Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25345
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ข้าว จากพันธุ์พื้นเมืองเป็นพันธุ์ส่งเสริม : ศึกษาเฉพาะกรณีเกษตรกรในเขตอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Factors affecting farmers' adoption of replacing native rice varieties with the recommended one : a case study of the farmers in Amphoe Chaiya, Surat Thani province
Authors: รัตนาวดี บูรณภิวงศ์
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย นอกจากจะเป็นพืชอาหารหลักสำหรับบริโภคประจำวันของคนไทยทั่วประเทศแล้วยังเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศจำนวนมากปัจจุบันผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของการผลิตข้าวในประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำและคุณภาพไม่ดี ทำให้ขายไม่ได้ราคา สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตข้าวอยู่ในเกณฑ์ต่ำคือ เกษตรกรยังนิยมใช้ข้าวพันธ์พื้นเมืองปลูกกันอยู่ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีโครงการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวจากพันธ์พื้นเมืองเป็นพันธุ์ส่งเสริมในภาคใต้เพื่อให้ผลผลิตข้าวในภาคใต้เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพสูง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าวพันธ์ส่งเสริม ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่การเกษตร ความรู้เกี่ยวกับข้าวพันธ์ส่งเสริมและการพัฒนาทางเทคนิคการเกษตร กับการยอมรับข้าวพันธ์ส่งเสริม และเพื่อทราบความสำคัญของปัจจัยแต่ละตัวในการอธิบายความแตกต่างของการยอมรับข้าวพันธ์ส่งเสริม กลุ่มตัวอย่างของการศึกษานี้ประกอบด้วย เกษตรกรจำนวน 300 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกระทำโดยใช้การสุ่มอย่างง่ายจากนั้นจึงทำการสัมภาษณ์เกษตรที่เป็นตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ การหาค่าความสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การประมวลผล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าวพันธุ์ส่งเสริม ความน่า เชื่อถือของเจ้าหน้าที่การเกษตรความรู้เกี่ยวกับข้าวพันธุ์ส่งเสริมและการพัฒนาทางเทคนิคการเกษตร มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการยอมรับข้าวพันธุ์ส่งเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ปัจจัยการพัฒนาทางเทคนิคการเกษตรมีค่าสหสัมพันธ์สูงสุดคือ 0.66 2. เมื่อพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้พบว่า สามารถอธิบายความแตกต่างของการยอมรับข้าวพันธุ์ส่งเสริมได้ร้อยละ 63 โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยการพัฒนาทางเทคนิคการเกษตรเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการอธิบายการยอมรับข้าวพันธุ์ส่งเสริม ซึ่งมีค่าถึงร้อยละ 44 ส่วนปัจจัยที่สำคัญรองลงมาคือ ความบ่อยครั้งในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าวพันธุ์ส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่การเกษตร, ความบ่อยครั้งในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าวพันธุ์ส่งเสริมจากวิทยุ, ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่การเกษตรและความบ่อยครั้งในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าวพันธุ์ส่งเสริม จาก การประชุมเกษตรกรส่วนปัจจัยอื่น ๆ เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญน้อยมากในการพยากรณ์ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การสื่อสารในเรื่องเกี่ยวกับนวกรรมที่เผยแพร่จะมีผลกระทบต่อการยอมรับนวกรรมเพิ่มขึ้น เมื่อมีความรู้และการใช้เทคนิคทางการเกษตรที่ได้รับการพัฒนาแล้วอย่างพอเพียง การส่งเสริมความรู้และวิธีการใช้นวกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ควรกระทำเพื่อการยอมรับนวกรรมในโครงการเผยแพร่นวกรรมใหม่ ๆทางการเกษตร
Other Abstract: Rice, one of the most important economic crops of Thailand. It is not only the principle food for Thai people and also is the country’s chef export. Today, the rice production of Thailand per rai one the average is comparatively low and it’s quality does not reach the standard and the price is decreased. One reason of low product is that farmers have still used the native varieties. Therefore, Ministry of Agriculture and Cooperatives organized a project in the South to replace the native rice varieties with the recommended one in order that it will bring about more rice product and high quality. This study was designed to fulfill two objectives. 1. To determine the relationship between (a) the exposure to the recommended rice varieties information, (b) the credibility of the agriculture extension workers, (c) the knowledge on the recommended rice varieties, (d) the developed agricultural technology and the farmers’ adoption of the recommended rice varieties. 2. To assess the significance of each factor which exclusively answers the degree of differences of the farmers’ adoption of the recommended rice varieties. A sample of 300 farmers were selected randomly from 3724 total population living in Amphoe Chaiya, Surat Thani Province. All of the selected farmers were individually interviewed according to the pre-arranged questionnaire. Frequency distribution, Pearson product moment correlation coefficient and multiple regression were used to analyze the data. The results of the study are as follows 1.The exposure to the recommended rice varieties information, the credibility of the agricultural extension workers, the recommended rice varieties knowledge and the developed agricultural technology are significantly and linearly correlated to the farmers’ adoption. Particulary, the highest correlation is found between the developed agricultural technology and the adoption of rice farming innovation (r=0.66) 2. Considering all the factors that affect the farmers’ adoption, the developed agricultural technology is the most significant variable to explain the differences of farmers’ adoption of the recommended rice varieties. The less significant variables are the frequency of exposure to the recommended rice varieties, the frequency of exposure on the same subject, the credibility of the agricultural extension workers and the frequency of the group meeting. The empirical data have shown that communication of innovation has more impact when there is adequate knowledge and use of developed agricultural technology. Technology. Therefore, promoting knowledge and use of innovation become a major recommendation adoption programme.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25345
ISBN: 9745615579
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattanawadee_Bu_front.pdf585.25 kBAdobe PDFView/Open
Rattanawadee_Bu_ch1.pdf665.67 kBAdobe PDFView/Open
Rattanawadee_Bu_ch2.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Rattanawadee_Bu_ch3.pdf528.37 kBAdobe PDFView/Open
Rattanawadee_Bu_ch4.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Rattanawadee_Bu_ch5.pdf541.82 kBAdobe PDFView/Open
Rattanawadee_Bu_back.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.