Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28799
Title: บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีในการเมืองไทยปี 2531-2534
Other Titles: The sole of woman members of the parliament in Thai palitics, 1989-1991
Authors: เศวตฉัตร สุวรรณรัตน์
Advisors: กนก วงษ์ตระหง่าน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะหาข้อสรุปทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนการเข้าสู่บทบาททางการเมืองและการแสดงบทบาททางการเมืองของสตรีไทย วิธีการศึกษาที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้อาศัยวิธีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีที่ได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 ซึ่งเป็นประชากรในการวิจัยจำนวน 8 คน และใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลประมาณ 8 เดือน คือตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2534 - 28 พฤศจิกายน 2534 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการเข้าสู่บทบาททางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีนั้นมีปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง 5 ประการตามลำดับความสำคัญดังนี้ 1) คุณสมบัติส่วนตัวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรี (อายุ อาชีพ การศึกษา สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ) 2) การให้ความช่วยเหลือแก่ท้องถิ่นและประชาชนในเขตเลือกตั้ง (เงิน วัสดุ อุปกรณ์ และอื่นๆ) 3) นโยบายและชื่อเสียงของพรรคการเมือง 4) อิทธิพลของบิดา พี่หรือญาติ และ 5) อิทธิพลบารมีของหัวหน้าพรรคหรือแกนนำของพรรค ปัจจัยสำคัญดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การเลือกตั้งกลายเป็นปัจจัยกำหนด ลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรี เพราะฉะนั้นภายหลังเมื่อ ส.ส.สตรีได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนแล้วจึงมีเงื่อนไขและความจำเป็นในการที่จะต้องสนองตอบความต้องการของประชาชน ผู้เลือกตั้ง ดังนั้นการแสดงบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีส่วนใหญ่จะคำนึงถึงบทบาทนอกสภามากกว่าบทบาทในสภา โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างความพอใจให้กับประชาชนในเขตเลือกตั้งของตน ทั้งนี้ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อประชาชนได้รับความพอใจต่อการทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนของตน ก็จะนำไปสู่การสนับสนุนให้ได้รับชัยชนะอีกในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ท้ายที่สุดการวิจัยนี้ได้ให้เห็นว่า เพศมิได้ เป็นอุปสรรคต่อการแสดงบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรี
Other Abstract: This research has a purpose to generalize the activity of woman members of the parliament in Thai politics and entering to the Thai parliament. The study method has been interviewing the woman members of the parliament who were elected on 24 July 1989. In this research have the population of 8 persons and the researcher collected data during 8 months that is from 26 April - 28 November 1991. The results of this research found that there are 5 methods for women to be elected to the Thai parliament respectively 1) Qualification (age, career, education, social and economic status) 2) Giving helps to people and provincial (money, material and etc.) 3) Policy and good will of political party 4) The influence of her father and relatives 5) The influence of political party leader and saffer. In all respects show that the election was determination of the activity of the woman members of the parliament in Thai politics. After show was elected as a member of the parliament, she has all practical purpose and desirability of people. The activity of the woman member of the parliament is to look after the people and provincial more than activities in the parliament. If the people have hopefullness, they will elect her to the parliament in next term. Finally, the research approved that sex is not defective for the woman members of the parliament.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28799
ISBN: 9745813273
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Swetchat_su_front.pdf8.7 MBAdobe PDFView/Open
Swetchat_su_ch1.pdf12.9 MBAdobe PDFView/Open
Swetchat_su_ch2.pdf31.5 MBAdobe PDFView/Open
Swetchat_su_ch3.pdf45.64 MBAdobe PDFView/Open
Swetchat_su_ch4.pdf28.88 MBAdobe PDFView/Open
Swetchat_su_ch5.pdf7.24 MBAdobe PDFView/Open
Swetchat_su_back.pdf12.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.