Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27443
Title: ผลของการฝึกสายตาที่มีต่อสัมฤทธิ์ผลในการเรียนเทนนิส
Other Titles: The effects of visual perception training on the achievement in tennis learning
Authors: กนก สมะวรรธนะ
Advisors: ศิลปชัย สุวรรณธาดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสัมฤทธิผลและศึกษาความก้าวหน้าในการเล่นเทนนิสระหว่างกลุ่มที่ฝึกสายตาประกอบการเรียนกับกลุ่มที่เรียนทักษะอย่างเดียวไม่มีการฝึกสายตาประกอบ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองโดยการนำอาสาสมัครที่เป็นนักเรียนชายทั้งหมดซึ่งเรียนอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ มัธยมศึกษาปีที่ ๔ ไม่เคยเล่นเทนนิสมาก่อน มีอายุระหว่าง ๑๕ ถึง ๑๗ ปี มีสายตาวัดตามแบบของสเนลเลน (Snellen) ปกติ (๒๐/๒๐ ฟุต) ๖๐ คน แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มละ ๒๐ คน ใช้คะแนนในการทดสอบความสามารถในการเรียนรู้ทักษะ (Motor Educability) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มให้มีความสามารถเท่าๆกัน กลุ่มตัวอย่างทั้ง ๓ กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ ๑ กลุ่มทดลองที่ ๒ และกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ ๑ และกลุ่มทดลองที่ ๒ มีการฝึกสายประกอบการเรียนทักษะอย่างเดียวกัน (กลุ่มทดลองที่ ๒ ใช้เวลาในการฝึกมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ๒๐ นาที) ส่วนกลุ่มควบคุมมีการฝึกฝนทักษะแต่เพียงอย่างเดียว ในแต่ละสัปดาห์ แต่ละกลุ่มจะได้รับการฝึกเป็นเวลา ๓ วันๆละ ๑ ชั่วโมง ยกเว้นกลุ่มทดลองที่ ๒ ใช้เวลา ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที นานเป็นเวลา ๘ สัปดาห์ ทุกกลุ่มได้รับการทดสอบทุกๆ ๒ สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวตามแบบของไวเนอร์ (Winer) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง ๓ กลุ่ม มีความสามารถในการเล่นเทนนิสไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๑ แต่กลุ่มทดลองที่ ๒ มีแนวโน้มว่ามีความสามารถในการเล่นเทนนิสสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ
Other Abstract: The purposes of this study were to compare the effects of visual perception training on achievement of tennis learning. Sixty male subjects user in the investigation were M.S. 3 and M.S. 4 students. All subjects were between 15 and 17 years old, and had normal 20/20 vision measured on “Snellen E Eye” test. The subjects were divided into one control and two experimental groups, 20 subjects in each group. “Motor Educability test” was used to equalize the learning ability among the groups. The first and second experimental groups were trained in the basic skills of tennis and the visual perception simultanously. The difference between the two groups was the length of training time. The second experimental group practiced for an hour and twenty minutes. The control group was trained in the basic skills of tennis only. All subjects were exposed to training for 8 weeks. The obtained data were analyzed by the method of one-way analysis of variance. The result of this investigation indicated that the subject were not significantly different at the level of .01. However, the second experimental group tended to have a better performance than the other two groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27443
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanoke_Sa_front.pdf465.85 kBAdobe PDFView/Open
Kanoke_Sa_ch1.pdf543.64 kBAdobe PDFView/Open
Kanoke_Sa_ch2.pdf485.15 kBAdobe PDFView/Open
Kanoke_Sa_ch3.pdf384.52 kBAdobe PDFView/Open
Kanoke_Sa_ch4.pdf373.45 kBAdobe PDFView/Open
Kanoke_Sa_ch5.pdf335.41 kBAdobe PDFView/Open
Kanoke_Sa_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.