Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26306
Title: การกำจัดซีโอดี ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสด้วยกระบวนการกำจัดธาตุอาหารทางชีวภาพ ร่วมกับกระบวนไมโครฟิลเทรชั่นเมมเบรนแบบจมตัว
Other Titles: COD, nitrogen and phosphorus Removal using biological nutrient removal coupled with submerged microfiltration membrane process
Authors: นัทกาญจน์ ประเสริฐสังข์
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ระบบเอทรีเอ็มบีอาร์ (Anoxic-anaerobic-aerobic membrane bioreactoriA³-MBR) บำบัดน้ำเสียจากศูนย์การค้า ถึงประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส และคุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดเพื่อการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ รวมถึงค่าพารามิเตอร์ที่มีความสำคัญทางด้านวิศวกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลกระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ในถังแอนนอกซิก ถังแอนแอโรบิก เป็น1 จาก 3 อัตราการเวียนตะกอนจากถังแอโรบิกไปถังแอนนอกซิกเป็นร้อยละ 100 ค่าฟลักซ์การกรองของเมมเบรนคงที่ 15ล./ตร.ม.-ซม. ในงานวิจัยแบ่งออกเป็นการทดลอง 4 การทดลอง ซึ่งการทดลองที่ 1 ควบคุมระยะเวลากักเก็บชลศาสตร์ของถังแอนนอกซิก ถังแอนแอโรบิกและถังแอโรบิกเป็น 2, 2 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ควบคุมระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอนนอกซิก ถังแอนแอโรบิกและถังแอโรบิกเป็น 1, 1 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ การทดลองที่ 3 ควบคุมระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอนนอกซิก ถังแอนแอโรบิกและถังแอโรบิกเป็น 1, 2 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ การทดลองที่ 4 ควบคุมระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอนนอกซิก ถังแอนแอโรบิกและถังแอโรบิกเป็น 2, 1 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ ผลการทดลองที่สภาวะคงตัว พบว่าระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีร้อยละ 92-95 ประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจนร้อยละ 86-91 ประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสร้อยละ 62-92 จากการทดลองพบว่าระยะเวลากักเก็บทางจลศาสตร์ของถังแอนนอกซิกและแอนแอโรบิกไม่มีผลต่อการกำจัดซีโอดี แต่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยที่ระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอนนอกซิก 1 ชั่วโมง ระบบไม่สามารถกำจัดไนเตรทได้ทั้งหมด ทำให้อัตราการคายฟอสฟอรัสของระบบต่ำ ขณะที่ระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอโรบิกมีผลต่อการอุดตันของเมมเบรน โดยระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอโรบิก 2 ชั่วโมง เมมเบรนมีการอุดตันมากกว่า ที่ 4 ชั่วโมง จากการวิเคราะห์ค่าจลนศาสตร์ของแบคทีเรียพบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของยิลด์ปรากฏเป็น 0.071 ก.เอ็มแอลวีเอสเอส/ก.ซีโอดี หรือเป็น 0.184 ก.เอ็มแอลวีเอสเอส/ก.บีโอดี คุณน้ำที่ผ่านการบำบัดจากการทดลองที่ 1 มีความปลอดภัยและมีสุนทรียภาพในการใช้ชำระโถส้วมตามมาตรฐานคุณภาพน้ำนำกลับของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีค่าต้นทุนทั้งหมดต่อหน่วยปริมาณการบำบัดเป็น 182 บาท/ลบ.ม. หากคิดเฉพาะค่าเดินระบบเป็น 67 บาท/ลบ.ม.
Other Abstract: This research used Anoxic -anaerobic-aerobic membrane bioreactor, A3-MBR to study the efficiencies of COD, TN and TP removal and wastewater reclamation from department-store wastewater and also to identify the engineering kinetic parameters. The objectives of this research were to reduce hydraulic detention time, HRT in anoxic, anaerobic and aerobic tank . Operated by keep sludge age for 40 days, distributed wastewater flow to anoxic : anaerobic at 1 : 3 , recycle sludge from aerobic tank to anoxic tank is 100% and keep the flux of membrane is 15 llsq.m-h The research was devided into 4 experiments. The first experiment is controlled by HRT in anoxic , anarobic and aerobic is 2 h., 2 h. and 4 h. respectively . The srcond experiment is controled by HRT in anoxic, anarobic and aerobic is 1 h., 1 h. and 4 h. respectively. The third experiment is controled by HRT in anoxic, anarobic and aerobic is 1 h., 2 h. and 4 h. respectively . The forth experiment is controled by HRT in anoxic, anarobic and aerobic is 2 h., 1 h. and 4 h. respectively. The result of the experiment at steady state had shown that the effiiency of COD removal is 92-95%, the effiiency of TN removal is 86-91% and the effiiency of TP removal is 62-92%. HRT in anoxic tank and anaerobic tank is not effecttive to efficiency of COD removal. But effects on efficiency of TN and TP removal. At lower HRT for 1 h. in anoxic tank ,N0 -3 can not removed completlely . So it makes phosphorus release rate is lower. By the way, HTR in aerobic tank effecets on membrane clogging . Membrane clogging in aerobic tank that has HRT 4 h. is more slower than HRT 2 h. Observed yield of this research is 0.071 g.MLVSS./g.COD or 0.184 g.MLVSS./g.BOD. The effluent from experiment 1 is safety and aesthetic that have met the Japan water quality standard of reclaimed water for tiolet. The total cost per volume of wastewater treatment is 187 baht/cu.m and 67 baht cu.m for operating cost.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26306
ISBN: 9741747802
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattakarn_pr_front.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open
Nattakarn_pr_ch1.pdf962.4 kBAdobe PDFView/Open
Nattakarn_pr_ch2.pdf17.19 MBAdobe PDFView/Open
Nattakarn_pr_ch3.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Nattakarn_pr_ch4.pdf17.03 MBAdobe PDFView/Open
Nattakarn_pr_ch5.pdf794.44 kBAdobe PDFView/Open
Nattakarn_pr_back.pdf14.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.