Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27415
Title: การทดสอบทฤษฎีตัวแนะพหุคูณ : การขจัดอิทธิพลของการเว้นระยะ ที่มีต่อการระลึกเสรีด้วยจินตนภาพตัวเลข
Other Titles: A test of the multiple-cue theory : the elimination of the spacing effect on free recall by number images
Authors: สุวรรณา กาญจนผลิน
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่พบในการทดลองความจำทุกแบบก็คือ เมื่อระยะห่างระหว่างการเสนอซ้ำของข้อกระทงยิ่งมาก คะแนนระลึกได้ของข้อกระทงที่เสนอซ้ำนั้นยิ่งสูง ปรากฏการณ์นี้จึงได้ชื่อว่า อิทธิพลของการเว้นระยะ ปรากฏการณ์อิทธิพลของการเว้นระยะเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เนื่องจากมีความทั่วไปสูงและไม่สามารถทำนายด้วยกฎความจำที่มีอยู่ ทฤษฎีที่ได้รับการเสนอให้ใช้อธิบายปรากฏการณ์อิทธิพลของการเว้นระยะมีหลายทฤษฏี แม้ว่าบางทฤษฎีจะมีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนเป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่มีทฤษฎีใดที่สามารถทำนายปรากฏการณ์นี้ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ในบรรดาทฤษฏีเหล่านี้ ทฤษฏีตัวแนะพหุคูณของอาร์เธอร์ ดับบลิว เมลตัน เป็นทฤษฏีหนึ่งที่ได้รับการเสนอให้ใช้อธิบายปรากฏการณ์อิทธิพลของการเว้นระยะที่พบในการระลึกเสรี ทฤษฏีตัวแนะพหุคูณมีข้อสมมุติเบื้องต้นว่า คำคำหนึ่งถ้าปรากฏ 2 ครั้งโดยมีคำแวดล้อมของครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 แตกต่างกัน จำนวนตัวแนะที่แตกต่างกันจะมีมากกว่าการปรากฏซ้ำที่มีคำแวดล้อมของครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 เหมือนกัน จำนวนตัวแนะแตกต่างที่เพิ่มขึ้นนี้จะช่วยดึงคำได้มากขึ้นในเวลาระลึก และระยะห่างระหว่างการสเนอซ้ำยิ่งมากโอกาสที่ตัวแนะของการเสนอครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 จะแตกต่างกันยิ่งมีมาก จึงทำให้มีระยะห่างมากระหว่างการเสนอซ้ำระลึกได้ดีกว่าการที่มีระยะห่างน้อย ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างเงื่อนไขการทดลองเพื่อทดสอบทฤษฏีตัวแนะพหุคูณ ตัวแปรอิสระที่ศึกษามี 3 ตัว คือ ตัวแปรแนะในขณะเสนอคำ เป็นตัวแปรระหว่างผู้รับการทดลอง มี 5 ระดับหรือ 5 กลุ่มคือกลุ่มที่ 1 ไม่มีตัวแนะในขณะเสนอคำเป็นกลุ่มควบคุม ในกลุ่มที่ 2 ผู้รับการทดลองใช้จินตนภาพตัวเลขตัวเดียวกันเป็นตัวแนะช่วยจำคำทั้ง 2 ครั้งเสนอ กลุ่มที่ 3 ผู้รับการทดลองใช้จินตนภาพตัวเลขคนละตัวในการจำคำทั้ง 2 ครั้ง กลุ่มที่ 4 ไม่ได้รับคำสั่งให้ใช้ตัวแนะ แต่มีตัวเลขตัวเดียวกันคู่กับคำที่ต้องจำทั้ง 2 ครั้งเสนอ และกลุ่มที่ 5 ได้รับคำสั่งเช่นเดียวกับกลุ่มที่ 4 แต่มีตัวเลขต่างตัวกันในการเสนอซ้ำตัวแปรอิสระตัวที่ 2 คือระยะห่างซึ่งมี 6 ระยะได้แก่ 0, 2, 4, 8, 16 และ 32 คำคั่นระหว่างการเสนอคำครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 เป็นตัวแปรภายในผู้รับการทดลองและตัวแปรที่ 3 เป็นตัวแปรตัวแนะในขณะระลึก คือ ผู้รับการทดลองแต่ละคนระลึกเสรี 2 ครั้งครั้งที่ 1 ไม่มีตัวแนะในการระลึกแต่ครั้งที่ 2 มีตัวเลขเสนอให้ในกระดาษคำตอบเป็นตัวแนะช่วยการระลึก จึงเป็นตัวแปรภายในผู้รับการทดลองเช่นกัน ทฤษฏีตัวแนะพหุคูณทำนายว่า อิทธิพลของการเว้นระยะจะหายไป ในเงื่อนไขจิตนภาพตัวเลขเหมือนและจินตนภาพตัวเลขต่าง ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีตัวแนะในขณะระลึก และในเงื่อนไขตัวแนะตัวเลขเฉพาะเมื่อมีตัวแนะในขณะระลึกเงื่อนไขตัวแนะต่างจะมีคะแนนระลึกได้สูงกว่าเงื่อนไขตัวแนะเหมือน ไม่ว่าจะใช้จินตนภาพหรือไม่ ผลการทดลองปรากฏว่า สมมุติฐานจากทฤษฎีตัวแนะพหุคูณไม่ได้รับการสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่อิทธิพลของการเว้นระยะในเงื่อนไขจินตนภาพตัวเลขเหมือนมิได้หายไป และคะแนนระลึกได้ในเงื่อนไขตัวแนะต่างไม่แตกต่างกับเงื่อนไขตัวแนะเหมือน ผู้วิจัยสันนิษฐานว่า อิทธิพลของการเว้นระยะที่มีต่อการระลึกเสรีมีสาเหตุอยู่ที่ประสิทธิภาพ 2 ประการของตัวแนะ คือ ประสิทธิภาพของการเข้าถึงได้ และประสิทธิภาพในการดึงคำที่ต้องจำ ระยะห่างมากมีประสิทธิภาพประการใดประการหนึ่งหรือทั้ง 2 ประการสูงกว่าระยะห่างน้อย การระลึกที่ระยะห่างมากจึงดีกว่าที่ระยะห่างน้อย
Other Abstract: A phenomenon found in every paradigm of memory experiments is when the spacing of the repetitions of an item increases, the recall score of that item is enhanced. The spacing effect, as it is thus called, is interesting because of its high generality as well as its unpredictability in terms of the existing laws of memory. A number of theories have been proposed to explain the spacing-effect phenomenon. Although some of them have been well supported by the empirical data concerned, none is able to predict the phenomenon with total accuracy. Of these competing theories, one is put forward by Arthur W. Melton—the multiple-cue theory—to account for the phenomenon of spacing effect in free recall. The theory has two basic assumptions. First, a word appearing twice with different word-contexts at the first and second presentations will have more cues than one repeated with the same context of words at its second presentation. The more the number of different cues, the higher is the probability of recall. Second, as the spacing of repetitions increases, the cues become more and more uncorrelated, and thus the longer the lag between the repetitions the better the recall will be. At the present research, experimental conditions were created to test the multiple-cue theory. Three independent variables were studied. First, the input-cue variable was a between-subject variable with 5 levels or groups of subjects. The first group was the control group, to which no input-cues were presented. The subjects in the second group used the same number-image cue at both presentations. The subjects in the third group employed a different number-image cue at the second presentation of the repeated word. The fourth group had not been instructed to employ any cues but had been presented with the same number at both presentations. The fifth group, with the same instruction as the fourth, had a different number at the second presentation. The second independent and within subject variable studied was lag. There were 0, 2, 4, 8, 16 and 32 words intervening the repetitions. And the third one was the output-cue, within-subject, variable. Each subject free-recalled twice, without and with numbers as output-cues respectively. The multiple-cue theory predicted that the spacing effect would be eliminated in the number-image conditions whether with or without output-cues, and in the number conditions only when output-cues were provided. The different-cue conditions would have a higher recall score than the same-cue conditions whether employing imagery or not. The experimental results showed that most of the hypotheses derived from the multiple-cue theory wee not supported. The spacing effect was not eliminated in the same number-image conditions and the recall score of the different-cue conditions found was not different from that of the same-cue conditions. Two dimensions of cue efficacy were proposed to account for the spacing effect in free recall: accessibility and evokability. Longer lags have higher efficacy of either dimension or both, and thus have a higher score than shorter ones.
Description: วิทยานิพนธ์ (ด.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27415
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwanna_Ka_front.pdf584.35 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ka_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ka_ch2.pdf555.35 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ka_ch3.pdf628.55 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ka_ch4.pdf730.54 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ka_ch5.pdf302.33 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ka_back.pdf767.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.