Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26649
Title: การวางแผนนโยบายเพื่อการพัฒนาศูนย์กลางชุมชนบางกะปิ
Other Titles: Policy planning for the development of Bangkapi community centre
Authors: สุพิทย์พร จารุมิลินท
Advisors: ศรีอุไร ตันติลีปิกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากศูนย์กลางชุมชนบางกะปิเป็นจุดตัดของถนนสายสำคัญ 4 สาย คือ ถนนลาดพร้าว ถนนสุขาภิบาล 1 ถนนสุขาภิบาล 2 และถนนคลองตัน-บางกะปิ และเป็นทางผ่านเข้าออกของย่านศูนย์กลางกรุงเทพมหานครกับย่านพักอาศัยชานเมืองเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีนักลงทุนสร้างอาคารพาณิชย์ขึ้นอย่างมากมาย การเจริญเติบโตของศูนย์กลางบางกะปิจึงเป็นไปตามแนวสองฟากถนน นอกจากอาคารพาณิชย์แล้ว ยังมีสถาบันราชการ และธุรกิจเอกชนรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก เช่น ที่ทำการเขตบางกะปิ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ชุมสายโทรศัพท์ ธนาคาร และโรงพยาบาล เป็นต้น นอกจากนั้น ในบริเวณศูนย์กลางบางกะปิยังเป็นชุมสายรถประจำทางอีกด้วย ดังนั้นบริเวณศูนย์กลางบางกะปิปัจจุบันจึงมีความคับคั่ง ทั้งจำนวนร้านค้า ยวดยานพาหนะ และจำนวนประชากรที่ไปใช้บริการ เมื่อศูนย์กลางนี้เจริญเติบโตขึ้นโดยปราศจากการวางแผนล่วงหน้า จึงทำให้เกิดปัญหาการใช้ที่ดิน ปัญหาการจราจรและการสัญจนของประชาชนผู้ใช้บริการ และปัญหาสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งเมื่อจำนวนประชากรโดยรอบเพิ่มขึ้นยิ่งจะทวีปัญหามากขึ้นตามไปด้วย จากสภาพปัจจุบันเหล่านี้จึงเห็นความเร่งด่วนในอันที่จะทำการศึกษาสภาพความเป็นไปในด้านลักษณะการให้บริการ การใช้บริการ และสภาพโครงสร้างการใช้ที่ดินที่มีปัญหาในปัจจุบัน เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศูนย์กลางให้เกิดมีสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมกับจำนวนประชากรที่ใช้บริการทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ในการศึกษาได้เลือกศูนย์กลางที่อยู่ใกล้เคียงกับศูนย์กลางบางกะปิ ซึ่งได้แก่ ศูนย์กลางพระโขนง และศูนย์กลางลาดพร้าวมาประกอบการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงแรงดึงดูดของศูนย์กลางต่างๆ อันเป็นเครื่องมือในการคาดประมาณเขตการให้บริการ และจำนวนประชากรที่มาใช้บริการ ณ ศูนย์กลางบางกะปิในปัจจุบัน นอกจากนั้นได้ทำการศึกษาลักษณะการให้บริการ ทั้งจำนวน ประเภท และที่ตั้งกิจกรรมภายในบริเวณศูนย์กลางบางกะปิ และลักษณะการใช้บริการของประชากรในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อทำการเสนอแนะแนวทาง เพื่อการพัฒนาศูนย์กลางนี้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันศูนย์กลางบางกะปิมีพื้นที่การให้บริการประมาณ 102 ตารางกิโลเมตร โดยมีประชากรในเขตบริการจำนวน 53,635 คน กิจกรรมที่ดึงดูดประชากรให้มาใช้บริการมากที่สุด คือ ตลาดสด ร้านค้า การคมนาคม และบริการขนส่งสาธารณะ แต่พบว่ามีปัญหาในด้านเนื้อที่ตลาดมีไม่เพียงพอ ขาดแคลนร้านค้าบางประเภท เช่น ร้านสรรพสินค้า ร้านขายของเด็กเล็ก ร้านอาหารที่มีคุณภาพ และร้านขายหนังสือที่ได้มาตรฐาน และบริการสาธารณะอื่นๆ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงเรียนมัธยมที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น ดังนั้นจึงเห็นควรจัดหาเนื้อที่ตลาดเพิ่มขึ้น และสนับสนุนให้มีร้านค้าประเภทดังกล่าวอยู่ในที่ตั้งที่เหมาะสมของศูนย์กลาง เมื่อพิจารณาที่ตั้งของกิจกรรมต่างๆ ในบริเวณศูนย์กลางบางกะปิปัจจุบันจะเห็นว่า เนื่องจากการหน้าที่ของศูนย์กลาง คือการเป็นย่านการค้าของชุมชน จึงมีกิจกรรมบางประเภทตั้งอยู่ในที่ตั้งที่ไม่เหมาะสม และไม่สอดคล้องกับการใช้ที่กินโดยรอบ คือ โรงงานไม้แปรรูป และโรงพยาบาลบางกะปิ จึงเห็นควรเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของกิจกรรมทั้งสองนี้ให้อยู่ในที่ตั้งที่เหมาะสม นอกจากนั้น เห็นควรปรับปรุงพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์ที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุง ให้ได้ใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมและคุ้มค่ากับการเป็นศูนย์กลางของชุมชนมากยิ่งขึ้น นอกจากทางด้านกิจกรรมภายในบริเวณศูนย์กลางแล้ว การเข้าถึงศูนย์กลางเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เห็นควรปรับปรุงระบบการจราจรโดยเปลี่ยนจากวงเวียนหอนาฬิกา (เดิม) เป็นระบบสัญญาณไฟจราจร, เชื่อมถนนสุขาภิบาล 2 กับถนนสุขาภิบาล 3 โดยสร้างเป็นสะพานข้ามคลองแสนแสบเพื่อให้ประชากรเข้าถึงศูนย์กลางได้สะดวกขึ้น, และเชื่อมถนนสุขาภิบาล 1 กับถนนลาดพร้าวบริเวณใกล้เคียงกับศูนย์กลาง เพื่อลดปริมาณการจราจรบริเวณศูนย์กลางบางกะปิ นอกจากนั้น เห็นควรปรับปรุงทางข้ามถนนของประชากรระหว่างกิจกรรมสองฟากถนน โดยสร้างเป็นสะพานคนข้ามบริเวณถนนลาดพร้าว หน้าตลาดบางกะปิเพื่อลดอุบัติเหตุ นอกจากนั้นควรจัดบริเวณที่จอดรถนอกเขตถนนเพื่อความสะดวกในการจอดรถของประชากรผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากเนื้อที่ถนนมีมากขึ้น และเพื่อลดปัญหาการจราจรในย่านศูนย์กลางกรุงเทพมหานครโดยจัดบริการที่จอดรถที่ปลอดภัย และสนับสนุนให้มีการใช้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อเดินทางเข้าเมือง อันจะเป็นการประหยัดเศรษฐกิจของชาติอีกทางหนึ่ง
Other Abstract: Bangkapi community centre has been considered a focal point where the two main highways, Ladprowd and klongton, connected the central business district of Bangkok metropolis are joined by Sukapibal 1 Road and Sukapibal 2 Road to the rapid growth of suburban residential area. It is therefore a center for business, goods and service facilities. Besides the commercial shop-house types erected along the main roads, on every areas available there are also public facilities and many services such as Bangkapi Administration Office, Post Office, Telephone Company, banks, hospital etc. It is also the center for transportation. Today problems of the center, confronted with the mass of population increased, the amount of shops and building facilities and the rapid growing of physical man-made environment without the controlled masterplan cause landuse misconceptions, transportation problems and the deterioration of environmental quality. The need to control such critical situation have to be made promptly by examine thoroughly an existing pattern of element compositions in details particularly on the service quarter, the demand and supply of goods and services for certain population, the structure of movement, the pattern of landuse and transportation which is the tool to the comprehensive planning process. Two proximate centers, Prakanong center and Ladprowd center were selected as a case for their similarity to Bangkapi community center. The amount of population served and supply area can be derived by the study of pull factors affected to each center. The study included the movement pattern, commercial pattern, types and the amount of goods and services and locations of activities. Talking into account, the information derived from the surveys and the relationship of each activities within the center and the surrounding area would be the key elements for appropriate guideline for planning and development of Bangkapi community center. From the study found that the central area served 53635 residents and the serving area is 102 squarekilometres. The main activities are commercial and the center of public transportation which result in physical plan for shopping area, market place, bus terminal and other related functions such as pedestrian and parking etc. The present problems concerned with the size or area of activities such as an inadequate area of market place, the need for some kind of shops, department stores, standardize bookstore, mother’s boutiques and high quality food stores or restaurants. Following are the needs for public facilities such as standard health center, public school and recreation area. Recognition has been made on the location of activities and their relationship within the center. The non-desirable functions or activities in improper location will be relocated such as hospital, and industries. The development of the blight area at the backyard of commercial shop-houses have been recognized as one of the major improvement for the maximum beneficial use of land. Besides the development of the central activities, an accessibility is an important factor for the convenience traffic flow. Consequently, two improvement plans will be perform. First, to replace the clock tower circle by using traffic signal control at intersection. Second, to connect the main highways in order to reduce through traffic at the center; Sukapibal 1 and Sukapibal 2 road, and by pass road from Sukapibal 1 to Ladprowd road. Other improvement is dedicated to minimize accidence caused by automobiles by building an overpass for pedestrian crossing. Providing off-street parking to reduce traffic problems and maximize the right-of –way in order to accommodate traffic flow. The development plans act as a guideline to control and direct. the use of land more efficiently. They also encourage the use of public transportation by provision parking space at the appropriate location within the center to take the direct bus route to the central city.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ผังเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26649
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supitporn_Ch_front.pdf521.63 kBAdobe PDFView/Open
Supitporn_Ch_ch1.pdf868.45 kBAdobe PDFView/Open
Supitporn_Ch_ch2.pdf5.12 MBAdobe PDFView/Open
Supitporn_Ch_back.pdf788.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.