Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24421
Title: ระบบการควบคุมมิให้กฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ
Other Titles: Judicial Review of Legislations
Authors: วิจิตรา ฟุ้งลัดดา
Advisors: วิษณุ เครืองาม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญทั้งในกลุ่มประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมาย และที่ใช้กฎหมายคอมมอนลอว์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งเรื่องหนึ่งในทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาการใช้อำนาจเกินขอบเขตของฝ่ายนิติบัญญัติที่ตรากฎหมายขึ้นกระทบกระเทือนต่อรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศนั้นๆ ระบบนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ คือ ระบบรวมอำนาจและระบบกระจายอำนาจ ในประเทศอังกฤษไม่มีระบบการควบคุมมิให้ขัดรัฐธรรมนูญก็เพราะรัฐธรรมนูญของอังกฤษมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีฐานะเป็นกฎหมายสูงสุด และยังได้ถือทฤษฎีความสูงสุดแห่งรัฐสภาอีกด้วย ส่วนประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร และถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อพิทักษ์รักษาความสูงสุดแห่งรัฐธรรมนูญไว้ การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญจะประสบความสำเร็จดังความมุ่งหมายที่ต้องการคุ้มครองป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันได้บัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญให้พ้นจากการกระทำที่มิชอบของฝ่ายนิติบัญญัติได้หรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับองค์กรผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นใคร มีองค์ประกอบอย่างไร และจะมีหลักประกันอย่างไรให้องค์กรนั้นใช้อำนาจโดยอิสระและเที่ยงธรรม ซึ่งเมื่อพิจารณาระบบของสหรัฐอเมริกาอันเป็นระบบกระจายอำนาจที่ให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยแล้ว ก็จะเห็นว่า ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรหนึ่งในสามองค์กรหนึ่งในสามองค์กรแห่งอำนาจอธิปไตย การให้อำนาจนี้แก่ศาลยุติธรรมย่อมจะทำให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ แห่งอำนาจอธิปไตย เป็นการขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ จึงเห็นว่าน่าจะพิจารณาให้อำนาจวินิจฉัยแก่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ หรือศาลรัฐธรรมนูญมากกว่า สำหรับประเทศไทยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญน่าจะเป็นองค์กรที่เหมาะสมกับสภาพของระบบกฎหมาย และสังคมไทยมากกว่าศาลรัฐธรรมนูญ เพราะหากให้ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีลักษณะการใช้อำนาจถาวรเป็นผู้วิ-นัจฉัย ก็จะทำให้เกิดขัดแย้งกับรัฐสภาได้ง่ายเพราะผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญรับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เป็นระยะเวลานานเกินไปก็อาจทำให้มีความคิดล้าหลังไม่ทันต่อการพัฒนาของสภาพสังคมที่เจริญก้าวหน้าไป ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญก็จะไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเพื่อใช้บังคับให้ทันต่อเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงในสังคม จากเหตุผลดังกล่าว จึงสรุปได้ว่าประเทศไทยควรมีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรผู้มีอำนาจวินิจฉัย โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญของไทยได้พัฒนามาจากแนวความคิดของซีเอแยสที่ก่อกำเนิดให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งแม้องค์กรนี้จะทำให้การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญมีประสิทธิภาพดี แต่สำหรับประเทศไทยก็ยังมีจุดบกพร่องอยู่บ้างในด้านองค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญและคุณสมบัติของตุลาการรัฐธรรมนูญ อันควรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยประสานแนวความคิดในระบบการควบคุมทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วจำแนกเฉพาะส่วนที่ดีออกมาประยุกต์ใช้ เพื่อยังประโยชน์ให้การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญในประเทศไทยมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นกล่าวคือ 1) เกี่ยวกับองค์ประกอบขององค์กร บุคคลที่เป็นตัวแทนขององค์กรทั้งสามฝ่ายนี้ควรมาจากองค์กรอธิปไตยแต่ละฝ่ายไม่จำเป็นเป็นบุคคลในองค์กรฝ่ายต่างๆ นั้นเอง แต่ควรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายที่คัดเลือกมาจากศาสตราจารย์กฎหมายในมหาวิทยาลัย กรรมการของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายโดยตรง ผู้พิพากษาซึ่งพ้นจากตำแหน่งแล้วโดยมิใช่การพ้นจากตำแหน่งที่มีสาเหตุมาจากการกระทำความผิด หรือหมายความ ซึ่งประกอบอาชีพมาแล้วเป็นเวลานาน องค์ประกอบขององค์กรควรมีจำนวนที่เหมาะสมฝ่ายละ 3 คน 2) เกี่ยวกับหลักประกันความอิสระและความมั่นคงของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญควรให้ตุลาการรับธรรมนูญมีวาระการดำรงตำแหน่งที่แน่นอนและนานพอควร ในระหว่างการดำรงตำแหน่งจะไม่มีการถอดถอนตุลาการรัฐธรรมนูญ ให้สวัสดิการและเงินเดือนประจำตำแหน่งที่สูงพอสมควรโดยไม่มีการลดเงินเดือน และให้ตุลาการรัฐธรรมนูญสามารถแสดงความคิดเห็นได้โดยอิสระ 3) ด้านผลของการวินิจฉัย ควรให้คำวินิจฉัยมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่กระทบกระเทือนต่อคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีที่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดควรมีการระบุให้มีผลบังคับย้อนหลังได้บ้างเฉพาะบางกรณี 4) ด้านหลักประกันในประสิทธิภาพของการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ ควรมีหลักประกันความเที่ยงธรรมของตุลาการรัฐธรรมนูญแต่ละท่านโดยวิธีให้มีการคัดค้านตุลาการรัฐธรรมนูญได้
Other Abstract: Judicial Review of Legislation for both civil law and common law countries is an important matter related to constitutional matter occured to acquire a solution to the legislature's misuse of power. There are two systems of reviews namely Centralized System and Decentralized System. In England there is no Judicial Review of Legislation because the unwritten Constitution of England has no status of Supreme Law and yet counting on Supremacy of Parliament, For Thailand, we have the written Constitution and being the Supreme Law. Supervision of Law to comply with the Constitution is the most important matter necessary for protecting the supremacy of the constitution. Whether Judicial Review of Legislation .will succeed depends on the organizer who has the power to review how the factors are and what shall guarantee the organizer. use of power. The American System is the decentralized one which assigns Court of Justice as the one among the three of the sovereignty to review the constitutionality of the legislation. Empowering this will make the Court of Justice has more super power than other of the sovereignty. That makes it against the rule of Seperation of Powers. So that the Council of Constitution or the Constitutional Court is more preferable than the Court of . Justice for being given the power to review. For Thailand, the Council of Constitution or the Constitutional Tribunal may be more suitable than the Constitutional. Court. If the Constitutional Court, the permanent organizer, is given the power to review, then it may act against the parliament's will because the opinion of the appointed judges of the Constitutional Court may be too old for the constitutional development. They may not see the necessity to have the law for using to enforce in such event. For these reasons, we should have the Council of Constitution or the Constitutional Tribunal for reviewing. The Council of Constitution in Thailand developed from the Siayes’s Concept in France. This organ makes good efficiency to the Judicial Review of Legislation but there are some weak points in the factor and qualification of the “ Conseil de Constitutionnel ” of France that ought to develop by joining the two concepts together, then applies especially the good portion for making the benefit of judicial review of legislation more efficient, namely: 1.The organ who has the power to review should come from the different institutes. Their members may represent the three of the sovereignty. They ought to be the law educated persons that might select from the law Professors in University, the members of the Board of judicial Committee, and the retired judges who have never been punished, The suitable numbers of the members ought to have three persons from each branch. 2.Concerning with the guarantee of freedom and security of the tribunal, each member should have the exact term of being in position and should not be withdrawn from his position. The members of the tribunal must be provided good welfare and high salary and they can express opinion freely. 3.The tribunal’s decision should be effective in general “ erga omnes ” but not affect the court’s judgment which is final, the judgment which is still not final may be affected by the tribunal’s decision in Some cases. 4.For the guarantee of the tribunal' s impartiality, there should be some measurements for the parties concerned to raise the objection to the member of the tribunal.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24421
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichitra_Fo_front.pdf695.67 kBAdobe PDFView/Open
Wichitra_Fo_ch1.pdf520.91 kBAdobe PDFView/Open
Wichitra_Fo_ch2.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Wichitra_Fo_ch3.pdf334.06 kBAdobe PDFView/Open
Wichitra_Fo_ch4.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Wichitra_Fo_ch5.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open
Wichitra_Fo_ch6.pdf656.1 kBAdobe PDFView/Open
Wichitra_Fo_ch7.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Wichitra_Fo_ch8.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Wichitra_Fo_back.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.