Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27528
Title: การศึกษาทัศนคติของประชาชนสามกลุ่มในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
Other Titles: A study of the attitude of three Bangkok Methropolitan group towards the nuclear power plant project
Authors: อมรา ธนสมบูรณ์
Advisors: จุมพล รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนสามกลุ่มในกรุงเทพมหานครอันได้แก่ นักหนังสือพิมพ์ อาจารย์ในระดับอุดมศึกษา และผู้นำนิสิตนักศึกษาว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ศึกษาเหตุผลสำคัญที่ทำให้ประชาชนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ศึกษาความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประชาชนสามกลุ่มดังกล่าว ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติของประชาชน ตลอดจนศึกษาแหล่งข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประชาชนเคยได้รับ โดยใช้จำนวนตัวอย่างในการวิจัย 311 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ใช้วิธีหาค่าร้อยละ t-test, z-test และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยมีผู้ไม่เห็นด้วยร้อยละ 53.7 ขณะที่มีผู้เห็นด้วยร้อยละ 46.3 2. ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 55.5 มีความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์น้อย ขณะที่ร้อยละ 37.40 มีความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปานกลางและร้อยละ 7.03 มีความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3. แหล่งข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประชาชนเคยได้รับมากที่สุดได้แก่ หนังสือพิมพ์ซึ่งมีผู้ได้รับร้อยละ 87.40 รองลงไปได้แก่การรับข่าวสารจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ, โทรทัศน์, วิทยุ และเพื่อน ซึ่งมีผู้ได้รับร้อยละ 63.70, 57.03, 44.44 และ 36.29 ตามลำดับ 4. ประชาชนชายมีทัศนคติเห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากกว่าประชาชนหญิง 5. ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะเหตุผลทางด้านความปลอดภัยมีมากกว่าประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะเหตุผลอื่น 6. ประชาชนที่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์มีมากกว่าประชาชนที่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะเหตุเผลอื่น 7. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประชาชนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในระดับค่อนข้างต่ำ (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.26) 8. ประชาชนที่เคยได้รับข่าวสารเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยตรงจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ กับประชาชนที่ไม่เคยได้รับข่าวสารเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยตรงจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มีทัศนคติไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this study was to find out the attitude towards the Nuclear Power Plant Project of three Bangkok Metropolitan groups which are the group of Journalist, Student Leader and Lecturer in the universities, to identify the reason for their support and objection, to investigate the knowledge on the Nuclear Power Plant and their attitude and to examine the sources of information that people used to receive. The study is a survey research using questionnaires for data collecting. The replied questionnaires are statistically analysed through percentage, t-test, z-test and Peason’s Product Moment coefficient of correlation. The results can be summarized as follows. 1. The majority of people opposed to the Nuclear Power Plant Project. The percentage of opposition and support was 53.7% and 46.3% respectively. 2. The majority of people (55.5%) had little knowledge on the Nuclear Power Plant, another 37.40% was on the “medium level” of their knowledge and the rest of 7.03% knew well about nuclear power. 3. The source of information on Nuclear Power Plant people received most was newspaper with the percentage of 87.40% followed by another printed materials, television, radio, and friends at 63.70%, 57.03%, 44.40% and 36.29% respectively. 4. There was difference of attitude between sexes. More males supported for Nuclear Power Plant project than females. 5. There was difference of proportion between safety reason and other reasons of opponents. The majority of opponent had safety reason. 6. There was difference of proportion between economic reason and other reasons of supporters. The majority of supporter had economic reason. 7. Knowledge on the Nuclear Power Plant was related positively to attitude and the correlation coefficient was 0.26 8. There was no difference of attitude between the people who used to receive nuclear information directly from The Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) and the people who had never received nuclear information directly from EGAT.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27528
ISBN: 9745610046
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amara_Ta_front.pdf447.06 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ta_ch1.pdf575.49 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ta_ch2.pdf560.23 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ta_ch3.pdf515.15 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ta_ch4.pdf458.88 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ta_ch5.pdf378 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ta_back.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.