Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28228
Title: การศึกษารายจ่ายพระราชทรัพย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (2325-2394)
Other Titles: The study of the state expenditure during the early Rattanakosin period (1782-1851)
Authors: รัตนาวดี แก้วไชโย
Advisors: ปิยนาถ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษารายจ่ายพระราชทรัพย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ( 2325 – 2394) อันเป็นช่วงของการก่อสร้างบ้านเมืองให้กลับมีความมั่นคงเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่งภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา การศึกษาแบ่งออกเป็น 4 บท นอกจากบทนำและบทสรุป โดยบทที่ 1 กล่าวถึงสภาพทั่วไปทางสังคม การเมือง การปกครอง ที่เป็นสาเหตุนำไปสู่รายจ่ายพระราชทรัพย์ บทที่ 2 กล่าวถึงที่มาของรายได้ที่จะนำมาจ่ายพระราชทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ที่มาของรายได้จากภายนอกประเทศได้แก่ การค้าสำเภาและที่มาของรายได้ภายในประเทศ ได้แก่ ส่วย อากร จังกอบ ฤชา เป็นต้น บทที่ 3 กล่าวถึงรายจ่ายพระราชทรัพย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ แบ่งออกได้ 3 ด้านใหญ่ๆ คือ ด้านศาสนา ด้านราชการแผ่นดิน และด้านราชสำนัก บทที่ 4 กล่าวถึงผลของรายจ่ายพระราชทรัพย์ที่มีต่อศาสนา ราชการแผ่นดิน การปกครอง และราชสำนักในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผลของการวิจัย พบว่าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นอันเป็นระยะก่อสร้างบ้านเมืองใหม่ พระราชทรัพย์ที่มาจากภายในและภายนอกประเทศเท่าที่ปรากฏในท้องพระคลัง รัฐได้นำมาจ่ายทั้งการส่วนพระองค์และราชการแผ่นดิน โดยให้ความสำคัญแก่ด้านศาสนา ราชการแผ่นดิน และราชสำนัก ซึ่งในสมัยนี้ได้ให้ความสำคัญแก่รายจ่ายทางด้านศาสนาอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา แม้ในยามสงครามรายจ่ายพระราชทรัพย์ ในด้านดังกล่าวนี้ก็มิได้ถูกตัดทิ้งไป เพียงแต่ลดจำนวนลงเท่านั้น ผลของรายจ่ายพระราชทรัพย์นี้ได้ส่งผลโดยส่วนรวม กล่าวคือทางด้านศาสนา รัฐได้เห็นความสำคัญทางด้านวัตถุปรากฏให้เห็นในการสร้างและทนุบำรุงวัดวาอารามอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ให้ความสนใจน้อยกับพระธรรมวินัยในศาสนาจนเกิดมีการปฏิรูปศาสนาตั้งธรรมยุตขึ้นมา ทางด้านราชการแผ่นดินโดยเฉพาะการสงคราม รัฐสามารถป้องกันเอกราชไว้ได้ในการทำสงครามกับพม่า ในขณะที่ประสบความสำเร็จบางส่วนในการทำสงครามกับญวนเพื่อป้องกันประเทศ สำหรับรายจ่ายทางด้านการปกครองคือ เบี้ยหวัดและการปูนบำเหน็จซึ่งรัฐได้จ่ายนอกเหนือจากได้ให้อยู่เป็นประจำแล้ว เป็นการแสดงถึงความพยายามที่จะสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้น แต่ไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร เพราะมีกบฏเกิดขึ้นหลายครั้งในสมัยนี้ ส่วนทางด้านราชสำนัก รายจ่ายพระราชทรัพย์ในการนี้เป็นไปเพื่อการเสริมสร้างพระราชอำนาจของสถาบันกษัตริย์เป็นสำคัญ กล่าวโดยสรุป รายจ่ายพระราชทรัพย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ส่งผลกต่อบ้านเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการที่จะทำให้บ้านเมืองกลับมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
Other Abstract: This thesis is a study of the state expenditure during the early part of the Rattanakosin period (1782 - 1851). This was a period of considerable reconstruction in an attempt to bring prosperity back to the nation after the fall of Ayuthaya. The study is divided into 4 chapters, besides the introduction and the conclusion. Chapter 1 presents general social political, economic and administrative circumstances which affected state expenditure. Chapter 2 discusses the sources of revenue to be used for state expenditure„ These can be divided into 2 categories: the external sources such as trade by sea and the internal sources such as poll-tax, customs, inland transit duties, judicial fees and fines. Chapter 3 deals with the state expenditure during the early Rattanakosin period, which can be divided into 3 types: administration and religious, administrative spending, and the spending of the royal household. Chapter 4 is about the effects of the state expenditure on the social, political, administrative and economic conditions of the country during the early Rattanakosin period. The following generalization can be made, based upon the study of state expenditure during this period of time. The emphasis seemed to be placed on religion, administrative affairs and the court, even during the time of war. However, it should be noticed that the money was spent more for the construction of temples than for the reformation of religious activities. This later gave rise to the emergence of Dharma Yutikanikaya. Administratively, most of the money was spent as compersation and reward for soldiers and government officials in order to promote loyalty. However, this was not a successful policy, for there were many rebellious. As for the court, the money was spent to strengthere the institution of monarchy. In brief, one can say that the purpose of state expenditure at this time of history is the strengthening of the stability of the state.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28228
ISBN: 9745631191
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruttenevadi_ka_front.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
Ruttenevadi_ka_ch1.pdf9.56 MBAdobe PDFView/Open
Ruttenevadi_ka_ch2.pdf15.41 MBAdobe PDFView/Open
Ruttenevadi_ka_ch3.pdf27.64 MBAdobe PDFView/Open
Ruttenevadi_ka_ch4.pdf9.26 MBAdobe PDFView/Open
Ruttenevadi_ka_back.pdf12.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.