Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2831
Title: ผลกึ่งเรื้อรังของสารสกัดเมล็ดสะเดาไทย Azadirachta indica var. siamensis Valeton ต่อตับและเลือดของกบนา Hoplobatrachus rugulosus Weighmann, 1835
Other Titles: Subchronic effects of Thai neem Azadirachta indica var. siamensis Valeton seed extract on liver and blood of tiger frog Hoplobatrachus rugulosus Weighmann, 1835
Authors: พัชราณี ฟักทองพรรณ, 2504-
Advisors: พัชนี สิงห์อาษา
กิ่งแก้ว วัฒนเสริมกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Patchanee.S@Chula.ac.th
Kingkaew.W@Chula.ac.th
Subjects: พิษวิทยา
กบนา
สะเดา (พืช)
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารAzadirachtinจากเมล็ดสะเดามีผลกระทบต่อแมลง ปลา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือศึกษาผลกึ่งเรื้อรังของสารสกัดเมล็ดสะเดาไทยหรือ สะเดาไทย 111 ที่มีต่อตับและเลือดของกบนา เริ่มจากนำลูกอ๊อดกบนาอายุ 2 สัปดาห์มาทดลองหาค่าความเป็นพิษเฉียบพลันที่ 96 ชั่วโมง โดยใช้วิธี static bioassay ได้ค่า 298.26 ppm. แล้วคำนวณหาความเข้มข้นที่จะใช้ศึกษาผลกึ่งเรื้อรังของสารสกัดเมล็ดสะเดาไทยเป็นเวลา 18 สัปดาห์ ได้เท่ากับ 49.66 ppm. ทุก 4 สัปดาห์จะทำการสุ่มตัวอย่างกบจำนวน 30 ตัว เพื่อศึกษาน้ำหนักตับ การเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อตับ และองค์ประกอบของเลือด รวมทั้งระดับเอนไซม์ SGOT , SGPT ผลการศึกษาพบว่ามีการเพิ่มของ % Relative liver weight (p< 0.05) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของตับ คือ เยื่อหุ้มตับหนาและอักเสบ มีการขยายตัวของช่องไซนูซอยด์ที่มีเลือดคั่งภายใน พบเซลล์ตับที่มีนิวเคลียสผิดปกติ และมีการตายของเซลล์ตับ ความเป็นพิษที่เกิดกับตับแสดงด้วยระดับเอนไซม์ SGOT และ SGPT ที่เพิ่มสูงขึ้น (p< 0.05) ส่วนผลการศึกษาเลือดพบว่ามีการเพิ่มของจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด จำนวนเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน และ ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่นนอกจากนี้จำนวนเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดยังแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุปได้ว่าสารสกัดเมล็ดสะเดาไทยมีผลกึ่งเรื้อรังต่อตับและเลือดของกบนาโดยความรุนแรงแปรตามระยะเวลาที่ได้รับสาร
Other Abstract: Azadirachtin from Neem seed has adverse effects on insects, fish and mammals. Aim of this study was to observe the subchronic effects of Thai Neem (Azadirachta indica var.siamensis) seed extract "Sadao-thai 111" on liver and blood of Tiger frog (Hoplobatrachus rugulosus) .The experiment was conducted on 2 weeks old Tiger frogs to determine the median of lethal concentration(96-hr LC[subscript 50]) for acute toxicity using static bioassay. The 298.26 ppm of LC[subscript 50] of the extract and the calculated 49.66 ppm. of sublethal concentration were used to treat the Tiger frogs for 18 weeks for subchronic toxicity test. The frogs were randomly selected (n=30) every 4 weeks to study liver weight, histological changes of liver tissue, blood parameters, SGOT and SGPT levels. The result showed that there was increment of the percentage relative liver weight (p< 0.05) with histological changes of liver tissue comprising the thickening of capsules, white blood cell infiltration, sinusoid dilatation and blood congestion, hemorrhages, cell with abnormal nucleus and cell necrosis. Hepatotoxicity was also presented by the increase of SGOT and SGPT levels (p<0.05). The increase in number of total leucocyte, red blood cells,hemoglobin and %hematocrit (p<0.05) was observed. Furthermore, the number of lymphocyte, monocyte, neutrophil, basophil and eosinophil were different from those of controls (p<0.05). In conclusion, Thai Neem seed extract caused time-dependent subchronic toxicity effects, on liver and blood of Tiger frogs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2831
ISBN: 9740308031
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PachraneeFag.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.