Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28595
Title: ผลของการใช้กิจกรรมการแนะแนวกลุ่มที่มีต่อการพัฒนาการสื่อสาร ระหว่างบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: Effects of group guidance activities on interpersonal communication development of mathayom soksa four students
Authors: ศุภลักษณ์ สัตย์เพริศพราย
Advisors: วัชรี ทรัพย์มี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลของกิจกรรมการแนะแนวกลุ่มที่มีต่อการ พัฒนาการสื่อสารระหว่างบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 96 คน จากโรงเรียนเทพศิรินทร์สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 48 คน โดยการสุ่มจากนักเรียนทั้งหมด 12 ห้องเรียน ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย ดำเนินกิจกรรมการแนะแนวกลุ่ม ตามเนื้อหาที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นกับกลุ่มทดลอง 15 คาบ เป็นเวลา 15 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้ดำเนินการตามที่ฝ่ายแนะแนวของโรงเรียนจัดขึ้นเป็นระยะ เวลาเท่ากับ โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยสลับกันเข้าดำเนินการทั้ง 2 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยคือ แบบสำรวจการสื่อสารระหว่างบุคคลของ ดร.มิลลาด เจ เบียงเวอนู ซึ่งแปล และเรียบเรียงโดยผู้วิจัย ใช้การวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนและหลังการทดลอง - (Pretest - Postest Control Group Design) ผู้วิจัยทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยในครั้งทดสอบก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมโดยการทดสอบ ค่าที (t - test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการแนะแนวกลุ่ม มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร ระหว่างบุคคลสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการแนะแนวกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการแนะแนวกลุ่ม มีประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างบุคคลสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการแนะแนวกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the effects of group guidance activities on interpersonal communication development of mathayom suksa four students. The Sample included 2 classrooms (96 students) randomly selected from 12 classrooms (576 students) of Depsirin School. The subjects were divided into two groups : the experimental group where the subjects participated in group guidance activities conducted by the researcher and a research assistant for 15 sessions over a period of 15 weeks, and the control group where the subjects attended the regular school guidance program conducted by the researcher and a research assistant. The instrument used for this research was "The Interpersonal Communication Inventory" of Millard J. Bienvenu translated by the researcher- The pretest- posttest control group design was used. The t-test was utilized for data analysis. Results indicated that 1. The students who participated in group guidance activities showed a significant increase of effective interpersonal communication (p < .01). 2. The students who participated in group guidance activities showed a greater increase of effective interpersonal communication than the students in the control group (p < .01).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28595
ISBN: 9745771333
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaluk_sa_front.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open
Supaluk_sa_ch1.pdf15.66 MBAdobe PDFView/Open
Supaluk_sa_ch2.pdf5.41 MBAdobe PDFView/Open
Supaluk_sa_ch3.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Supaluk_sa_ch4.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open
Supaluk_sa_ch5.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Supaluk_sa_back.pdf35.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.