Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28338
Title: การพัฒนาและประเมินคุณค่าของเดตานัสท็อกซอยด์ไมโครแคปซูล
Other Titles: Development and evaluation of tetanus toxoid microcapsules
Authors: เรืองชัย พิทักษ์อัศวกุล
Advisors: อุบลทิพย์ นิมมานนิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ได้นำเทคนิคการทำไมโครแคปซูลมาใช้เตตานัสท็อกซอยด์ที่ออกฤทธิ์ได้นานและลดจำนวนครั้งในการให้ภูมิคุ้มกันปฐมภูมิ ให้เหลือเพียงครั้งเดียว โดยใช้เตตานัสท็อกซอยด์ซึ่งเป็นยาฉีดแขวนตะกอนมาเตรียมเป็นไมโครแคปซูลโดยวิธีโคอาเซอร์เวชั่น เปรียบเทียบกับวิธีอินเตอร์เฟเชียลโพลิเมอร์โรเซชั่น เตตานัสท็อกซอยด์ไมโครแคปซูลที่ได้จากการเตรียมโดยวิธีโคอาเซอร์เวชั่นนั้นใช้เอทิลเซลลูโลสเป็นผนังของไมโครแคปซูล ไมโครแคปซูลที่ได้มีขนาดอนุภาคโดยเฉลี่ย 24.99 ไมครอน ส่วนเตตานัสท็อกซอยด์ไมโครแคปซูลที่เตรียมได้จากวิธีอินเตอร์เฟเชียลโพลิเมอร์โรเซชั่นนั้น ได้จากปฏิกริยา โพลิเมอร์โรเซชั่นระหว่างเลซิทินบริสุทธิ์จากไข่แดงและคาร์บอกซีเมทิลไคทิน ไมโครแคปซูลที่ได้มีอนุภาคโดยเฉลี่ย 2.69 ไมครอนซึ่งเล็กกว่าขนาดของเตตานัสท็อกซอยด์ไมโครแคปซูลที่เตรียมได้จากวิธีโคอาเซอร์เวชั่น ในการวิจัยนี้ได้กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคบาดทะยักในหนูถีบจักร โดยฉีดเตตานัสท็อกซอยด์ เข้าใต้ผิวหนัง และเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างแอดสอร์บเตตานัสท็อกซอยด์ (I) ส่วนผสมของเตตานัสท็อกซอยด์ไมโครแคปซูลกับแอดสอร์บเตตานัสท็อกซอยด์ (II) และเตตานัสท็อกซอยด์ไมโครแคปซูลเพียงอย่างเดียว ( III) พบว่า (I) สามารถป้องกันบาดทะยัดในหนูถีบจักรได้เพียงสัปดาห์ที่ 4 หลังการให้ท็อกซอยด์แต่เมื่อสัปดาห์ที่ 12 สามารถป้องกันได้เพียงร้อยละ 50 ( อัตราการตาย 5 ใน 10 ตัว) ส่วน ( II) สามารถป้องกันบาดทะยักในหนูถีบจักรได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 จนถึงที่ 12 สำหรับ ( III) นั้นไม่สามารถป้องกันบาดทะยักได้ไม่ว่าสัปดาห์ที่ 4 หรือ 12
Other Abstract: In this study, microencapsulation technique was developed in attempt to produce long-acting tetanus toxoid and decrease the course of primary immunization to single dose. Parenteral suspension of adsorbed tetanus toxoid was microencapsulated by coacervation techniques compared with interfacial polymerization techniques. In the coacervation technique the tetanus toxoid microcapsules were prepared by using ethyl cellulose as wall material. The mean diameter of particle size was 24.99 microns. The tetanus toxoid microcapsules obtained from interfacial polymerization techniques using the polymerization reaction between purified egg yolk lecithin and carboxymethyl chitin, showed the mean diameter of particle size of 2.69 microns which were smaller than that obtained from the coacervation techniques. In this study the efficiencies of various tetanus toxoid i.e. the absorbed tetanus toxoid (I) , the mixture of tetanus toxoid microcapsules and the adsorbed tetanus toxoid (ratio 1:1) (II), and the tetanus toxoid microcapsules alone (III), were compared by subcutaneous injection for inducing the immune against tetanus in mice. It was found that (I) can protect the mice against tetanus from the fourth week after immunization. Only 50% of mice were protected in the twelfth week after immunization. On the other hand, (II) can protect the mice against tetanus for the whole period from the fourth to the twelfth week after immunization. But (III) cannot protect the mice even in the fourth week and thereafter.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28338
ISBN: 9745692743
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruengchai_pi_front.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_pi_ch1.pdf14.37 MBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_pi_ch2.pdf6.56 MBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_pi_ch3.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_pi_ch4.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_pi_ch5.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_pi_back.pdf7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.