Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26132
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความคิดเรื่องจิตในพระสุตตันตปิฏก
Other Titles: An analitical study of the concept of mind (Citta) in Suttanta Pitaka
Authors: สมถวิล ธนวิทยาพล
Advisors: สุนทร ณ รังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาเชิงวิเคราะห์ความคิดเรื่องจิตในพระสุตตันตปิฎก ทั้งนี้เพื่อให้ได้ความรู้แลความเข้าใจที่ชัดเจนว่า คำว่า จิต และคำอื่นๆ ที่ใช้ในความหมายเกี่ยวกับจิต เช่น มโน มนินทรีย์ มนายตนะ วิญญาณ ฯลฯ มีความหมายเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร นอกจากนั้นในพระสุตตันตปิฎกมีการกล่าวเกี่ยวกับลักษณะและประเภทของจิตไว้อย่างไรบ้าง และคำสอนเกี่ยวกับจิตที่ปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎกกับคำสอนเรื่องเดียวกันในพระอภิธรรมปิฎก เหมือนกันหรือแตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างไรบ้างหรือไม่ เนื่องจากคำสอนที่เกี่ยวกับจิตในพระสุตตันตปิฎกมีอยู่มากมาย ผู้วิจัยจึงได้คัดเลือกข้อมูลเฉพาะที่เห็นว่าเป็นหลักสำคัญมารวมไว้จำนวนหนึ่งสำหรับเลือกใช้ประกอบการวิเคราะห์ความคิดเรื่องจิตตามที่ได้ตั้งประเด็นไว้ เมื่อได้ดำเนินการวิจัยไปจนตลอดแล้วก็พบว่าในพระสุตตันตปิฎกมีการพูดถึงจิตโดยใช้คำที่ต่างกันหลายคำ คือ เรียกสภาวธรรมอย่างหนึ่งว่า จิต เมื่อพิจารณาสภาวธรรมนั้นจากแง่ที่เป็นธรรมชาติคิด คือรู้อารมณ์และเป็นธรรมชาติที่วิจิตร เรียกว่า มโน เมื่อพิจารณาสภาวธรรมนั้นในแง่ที่เป็นธรรมชาติน้อมไปหาอารมณ์ เรียกว่า มนินทรีย์ เมื่อพิจารณาสภาวธรรมนั้นในแง่ที่เป็นใหญ่ในการรู้ธรรมารมณ์ เรียกว่า มนายตนะ เมื่อพิจารณาจากแง่ที่เป็นเครื่องต่อหรืออายตนะภายในที่ต่อกับอายตนะภายนอก คือ ธรรมารมณ์ เรียกว่า หทัย เมื่อพิจารณาจากแง่ที่เก็บอารมณ์ไว้ภายใน เรียกว่า ปัณฑระ เมื่อพิจารณาจากแง่ที่เป็นธรรมชาติผ่องใส เรียกว่า วิญญาณ เมื่อพิจารณาจากแง่ที่เป็นธรรมาติรู้แจ้งอารมณ์ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีชื่อเรียกต่างกัน และมีความหมายเฉพาะต่างกัน แต่โดยสาระสำคัญก็คือสภาวธรรมอย่างเดียวคือ จิต นั่นเอง เหมือนกับบุคคลเดียวที่มีฐานะเป็นพี่เป็นน้อง เป็นลุง เป็นอา เป็นพ่อ เป็นลูก ฯลฯ ตามฐานะที่เรามองเขาโดยสัมพันธ์กับคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับเขาฉันใดฉันนั้น พระสุตตันตปิฎกได้พูดถึงการทำงานของจิตในลักษณะที่เป็นธรรมชาติเกิดดับสืบต่อกันไปตลอดเวลา จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วดับไป และจิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปในทำนองเดียวกัน โดยจิตดวงเก่าเป็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นของจิตดวงใหม่ กระบวนการทำงานของจิตจะดำเนินอยู่อย่างนี้เรื่องไปทั้งเวลาหลับและเวลาตื่น ตามนัยแห่งคำสอนเกี่ยวกับจิตในพระสุตตันตปิฎกได้แบ่งจิตออกเป็นระดับ หรือภูมิ 4 ภูมิ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ แต่ละภูมิแบ่งย่อยตามลักษณะดี (กุศล) ไม่ดี (อกุศล) และเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว (อัพยากฤต) ซึ่งเรียกว่าแบ่งตามชาติคือการเกิดขึ้นทำหน้าที่ตามลักษณะนั้นๆ กามาวจรภูมิแบ่งเป็น 3 คือ กุศลจิต อกุศลจิต และอัพยากตจิต รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ แบ่งเป็น 2 คือ กุศลจิต และอัพยากตจิต เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบคำสอนเกี่ยวกับจิตในพระสุตตันตปิฎกกับพระอภิธรรมปิฎกก็พบว่าหลักใหญ่ๆ หรือลักษณะทั่วไป ความหมาย ลักษณะและประเภทของจิตตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทั้งสองมีนัยและเนื้อหาตรงกัน คงต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยคือ คำสอนเรื่องจิตในพระสุตตันตปิฎกมีรายละเอียดปลีกย่อยน้อย แต่ในพระอภิธรรมปิฎกมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากคำสอนในพระสุตตันตปิฎกพระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องจิตพอให้ผู้ฟังได้ความเข้าใจพื้นฐานที่นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ แต่ในพระอภิธรรมปิฎกมุ่งแสดงปรมัตถธรรมเพื่อความเข้าใจเรื่องจิตและธรรมชาติของจิตอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการ
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26132
ISBN: 9745645311
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somtawil_Dh_front.pdf509.31 kBAdobe PDFView/Open
Somtawil_Dh_ch1.pdf291.99 kBAdobe PDFView/Open
Somtawil_Dh_ch2.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Somtawil_Dh_ch3.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Somtawil_Dh_ch4.pdf750.28 kBAdobe PDFView/Open
Somtawil_Dh_ch5.pdf309.29 kBAdobe PDFView/Open
Somtawil_Dh_back.pdf229.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.