Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26357
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินคดีอาญากับภิกษุสงฆ์ของพนักงานสอบสวน : ศึกษากรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 7-8
Other Titles: Factors affecting police investigators in pressing criminal charges against monks : a case study of metropolitan division 7-8
Authors: ประดิษฐ์ ภาสดา
Advisors: ปรีชา คุวินทร์พันธุ์
ฐิติยา เพชรมุนี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2546
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินคดีอาญากับภิกษุสงฆ์ของพนักงานสอบสวน ศึกษาหลักเกณฑ์ขั้นตอน และวิธีการดำเนินคดีอาญากับภิกษุสงฆ์ของพนักงานสอบสวน ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2535 ศึกษาความเหมาะสมของหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีอาญากับภิกษุสงฆ์ในทางปฏิบัติของพนักงานสอบสวน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีอาญากับภิกษุสงฆ์ที่เกิดขึ้นกับพนักงานสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน โดยนำกรอบแนวคิดดังนี้ คือ แนวคิดการดำเนินคดีอาญา แนวคิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แนวคิดการคบค้าสมาคม แนวคิดเกี่ยวกับความคิดเห็น แนวคิดการบวชเรียนในพุทธศาสนา แนวคิดความเชื่อเรื่องบุญและบาปในพุทธศาสนา ทฤษฏีโครงสร้างการหน้าที่นิยม ทฤษฏีการบังคับใช้กฎหมาย และทฤษฏีการควบคุมทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานสอบสวนที่มีประสบการณ์ในการดำเนินคดีอาญากับภิกษุสงฆ์จำนวน 20 นาย ที่ประจำอยู่ในสถานีตำรวจนครบาล ในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 – 8 ผลการพิสูจน์สมมติฐาน พบว่า สมมติฐาน 5 ข้อ ได้รับการยอมรับ จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินคดีอาญากับภิกษุสงฆ์ของพนักงานสอบสวน : ศึกษากรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 – 8 ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน ยศ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการคบค้าสมาคม
Other Abstract: This case study is based on documentary research and personal interviews. The purpose is to study the factors which effect on police investigators in pressing criminal charges against monks, also criterion to do the case, process, and ways for police investors in pressing criminal charges against monks as of the Monastery Act B.E. 2505, the Amendment Monastery Act B.E. 2535. Moreover, this research is to study criterion appropriation in pressing criminal charges against monks for minimizing the problems and pressing the charges efficiently as in the same criterion by using the following contemplations to consider : Criminal Justice contemplation, Information Acknowledgement contemplation, socialization contemplation, perception contemplation, Buddhism Monastery contemplation, Buddhism Karma contemplation, Structural Functional Theory, Law Enforcement Theory, and Social Control Theory. This research is study from 20 police investigators working at Metropolitan Police Bureau Division 7-8 who is experienced in pressing criminal charges against monks. The results of testing hypotheses found that five hypotheses are accepted. In conclusion, Factors Affecting Police Investigators in Pressing Criminal Charges against Monks: A Case Study of Metropolitan Division 7- 8 are Age , Longer term employer, Rank, Information Acknowledgement and Association.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26357
ISBN: 9741751753
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pradit_pa_front.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open
Pradit_pa_ch1.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open
Pradit_pa_ch2.pdf31.12 MBAdobe PDFView/Open
Pradit_pa_ch3.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Pradit_pa_ch4.pdf25.67 MBAdobe PDFView/Open
Pradit_pa_ch5.pdf17.91 MBAdobe PDFView/Open
Pradit_pa_ch6.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
Pradit_pa_back.pdf7.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.