Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27634
Title: ความคิดทางการเมืองของสด กูรมะโรหิต
Other Titles: Political thought of Sod Kurmarohita
Authors: อดุลย์ มณีโรจน์
Advisors: วิทยา สุจริตธนารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงความคิดทางการเมืองของสด กูรมะโรหิต (พ.ศ.2451-2521) ซึ่งเป็นนักประพันธ์และนักหนังสือพิมพ์ที่สำคัญยิ่งคนหนึ่งของประเทศไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 จากการศึกษาด้วยวิธีการสำรวจเอกสาร ผู้ศึกษาพบว่า ความคิดของสดอยู่ที่ต้องการจะพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในสังคมให้ตกอยู่กับประชาชนโดยปราศจากการขูดรีดหรือเอารัดเอาเปรียบจากบุคคลหรือรัฐ ดังนั้นสดจึงมีความคิดต่อต้านลัทธิอาณานิคมและต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม เพราะเป็นลัทธิที่ประเทศหนึ่งแสวงหาผลประโยชน์ต่ออีกประเทศหนึ่ง โดยปราศจากความเป็นธรรม ต่อต้านลัทธิทุนนิยมเพราะเป็นลัทธิที่นายทุนขูดรีดผลประโยชน์ไปจากผู้ใช้แรงงานอย่างรุนแรง โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องแม้แต่น้อย ทำให้ผู้ใช้แรงงานต้องยากจน ในขณะที่นายทุนกลับร่ำรวยมหาศาล ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์เพราะเป็นลัทธิที่ใช้วิธีการบังคับข่มขี่ทำให้เกิดความรุนแรง มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และไม่อาจจะขจัดการเอารัดเอาเปรียบในระบบทุนนิยมตามอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ เพราะแม้ว่าจะสามารถขจัดนายทุนให้หมดไปได้ แต่ประชาชนก็ยังถูกเอารัดเอาเปรียบจากรัฐหรือชนชั้นปกครองอยู่ดี ต่อต้านสงครามเพราะสงครามเป็นภัยพิบัติอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ เพราะมนุษย์ต้องเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมากมายมหาศาลไปในการก่อสงคราม ในทางตรงกันข้าม สดกลับแสวงหาแนวทางที่จะพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนซึ่งในที่สุดสดก็พบว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยสหกรณ์จะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกดขี่ ขูดรีด เอารัดเอาเปรียบต่อประชาชนได้ ประชาชนจะมีสภาพชีวิตที่ดี มีความสุข และมีสวัสดิการสังคมที่สมบูรณ์ นอกจากนั้นประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพ อิสรภาพ เสมอภาค และสันติภาพ ทั้งนี้เพื่อจะให้บรรลุถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสหกรณ์ได้ จะต้องนำเอาการสหกรณ์มาปฏิรูประบบเศรษฐกิจทั่วประเทศในที่สุดก็จะเกิดรัฐสหกรณ์ขึ้น และเพื่อจะหลีกเลี่ยงจากภัยสงคราม และก่อให้เกิดสันติภาพขึ้นในโลก สดได้เสนอความเห็นว่าให้ทุกประเทศทั่วโลกทำการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเป็นแบบสหกรณ์ จนในที่สุดโลกจะกลายเป็นโลกสหกรณ์ และเมื่อนั้นจะเกิดสันติภาพถาวร เพราะประชาชนจะแสดงประชามติคัดค้านการทำสงคราม เพราะสำนึกในคุณค่าแห่งแรงงานของตนจากระบบสหกรณ์ สำหรับประเทศไทย สดได้เสนอให้รัฐบาลนำเอาการสหกรณ์มากำหนดเป็นแนวนโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อทำการปฏิรูปหมู่บ้านทั่วประเทศเพื่อสร้างสรรค์สังคมสหกรณ์จนเกิดรัฐสหกรณ์ ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ผู้ศึกษายังพบว่า ลักษณะความคิดของสดมีลักษณะเด่นหลายประการกล่าวคือ สดเป็นนักมานุษย์นิยม มีความเห็นอกเห็นใจมวลมนุษยชาติ อยากเห็นมนุษย์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สดเป็นนักศีลธรรมนิยม รักความถูกต้อง ความเป็นธรรม และความดีงาม ไม่ต้องการให้มีการเบียดเบียน ข่มเหงระหว่างมนุษย์ทั้งปวง สดเป็นนักอุดมคติ พยายามเสนอความคิดที่ว่าสังคมทีดีควรจะมีสภาพเป็นเช่นใด และเสนอแนวทางเพื่อให้บรรลุถึงสังคมดังกล่าว และสดเป็นปฏิบัตินิยมโดยพยายามนำเอาความคิดที่ตนเองเชื่อมั่นว่าดีและถูกต้องไปทดลองปฏิบัติด้วยตนเองแม้ว่าจะไม่ประสบผลสำเร็จก็ตาม
Other Abstract: This thesis aims at analyzing political thoughts of Sod Kuraarohita (1908-1978) who was one of the best well known writer and journalist since 1932. Through documentary study, it is found out that dominant characteristics of Sod’s thought centers around guarding interest of the largest of the people in the society from being exploited by smaller group of people or state. It is only natural that Sod abhores repression and exploitation. Sod has been vehemently against colonialism and imperialism since they were ideologies through which countries could be laid bare to exploitation. Sod disliked capitalism since it allowed capitalists to reap benefit from sweats of toilers and it was the sole course to impoverish them while it let the exploiters to prosper. Sod was against communism since he saw in it Means of repression leading to violence, violation of human liberty, and inability to eliminate exploitation in capitalist fashion. Sod stood against war since they always caused catastrophy to human beings. On the contrary, Sod kept searching for ways to protect people’s interest. He finally found that democratic practice through cooperative would be the only solution of repression, exploitation, and could enrich people’s life, happiness and social well-being. It could also bring people rights, liberty, freedom, equality and peace. In order to reach that state, cooperative system must be applied to the nations economy paving the way to cooperative state. In order to ward off war and to bring about peace throughout the world, Sod proposed that all nations adopted cooperative system to their economy so that there would emerge a cooperative world whereby permanent peace would entail since people would oppose war because they have come to realize the virtue of cooperatives. As for Thailand, Sod suggested the government adopt cooperatives to national economic policy through which villages all over the country could be reformed. Cooperative society would then nationwide leading to cooperative state. Dominant aspects of Sod’s thoughts can be said to be humanism judging from his sympathy for human kind, his desire to see human mutually helping each other and live together happily. Sod is a moralist for he chirishes rectitude, justice and virtue while he despite human exploitation. Sod is an idealist who describes what a good society can be like and proposes the way to realize it. Sod is also pragmatist who tries to apply his advocacy believed to be correct and proper though plagued with failure. However, it can be surmised that Sod seems to pay too little attention to the real situation of his time, be it political, economic, and social. Sticking tenaciously to his cooperative idea makes Sod so confident in it. It can cure all ills. Since he fails in application of his idea, his idea thus remains his own ideological commitment less receptive to the people at large.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27634
ISBN: 9745666149
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adul_Ma_front.pdf429.02 kBAdobe PDFView/Open
Adul_Ma_ch1.pdf888 kBAdobe PDFView/Open
Adul_Ma_ch2.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Adul_Ma_ch3.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Adul_Ma_ch4.pdf933.82 kBAdobe PDFView/Open
Adul_Ma_back.pdf810.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.