คนเลือกสร้างบ้านเรือนในบริเวณที่อยู่นอกเขตผังเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในขณะที่บริเวณเมืองเก่าก็ยังคงมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างแออัด ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณเมืองเก่าขาดคุณค่าที่เหมาะสม ในการศึกษาเกี่ยวกับผลของการพัฒนาเมืองลพบุรีภายใต้อิทธิพลการวางผังเมืองตะวันตกในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาทางกายภาพของเมืองลพบุรีด้วยการส่งเสริมพัฒนาพื้นที่เมืองที่สร้างขึ้นสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามให้เป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมที่สำคัญของเมือง และเพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายลดความแออัดภายในบริเวณเมืองเก่าที่ยังคงเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีการวางแผนพัฒนาพื้นที่นอกเขตเทศบาล ซึ่งเป็นพื้นที่ขยายตัวของเมืองแห่งใหม่ รวมทั้งควรมีการพัฒนาทางด้านกายภาพในบริเวณเมืองเก่าและเมืองใหม่ให้มีความสอดคล้องกลมกลืนกัน
Other Abstract: The objective of this thesis is to study and evaluate the implementation of applying western city planning in developing Lopburi province in the age of General P. Pibulsongkram. The suggestion of appropriate and effective planning for Lopburi is also included in this study. General P. Pibulsongkram had developed Lopburi to be an important military city for the country as well as new city area expanded from the old city area supporting growth and reduce population density in the old area. This development had swiftly increased in housing and population in the new area afterward but now the growth has been decreased due to limited area availability. This resulted in an increase in new housing outside city area and high density in the city which ruins the value of inner city. To solve above problem, this study has suggested physical renovations of the city and developed inner city area to be an important commercial center. At the same time expand the city by developing new area outside city to reduce the high-density population's problem. The physical development of both new and old area should be in the same direction and be harmony.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24276
ISBN: 9741714734
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanaporn_ti_front.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_ti_ch1.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_ti_ch2.pdf6.04 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_ti_ch3.pdf22.12 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_ti_ch4.pdf19.01 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_ti_ch5.pdf26.68 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_ti_ch6.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_ti_back.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.