Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25088
Title: กระบวนการบริหารงานของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมพลศึกษา : การศึกษาเฉพาะกรณี
Other Titles: Administrative process of the Supervisory Unit, Physical Education Department : a case study
Authors: บุญส่ง เอี่ยมละออ
Advisors: อมรชัย ตันติเมช
วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษากระบวนการบริหารงานของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมพลศึกษา 7 ด้านคือ การวางแผนงาน การจัดองค์การ การงบประมาณ การมอบหมายงาน การประสานงาน การรายงาน การติดตามและประเมินผล 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค กระบวนการบริหารงานของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมพลศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ศึกษานิเทศก์พลศึกษาส่วนกลางเขตการศึกษา และจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 211 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ส่วนกลาง 44 คน ศึกษานิเทศก์เขตการศึกษา 96 คน และศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัด 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสอบถามจำนวน 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วยแบบตรวจสอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า แบบสอบถามปลายเปิด โดยเน้นคำถามที่ครอบครุมถึงกระบวนการบริหารงานของหน่วยศึกานิเทศก์ กรมพลศึกษาทั้ง 7 ด้าน และได้สัมภาษณ์การศึกษาเฉพาะกรณี 3 เขตการศึกษา ในลักษณะคำถามที่ครอบคลุมกระบวนการบริหารของศึกษานิเทศก์ กรมพลศึกษา ทั้ง 7 ด้านเช่นเดียวกัน การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้ประชากรตอบ จำนวน 211 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 211 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. ผลการวิจัยเกี่ยวกับสถานภาพของนักศึกษานิเทศก์ กรมพลศึกษาประจำส่วนกลาง เขตการศึกษา และจังหวัด พบว่า ศึกษานิเทศก์ส่วนกลาง เขตการศึกษาและจังหวัด ทั้งหมดมีวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรี มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป รับราชการมานานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และดำรงตำแหน่งมาแล้วส่วนมากตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป 2. จากการวิจัยถึงกระบวนการบริหารงานของศึกษานิเทศก์ กรมพลศึกษาปรากฎว่า ศึกษานิเทศก์ส่วนกลาง เขตการศึกษาและจังหวัด ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์มากในเรื่อง การวางแผน การจัดองค์การ การมอบหมายงาน ส่วนที่ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อยในเรื่อง การงบประมาณ การประสานงาน การรายงานและการติดตามและประเมินผล ส่วนสิ่งที่ได้ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์มากที่สุดและน้อยที่สุด ไม่มีเลย 3.จากความคิดเห็นของกลุ่มประชากรเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค สรุปได้ว่า ในด้านการงบประมาณ เป็นอุปสรรคสำคัญมาก ในการประสานงานทั้งในส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ขาดการรับผิดชอบทำให้การปฏิบัติงานไม่ได้ผลดี ความเชื่อมโยงของหน่วยงานกระจัดกระจายห่างไกล ทำให้การติดต่อประสานงานไม่สะดวก ทำให้ผลของการรายงานไม่บรรลุเป้าหมาย บุคลากรขาดมนุษยสัมพันธ์ การติดตามและประเมินผลงานเป็นไปโดยล่าช้าและขาดหลักเกณฑ์
Other Abstract: Objectives of the Study 1. To study the administrative process of the Supervisory Unit, Physical Education Department in 7 areas: Planning, Organizing, Budgeting, Deligating, Coordinating, Reporting, Follow-up and Evaluation. 2. To study the problem and obstacles of the administrative process of the Supervisory Unit, Physical Education Department. Research Procedures The total population in this study included 211 persons who are 44 Department of Physical Education in Central Region Supervisors 96 Regional Education Supervisors and 71 Provincial Supervisors. The instruments used in this study were questionnaires consisted of a checklist, a rating scale which stress the question covering the administration process of the supervisory unit, Physical Education Department in 7 areas and interview the supervisors for case study in 3 Education Regions which the questions covering the 7 areas mentioned above. A total of 211 questionnaires were distributed by mail of these 211 copies or 100 percent were returned. Then the data were analysed by the use of percentage, arithmetic means and standard deviations. Findings 1. The status of the Supervisors in Physical Education Departments was as follows: they all had bachelor’s degree, most of them are over 25 years of ages and they were government officials for more than 5 years. 2. From the research of the administrative process of the supervisory unit, Physical Education Department search the three groups of the population performed processes of planning, organizing and delegating at the high level. The processes of reporting, coordinating, budgeting, follow up and evaluation were at the low level. There were not any processes which performed the highest and the least level. 3. Concerning the problems and obstacles, it was found that the budget was the very serious problem, no responsibility in coordination between the regional and central region, the offices were scattered and far from one another so the task of coordination was hard to perform, lack of good human relation among the personnels, follow up and evaluation were delay and lack of standard.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25088
ISBN: 9745633542
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonsong_Eu_front.pdf470.31 kBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Eu_ch1.pdf646.12 kBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Eu_ch2.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Eu_ch3.pdf371.21 kBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Eu_ch4.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Eu_ch5.pdf816.67 kBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Eu_back.pdf716.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.