Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25589
Title: ความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์พี่เลี้ยง เกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาฝึกสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Other Titles: Opinions of student-teachers, supervisors, and cooperating-teachers concerning problems in teaching physical education for studeent-teachers in the Faculty of Education at Ramkhamhaeng University
Authors: วิรัตน์ แดนราช
Advisors: ฟอง เกิดแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์พี่เลี้ยง เกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาพลศึกษา ของนักศึกษาฝึกสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามแบบให้ตรวจคำตอบ มาตราส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด โดยส่งแบบสอบถามไปยังนักศึกษาฝึกสอน 65 คน อาจารย์นิเทศ 21 คน และอาจารย์พี่เลี้ยง 65 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งหมดร้อยละ 92 ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวน นำเสนอในรูปตาราง ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาฝึกสอนประสบปัญหาในการฝึกสอนคือ มีความรู้ในการทำบันทึกการสอนไม่เพียงพอ ความยากลำบากในการวางแผนการสอนระยะสั้นและระยะยาว โรงเรียนมีวัสดุอุปกรณ์ทางพลศึกษาไม่เพียงพอ สถานที่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา นักเรียนมาถึงสถานที่เรียนล่าช้า และนักเรียนมีความสามารถทางทักษะกีฬาแตกต่างกันมาก อาจารย์นิเทศมีความเห็นว่านักศึกษาฝึกสอนประสบปัญหาคือ มีความรู้ในการทำบันทึกการสอนไม่เพียงพอ ความยากลำบากในการวางแผนการสอนระยะสั้นและระยะยาว ขาดการใช้เครื่องมือทางโสตทัศนูปกรณ์มาช่วยในการสอน ไม่รู้จักแหล่งวิชาในชุมชนเพื่อจะนำมาเป็นประโยชน์ในการสอน นักเรียนมาถึงสถานที่เรียนล่าช้า นักเรียนต้องการเรียนอย่างอิสระมากกว่าที่จะเรียนกับนักศึกษาฝึกสอน นักศึกษาฝึกสอนค้นคว้าเนื้อหาวิชาที่สอนมาน้อยเกินไป นักศึกษาฝึกสอนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และนักศึกษาฝึกสอนมีความกังวลเกี่ยวกับผลการสอนที่จะได้รับมากเกินไป อาจารย์พี่เลี้ยงมีความเห็นว่านักศึกษาฝึกสอนประสบปัญหาคือ มีความรู้ในการทำบันทึกการสอนไม่เพียงพอ ความยากลำบากในการวางแผนการสอนระยะสั้นและระยะยาว โรงเรียนมีวัสดุอุปกรณ์ทางพลศึกษาไม่เพียงพอ ขาดการใช้เครื่องมือทางโสตทัศนูปกรณ์มาช่วยในการสอน สถานที่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกายของนักเรียนไม่เหมาะสม ไม่รู้จัก แหล่งวิชาในชุมชนเพื่อจะนำมาเป็นประโยชน์ในการสอน นักศึกษาฝึกสอนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และนักศึกษาฝึกสอนมีความกังวลเกี่ยวกับผลการสอนที่จะได้รับมากเกินไป ผลรวมความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาฝึกสอนคือ มีความรู้ในการทำบันทึกการสอนไม่เพียงพอ และความยากลำบากในการวางแผนการสอนระยะสั้นและระยะยาว จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนของความคิดเห็น ของนักศึกษาฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์พี่เลี่ยง เกี่ยวกับปัญหาด้าน กระบวนการสอน การปกครอง ชั้นเรียน ตัวนักเรียน อาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์พี่เลี้ยง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์พี่เลี้ยง เกี่ยวกับปัญหาด้าน อุปกรณ์และสถานที่ โรงเรียน และนักศึกษาฝึกสอน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the opinions of student-teachers, supervisors, and cooperating-teachers concerning problems in teaching physical education for student- teachers in the faculty of education at Ramkhamhaeng University. Three sets of questionnaires in the forms of check-list, rating-scales, and open-ended were constructed and set to 65 student-teachers, 21 supervisors, and 65 cooperating-teachers. Ninety-two percent of questionnaires were returned. The results were then analyzed in to percentages, means, standard deviation and through analysis of variance presented in form of time table. The results revealed that the student-teachers’ problems were they have not enough knowledge to write the lesson plan, short and long-ranged plan. The school has insufficient equipment and supply for physical education, the pupils come to class late and show great difference in sport skill. The supervisors’ opinions about the student-teachers’ plan, short and long-ranged plan, lack of using audio-visual aide in teaching, do not know the academic sources in the community, the pupils come to class late and they want to learn by themselves rather than by the student-teacher, the student-teachers put less effort to prepare for the subject they responsible, they also lack of self-confidence and are worried too much about their own grade. The cooperating-teachers’ problems ware they have not enough knowledge to write the lesson plan, short and long-ranged plan, the school has insufficient equipment and supply for physical education and has not suitable. The student-teachers lack of using adio-visual aids in teaching and do not know the academic sources in the community, lack of self-confidence and are worried too much about their own grade. All these opinions of the student-teachers, the supervisors and the cooperating-teachers about teaching the physical education of the student-teachers may be concluded that the student-teachers have not enough knowledge to write the lesson plan and have the difficulty in planning the short and long-ranged plan. Through the analysis of variance, it was found that the points of view as stated by student-teachers, supervisors, and cooperating-teachers on the problems concerning teaching and leaning, class-administration, student, supervisor, and cooperating-teachers was not significantly difference at the level of .05. However, there was a significant difference among those of the same groups on the problems concerning equipment, school and student-teachers at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25589
ISBN: 9745632562
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Virat_Da_front.pdf646.41 kBAdobe PDFView/Open
Virat_Da_ch1.pdf835.32 kBAdobe PDFView/Open
Virat_Da_ch2.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Virat_Da_ch3.pdf408.95 kBAdobe PDFView/Open
Virat_Da_ch4.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Virat_Da_ch5.pdf767.52 kBAdobe PDFView/Open
Virat_Da_back.pdf526.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.