Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27331
Title: การวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ระดับขั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 เกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดี
Other Titles: A content analysis of citizenship characteristics in the Elementary Curriculum B.E. 2521 at the prathom suksa 3-4 level
Authors: เสกสรรค์ อรรถยานันทน์
Advisors: สวัสดิ์ จงกล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ว่าเนื้อหาหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 กล่าวถึงลักษณะความเป็นพลเมืองดีอย่างไร และมากน้อยเพียงใด วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาลักษณะความเป็นพลเมืองดีจาก เอกสาร ตำรา สิ่งพิมพ์ และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง พิจารณารวบรวมลักษณะความเป็นพลเมืองดี เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญทางสังคมศาสตร์ให้ข้อคิดเห็นและสรุปภายใต้คำแนะนำของคณะอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ลักษณะความเป็นพลเมืองดีจำนวน 36 ลักษณะ แล้วจึงนำไปสร้างเครื่องมือวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรเอกสารที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 แผนการสอนและคู่มือการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 ทำการวิเคราะห์เอกสารด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญหลักสูตร ข้อมูลที่ได้นำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และหาค่าฐานนิยม สรุปผลการวิจัย 1. ลักษณะความเป็นพลเมืองดี ที่วิเคราะห์จากเอกสารหลักสูตรได้ทั้งสิ้น จำนวน 835 ครั้ง โดยปรากฏในเอกสารดังนี้ หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ระดับประถมศึกษาปีที่ 3-4 จำนวน 185 ครั้ง (ร้อยละ 22.16 ) แผนการสอนและคู่มือการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 272 ครั้ง (ร้อยละ 32.57) แผนการสอนและคู่มือการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 378 ครั้ง (ร้อยละ 45.27) และปรากฏในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ดังนี้ กลุ่มทักษะ ปรากฏ 18 ลักษณะ จำนวน 269 ครั้ง (ร้อยละ 32.22) กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ปรากฏ 31 ลักษณะ จำนวน 232 ครั้ง (ร้อยละ 27.78) กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ปรากฏ 31 ลักษณะ จำนวน 223 ครั้ง (ร้อยละ 26.71) กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ปรากฏ 16 ลักษณะ จำนวน 111 ครั้ง (ร้อยละ 13.29) 2. ลำดับของลักษณะความพลเมืองดี จากการวิเคราะห์เอกสารหลักสูตรทุกรายการ ที่ปรากฏความถี่มากที่สุด 8 ลำดับแรก เรียงจากความถี่มากไปหาความถี่น้อยตามลำดับดังนี้ ความมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความภูมิใจในความเป็นไทยเป็นสุภาพชน ใฝ่หาความรู้ความจริง ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ประหยัด เป็นผลิตและผู้บริโภคที่ดี และลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่ปรากฏความถี่น้อยที่สุด 8 ลำดับสุดท้าย เรียงจากความถี่น้อยไปหาความถี่มาก ตามลำดับดังนี้ มีความเมตตากรุณา มีความกตัญญูกตเวที กระตือรือร้นและมุ่งอนาคต มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีค่านิยมที่ถูกต้อง มีความละอายและเกรงกลัวต่อการประพฤติผิด ตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความยุติธรรม 3. ลักษณะพฤติกรรมที่พึงมีต่อ ที่วิเคราะห์จากเอกสารหลักสูตรทั้งหมด เป็น ลักษณะพฤติกรรมที่พึงมีต่อตนเองมากที่สุด จำนวน 352 ครั้ง (ร้อยละ 42.15) รองลงมาได้แก่ ลักษณะพฤติกรรมที่พึงมีต่อสิ่งแวดล้อมจำนวน 345 ครั้ง(ร้อยละ 41.32) และลักษณะพฤติกรรมที่พึงมีต่อผู้อื่น จำนวน 138 ครั้ง (ร้อยละ 16.53) 4. ประเภทของเนื้อหา จากการวิเคราะห์เอกสารหลักสูตรทั้งหมด เฉพาะเนื้อหาที่บ่งบอกลักษณะความเป็นพลเมืองดี ปรากฏว่ามีเนื้อหาครบทั้ง 7 ประเภท เรียงตามลำดับดังนี้ เนื้อหาความคิดรวบยอด จำนวน 375 เนื้อหา (ร้อยละ 48.20) เนื้อหาขอเท็จจริงและความรู้ธรรมดา จำนวน 290 เนื้อหา (ร้อยละ 37.27) เนื้อหาหลักการ จำนวน 71 เนื้อหา (ร้อยละ 9.13) เนื้อหาการแก้ปัญหา จำนวน 13 เนื้อ (ร้อยละ 1.67) เนื้อหาเจตคติและค่านิยม จำนวน 13 เนื้อหา (ร้อยละ 1.67) เนื้อหาความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 8 เนื้อหา (ร้อยละ 1.03) เนื้อหาความสามารถและทักษะทางกาย จำนวน 8 เนื้อหา (ร้อยละ 1.03)
Other Abstract: Research objective The main objective of this study is to analyze the content of grades III and IV of the elementary school curriculum B.E. 2521 to find out how it embraces desirable citizenship characteristic. Research Method The researcher studied the desirable citizenship characteristics from curriculum materials, textbooks and research reports concerned. After synthesizing the drafted desirable citizenship characteristics, then it was proposed to social science specialists for comments which consequently was again summarized under the supervision of the thesis advisor. Altogether there were 36 citizenship characteristics which were used in curriculum analysis in this research project. Main documents used in this research are the elementary school curriculum B.E. 2521, the instructional plans and teachers’ guides for grades III and IV Levels. The data processing used in this research are frequency counts, percentage and mode. Research Findings 1. Desirable citizenship characteristics found in this research are 835 frequencies into total. The details are as follows:- a) Elementary school curriculum B.E.2521 for grades III and IV 185 Frequencies (22.16%) b) Instructional plans and teachers’ guides for grades III 272 frequencies (32.57%) c) Instructional plans and teachers’ guides for grades IV 378 frequencies (45.27%) When classified in each group of experience of the curriculum it was found out as follows:- d) Tool Subjects group 18 characteristics for 269 frequencies (32.22%) e) Life Experiences group 31 characteristics for 232 frequencies (27.78%) f) Character Development group 31 characteristics for 223 frequencies (26.71%) g) Work-Oriented Experiences group 16 characteristics for 111 frequencies (13.29%) 2. When analyzed in order of priority of frequency, the desirable citizenship characteristics found that there were 36 desirable citizenship characteristics items in curriculum materials. The first 8 ones from highest score downwards are reasoning competency, creative thinking, proud of being a Thai, politeness, seeking for truth and knowledge, wisely time spending, economic consciousness, to be a good producer as well as a good consumer. The last 8 series from the lowest score upwards are kindness, gratefulness, enthusiastic and futuristics, sportsmanship, right value conceptualization, conscientiousness towards refraining from misbehaving, interest and participation in politics and fairmindedness. 3. When analyzing characteristics and behavior based on the analysis from all curriculum materials concerning desirable citizenship characteristics behaved towards oneself it was found out that there were 352 frequencies (42.15%), behavior towards environment 345 frequencies (41.32%) and behavior towards other people 138 frequencies (16.53%) 4. When analyzing desirable citizenship characteristics from all curriculum materials in terms efficient learning outcome classified into seven categories in this research, it was found out that various concepts ranged in order of priority from the highest score downwards are as follows :- (1) conceptualization 375 concepts (48.20%) (2) factual information and verbal knowledge 290 concepts (37.27%) (3) principles induction 71 concepts (9.13%) (4) problem solving 13 concepts (1.67%) (5) attitude and values formation 13 concepts (1.67%) (6) creativity 8 concepts (1.03%) (7) skills 8 concepts (1.03%)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27331
ISBN: 9745631841
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Segson_Au_front.pdf509.76 kBAdobe PDFView/Open
Segson_Au_ch1.pdf772.02 kBAdobe PDFView/Open
Segson_Au_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Segson_Au_ch3.pdf325.75 kBAdobe PDFView/Open
Segson_Au_ch4.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Segson_Au_ch5.pdf898.39 kBAdobe PDFView/Open
Segson_Au_back.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.