Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24283
Title: การศึกษามโนทัศน์ทางจริยธรรมในหลังสืออ่านสำหรับเด็กที่ชนะการแระกวด ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ พุทธศักราช 2515-2527
Other Titles: A study of moral concepts in children books awarded in the National Book Week, B.E. 2515-2527
Authors: วัชรินทร์ บรรณเกียรติ
Advisors: ประคอง สุทธสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วรรณกรรสำหรับเด็ก
ศีลธรรมจรรยา
ความสนใจในการอ่าน
เด็ก หนังสือและการอ่าน
มโนภาพ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์ทางจริยธรรมในหนังสืออ่านสำหรับเด็กที่ชนะการประกวด ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ พุทธศักราช 2515 – 2527 โดยแบ่งหนังสือเด็กดังกล่าวออกเป็น 4 กลุ่ม คือ หนังสืออ่านสำหรับเด็กระดับเริ่มอ่าน (3-6 ปี) หนังสืออ่านสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษา (6-11 ปี) หนังสืออ่านสำหรับเด็กระดับก่อนวัยรุ่น (11-14 ปี) และหนังสืออ่านสำหรับเด็กประเภทการ์ตูนสำหรับเด็ก มโนทัศน์ทางจริยธรรมที่ใช้ในการวิเคราะห์นี้ ผู้วิจัยนำมาจากมโนทัศน์ทางจริยธรรมรวมทั้งสิ้น 108 ข้อ ซึ่งอยู่ในจริยธรรม 30 ข้อ ในหลักสูตรประถมศึกษา 2521 ประชากรทั้งหมด คือ หนังสืออ่านสำหรับเด็กที่ชนะการประกวดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ พุทธศักราช 2515-2527 รวมทั้งสิ้น 135 เล่ม โดยแยกเป็น หนังสืออ่านสำหรับเด็กเริ่มอ่าน (3-6 ปี) 37 เล่ม ระดับชั้นประถมศึกษา (6-11 ปี) 38 เล่ม ระดับก่อนวัยรุ่น (11-14 ปี) 53 เล่ม และประเภทการ์ตูนสำหรับเด็ก 7 เล่ม ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า มโนทัศน์ทางจริยธรรมด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละมีมากที่สุดในหนังสืออ่านสำหรับเด็กระดับเริ่มอ่าน และมโนทัศน์ทางจริยธรรมที่ปรากฏน้อย ได้แก่ มโนทัศน์ทางจริยธรรมด้านการไม่โลภและไม่ขโมย ด้านการไม่ละเมิดของรักของผู้อื่น ด้านการไม่ลองและเสพสิ่งเสพติดให้โทษ ด้านความละอายและความเกรงกลัวต่อการกระทำชั่ว ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านการทำใจให้สงบ มีสมาธิและอารมณ์แจ่มใส ด้านความมีน้ำใจเป็นธรรมไม่ลำเอียง ด้านการยอมรับความเปลี่ยนแปลง ด้านมารยาทและนิสัยส่วนบุคคลในการกิน นอน ขับถ่าย แต่งกาย และสังคมระหว่างเพศ และด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มโนทัศน์ทางจริยธรรมด้านหลักธรรมในการอยู่ร่วมกัน มีเป็นอันดับหนึ่งในหนังสืออ่าน สำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษา และมโน-ทัศน์ทางจริยธรรมที่ปรากฏน้อย ได้แก่ ด้านการไม่โลภและไม่ขโมย ด้านการไม่ละเมิดของรักของผู้อื่น ด้านการทำใจให้สงบ มีสมาธิ และอารมณ์แจ่มใส ด้านความมีน้ำใจเป็นธรรมไม่ลำเอียง และด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในหนังสืออ่านสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น ด้านความเมตตากรุณามีมากที่สุด และมโนทัศน์ที่ปรากฏน้อย ในหนังสืออ่านสำหรับเด็กวัยนี้ ได้แก่ ด้านความมีสัจจะและความจริงใจ การไม่ลองและเสพสิ่งเสพติดให้โทษ ความละอายและความเกรงกลัวต่อการกระทำชั่ว ด้านการทำใจให้สงบมีสมาธิและอารมณ์แจ่มใส ส่วนหนังสืออ่านสำหรับเด็กประเภทการ์ตูนสำหรับเด็ก จะมีมโนทัศน์ทางจริยธรรมด้านการแก้ไขข้อบกพร่องในความประพฤติอันได้แก่ การผิดศีลธรรม ความมีระเบียบ การรักษากฎหมายและจารีตประเพณี มากที่สุด นอกนั้นมีปรากฏน้อยมากแทบทุกหัวข้อจริยธรรม สำหรับมโนทัศน์ทางจริยธรรมที่ไม่ปรากฏในหนังสืออ่านสำหรับเด็กทั้ง 4 กลุ่มเลย คือ มโนทัศน์ทางจริยธรรมด้านความประณีตละเอียดถี่ถ้วน
Other Abstract: The purpose of this research is to study the ethical concepts in children textbooks which hav recieved awards in the National Book Weeks from 1972 to 1984. The books were classified into 4 groups: Books for Beginner Level (3-6 years), Primary Level (6-11 years), Pre-Adolescence (11-14 years), and Comics. One hundred and eight ethical concepts analysed in this study were from 30 ethics presented in the primary level syllabus (1978). The one hundred and thirty-five samples include 37 beginner textbooks, 38 primary level textbooks, 53 pre-adolescence textbooks and 7 comics. The result of the analysis is as follows : ethical concepts in generosity and sacrifice are mostly predominate in beginner books. The concepts that appear less are those concerning greediness and stealing infringing on possessions of others; withholding from narcotics; committing bad deeds; honesty; maintaining peace of mind, concentration, and good temper; accepting change; etiquette, daily habits, clothes and socializing with opposite sex; and paying loyalty to country, religion and the King. The ethical concept concerning living together is presented most in primary level textbooks. The concepts that appeared less are those concerning greediness and stealing; infringing on possessions of others; maintaining peace of mind, concentration and good temper; generosity and impartiality; and loyalty to country, religion and the King. In pre-adolescence textbooks, the concept most prevalent is kindness; appear less prevalent are honesty and sincerity; withholding from narcotics; feeling ashamed in committing bad deeds; maintaining a peace of mind, concentration and good temper. In comics, ethical concepts to correct misbehavior presented most are those concerning the maintaining of morale, disciplines, laws and traditions. Others are rare. The ethical concept that does not appear in any of the books studied is that concerning neatness and tidiness
Description: วิทยานิพนธ์ (คงม.--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24283
ISBN: 9745667536
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharin_Ba_front.pdf395.37 kBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Ba_ch1.pdf473.85 kBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Ba_ch2.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Ba_ch3.pdf265.22 kBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Ba_ch4.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Ba_ch5.pdf523.25 kBAdobe PDFView/Open
Watcharin_Ba_back.pdf7.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.