Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25947
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราโทษกับการกระทำความผิด
Other Titles: The Relationship between rate of punishment and offence
Authors: สมหมาย จันทร์เรือง
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในขณะที่นักนิติศาสตร์ได้ใช้ความเพียรพยายามที่จะกำหนดอัตราโทษให้มีความสัมพันธ์กับการกระทำความผิด เพื่อให้การลงโทษเกิดความเป็นธรรมที่สุดนั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงจากข้อมูลของการกระทำความผิดในประเทศต่าง ๆ ว่าอัตราโทษที่กำหนดไว้นั้นไม่มีความสัมพันธ์กับสัดส่วนการกระทำความผิดที่เกดขึ้นมากนัก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า อัตราโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายลายลักษณ์อักษรเพียงอย่างเดียวไม่อาจส่งผลให้สักส่วนของการกระทำความผิดเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างเห็นได้ชัด การเปลี่ยนแปลงอัตราโทษในกฎหมายอาญาของประเทศไทยก็มีลักษณะเช่น เดียวกันกล่าวคือแม้จะมีการแก้ไขเพิ่มอัตราโทษในประมวลกฎหมายอาญามาหลายครั้งก็ตาม แต่มิได้ทำให้จำนวนครั้งการกระทำความผิดที่ปรากฏลดลงอย่างถาวร ดังนั้นจึงน่าจะมีปัจจัยอื่นที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนครั้งของการกระทำความผิดยิ่งกว่าอัตราโทษ ซึ่งผลของการวิจัยได้พบว่าปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำความผิดเป็นอย่างมากนั้นคือ ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม สภาพเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง และการศึกษา อย่างไรก็ดี จากการสำรวจความเห็นของบุคคลหลายอาชีพโดยการใช้แบบสอบถาม ปรากฏว่าร้อยละ 46.2 ยังมีความเชื่อว่าการเพิ่มอัตราโทษให้สูงขึ้นจะทำให้จำนวนครั้งของการกระทำความผิดลดลงได้อย่างถาวร ทั้งนี้เพราะบุคคลส่วนใหญ่ขาดความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และทฤษฎีในการกำหนดอัตราโทษ รวมทั้งไม่ทราบถึงสถิติการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง เมื่อตนเห็นว่าการกระทำความผิดยังมีจำนวน จำนวนสูงขึ้นตลอดมา จึงเพ่งเล็งถึงอัตราโทษซึ่งเป็นสิ่งควบคู่กับการกระทำความผิดโดยตรงเป็นอันดับแรก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอความเห็นว่า การลดจำนวนครั้งของการกระทำความผิดนั้น ไม่ควรเพ่งเล็งที่การปรับอัตราโทษแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรปรับปรุงแก้ไขปัจจัยอื่นๆ ดังกล่าวมาแล้วที่มีผลโดยตรงต่อจำนวนครั้งของการกระทำความผิดและควรจะให้บุคคลทั่วไปรู้ถึงหลักเกณฑ์ และการเปลี่ยนแปลงอัตราโทษตามกฎหมายด้วย
Other Abstract: Legislators have attempted to commensurate the rate of punishment with the nature of the offence for the best justice. However, it is evident (from data collected) that in most countries the level of punishment has no direct relationship with criminal occurrence. This thesis reveals that the rate of punishment as provided in the codified law alone does not considerably affect the rise and fall of the offence statistic. The variety of levels of punishment specified in the penal code of Thailand has the same objective as those of other countries. Although there are several amendments to the penal code and the rate of punishment has been increased periodically, criminal statistic has not decreased permanently, Hence, there should be other factors related to the criminal statistic rather than the specified punishment itself. Results of this research revealed that efficiency of the judiciary, economic, social, politic and educational factors play an important role. However, the survey of opinions of people from various occupations by using questionnaires revealed 46.2 per cent believed that harsh punishment would reduce the criminal statistic permanently. The reason simply being that people do not interpret the offence’s statistic properly. When they found that the rate of offence still increased, they focused at the level of punishment attached to the offence at their first glance. This thesis suggests that the decline of criminal statistic may be possible if we will not only focus at the strength of the penalty but at the improvement of other factors discussed above. Moreover, we should let the public know the principles of criminal punishment strength.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25947
ISBN: 9745608262
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sommai_Ch_front.pdf765.17 kBAdobe PDFView/Open
Sommai_Ch_ch1.pdf904.69 kBAdobe PDFView/Open
Sommai_Ch_ch2.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Sommai_Ch_ch3.pdf826.15 kBAdobe PDFView/Open
Sommai_Ch_ch4.pdf717.61 kBAdobe PDFView/Open
Sommai_Ch_ch5.pdf803.51 kBAdobe PDFView/Open
Sommai_Ch_ch6.pdf561.54 kBAdobe PDFView/Open
Sommai_Ch_back.pdf7.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.