Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28308
Title: กรดมะนาวจากนอร์มัล พาราฟฟินส์โดยวิธีการหมักในอาหารเหลวด้วยยีสต์
Other Titles: Liquid state fermentation of citric acid from n-peraffin by yeasts
Authors: เรวดี เลิศไตรรักษ์
Advisors: วินิจ ชำวิวรรธน์
ส่งศรี กุลปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการคัดเลือกเชื้อยีสต์ 25 สายพันธุ์ พบว่ามียีสต์จำนวน 16 สายพันธุ์ที่เจริญและผลิตกรดและมีเพียง 7 สายพันธุ์ ที่สามารถผลิตกรดมะนาวได้ในอาหารที่มีนอร์มัล พาราฟฟินส์เป็นแหล่งของคาร์บอน นอกจากนี้ยังพบว่า Candida oleophila C-73 เป็นส่ายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตกรดมะนาวสูงสุดเท่ากับ 29.5 กรัม/ลิตร องค์ประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมเมื่อหมักด้วย Candida oleophila C-73 แล้วให้ผลผลิตกรดมะนาว 131.5 ก.ม/ลิตร นั้น ใช้นอร์มัล พาราฟฟินส์ชนิด Exxpar-451 ร้อยละ 10 (น้ำหนัก/ปริมาตร) เป็นแหล่งคาร์บอน แอมโมเนียมไนเตรตความเข้มข้นร้อยละ 0.2 (น้ำหนัก/ปริมาตร) เป็นแหล่งไนโตรเจน และโปตัสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต และแมกเนเซียมซัลเฟตเฮปตาไฮเดรตความ เข้มข้นร้อยละ 0.01 และ 0.05 (น้ำหนัก/ปริมาตร) ตามลำดับ และเสริมด้วยแมงกานีสซัลเฟตโมโนไฮเดรตร้อยละ 0.02 (น้ำหนัก/ปริมาตร) สารสกัดจากยีสต์ร้อยละ 0.1 (น้ำหนัก/ปริมาตร) และแคลเซียมคาร์บอนเนตร้อยละ 10 (น้ำหนัก/ปริมาตร) เป็นสารควบคุมค่าความเป็นกรดด่างในการหมักเติมสารแยกการควบคู่คือ 2,4 -ไดไนโตรพีนอล ความเข้มข้นร้อยละ 0.001 (น้ำหนัก/ปริมาตร) หลังการหมักนาน 24ชั่วโมง โดยใช้สภาวะที่เหมาะสมในการหมัก คือที่อุณหภูมิ 25°ซ. เขย่าให้อากาศแบบวงกลมด้วยความเร็ว 300 รอบ/นาที ใช้เวลาในการหมักเพื่อให้ได้ผลผลิตกรดมะนาวสูงสุดนาน 6 วัน
Other Abstract: Twenty five strains of yeasts were screened. It was found that 16 strains of yeasts could grow and produce acids. Only 7 strains could ; produce citric acid by utilizing n-paraffin as a carbon source. Candida ; oleophila C-73 gave the highest yield of citric acid (29.5 g/1) in n-paraffin containing medium. The optimal compositions of production medium for citric acid fermentation by Candida oleophila C-73 contained 10% (w/v) n-paraffin (Exxpar-451), as a sole carbon source, and 0.2% (w/v) anmonium nitrate as a nitrogen source. The other important compositions were 0.01% (w/v) potassium dihydrogen phosphate, 0.05% (w/v) magnesium sulfate heptahydrate, 0.02% (w/v) manganese sulfate monohydrate, 0.1% (w/v) yeast extract and 10% (w/v) calcium carbonate. The optimal condition for citric acid production was carried out aerobically by rotary shaken at 300 rpm, 25๐c with the addition of 0.001% (w/v) 2, 4-dinitrophenol after cultivation for 24 hours. The highest citric acid production (131.5 g/1) was obtained after 6 days of cultivation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28308
ISBN: 9745816264
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lawadee_le_front.pdf6.73 MBAdobe PDFView/Open
Lawadee_le_ch1.pdf12 MBAdobe PDFView/Open
Lawadee_le_ch2.pdf6.1 MBAdobe PDFView/Open
Lawadee_le_ch3.pdf26.71 MBAdobe PDFView/Open
Lawadee_le_ch4.pdf9.33 MBAdobe PDFView/Open
Lawadee_le_back.pdf9.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.