Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28254
Title: ประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดเล็ก
Other Titles: Efficiency of securities exchange of Thailand : a cpmparative study of rate of return between large and small firms
Authors: เยาวลักษณ์ วัฒนาศรีโรจน์
Advisors: พิพัฒน์ พิทยาอัจฉริยกุล
สริตา บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพระดับกลางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนและผลตอบแทน เกินปกติของกลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจ ขนาดใหญ่เปรียบเทียบกับกลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดเล็ก ตัวแบบที่ใช้ในการศึกษา คือ Capital Asset Pricing Model (CAPM) โดยศึกษาจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2518 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2529 ผลการวิ เคราะห์ผลตอบแทนและผลตอบแทน เกินปกติของกลุ่มหลักทรัพย์ทั้งสองโดยวิธีเฉลี่ยค่าแบบไม่ถ่วงน้ำหนัก และวิธีเฉลี่ยค่าแบบถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาดของหุ้นในกลุ่มหลักทรัพย์ ให้ข้อสรุปที่เหมือนกันทั้งสองวิธี คือ ผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดใหญ่มีค่ามากกว่า ผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความ เชื่อมั่น 95% ผลตอบแทนเกินปกติของกลุ่มหลักทรัพย์ทีประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดใหญ่มีค่ามากกว่า 0 ผลตอบแทน เกินปกติของกลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยทุนของธุรกิจขนาด เล็กมีค่าน้อยกว่า 0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งหมายความว่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ผลตอบแทนสูง เกินปกติ และกลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดเล็กให้ผลตอบแทนต่ำกว่าปกติ และเมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนเกินปกติของกลุ่มหลักทรัพย์ทั้งสองพบว่า ผลตอบแทนเกินปกติของกลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดใหญ่มีค่ามากกว่าผลตอบแทน เกินปกติของกลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบ ด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทน เกินปกติดังกล่าวตรงข้ามกับผลการศึกษาของ Ivan L. Lustig และ Philip A. Leinbach ที่ทดสอบกับตลาดหุ้นนิวยอร์กพบว่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดเล็กให้ผลตอบแทนเกินปรกติมากกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดใหญ่ให้ผลตอบแทนชนิดไม่ปรับความเสี่ยงและผลตอบแทนชนิดปรับความเสี่ยงที่วัดด้วยผลตอบแทนเกินปกติ Sharpe Index และ Treynor Index สูงกว่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นของธุรกิจขนาดเล็ก ทั้งในขณะที่ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยในยุคตกต่ำและยุคฟื้นตัวและพัฒนา ผลการวิเคราะห์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นข้อสนับสนุนความไม่มีประสิทธิภาพ ณ ระดับ Semi- Strong Form ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Abstract: The purpose of this study was to test the semi-strong form of the Securities Exchange of Thailand. Simple average as well as risk-adjusted rates of return, based on the Capital Asset Pricing Model (CAPM), of large and small firm portfolios were determinded. Relevant data over the 11-year period, April 1975 to December 1986, was used in the analysis. Both unweighted and market-value weighted average methods used to calculate return and abnormal return of both portfolios produced the same result. Return of the large firm portfolio was greater than that of the small firm portfolio at 95 percent significant level. Abnormal return of the large firm portfolio was positive while abnormal return of the small firm portfolio was negative at 95 percent significant level. The Implications of these results were that the large firm portfolio yielded excess return in contrast with the small firm portfolio which yielded lower-than-normal return. The abnormal return of the large firm portfolio was higher than the abnormal return on the small firm portfolio at 95 percent significant level. This finding was contradictory to that studied by Ivan Lustig and Philip A. Leinbach on the New York Stock Exchange where small firms appeared to outperform large firms. Furthermore, it was found that the large firm portfolio consistently outperformed the small firm portfolio as the former yielded higher non-risk- adjusted return and higher risk-adjusted return measured by abnormal return, Sharpe Index and Treynor Index both in the bull and bear periods. The result of this study supported the inefficiency of the Securities Exchange of Thailand at the semi-strong form level.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28254
ISBN: 9745692662
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yaowaluck_wa_front.pdf7.4 MBAdobe PDFView/Open
Yaowaluck_wa_ch1.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
Yaowaluck_wa_ch2.pdf8.94 MBAdobe PDFView/Open
Yaowaluck_wa_ch3.pdf12.62 MBAdobe PDFView/Open
Yaowaluck_wa_ch4.pdf11.77 MBAdobe PDFView/Open
Yaowaluck_wa_ch5.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open
Yaowaluck_wa_back.pdf78.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.