Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29397
Title: องค์ประกอบของขากรรไกรล่างที่สัมพันธ์กับการขึ้น ของฟันกรามล่างซี่สุดท้าย
Other Titles: Relationship between mandibular components and lower third molar eruption
Authors: พัฒนทวิ ตรีเพชร์
Advisors: วัฒนะ มธุราลัย
อำรุง จันทวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของขากรรไกรล่างกับการขึ้นของฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ตลอดจนเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบของขากรรไกรล่างซึ่งมีฟันกรามล่างซี่สุดท้ายขึ้นได้ปกติและขึ้นไม่ได้ตามปกติ (ฟันคุด) รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศขององค์ประกอบดังกล่าว ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้จะนำมาใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัย วางแผนบำบัดรักษาทางทันตกรรม และเป็นพื้นฐาน แนวทางเบื้องต้นในการศึกษาวิจัยต่อไป วิธีดำเนินการวิจัย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จากนักเรียนพยาบาลกรมแพทย์ทหารเรือ นิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ และผู้มาตรวจรักษา ณ กองทันตกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย 60 คน เพศหญิง 60 คน อายุ 20 ปีขึ้นไป จากภาพถ่ายรังสีเอกซ์ด้านข้างของกะโหลกศรีษะ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนที่ระดับนัยสำคัญ .01 สรุปผลการวิจัย ดังต่อไปนี้ 1. องค์ประกอบของขากรรไกรล่างที่สัมพันธ์กับการขึ้นของฟันกรามล่างซี่สุดท้ายที่ระดับนัยสำคัญ .01 พบว่า ก. ตัวแปร Xi-D₇, Abr-D₇, Mp-LA₈, MP-OS₈, LA₈-L, Abr-D₇/MD₈ x 100, Xi-D₇/Ar-Pog x 100, Xi-D₇/Postp-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Me x 100 มีความสัมพันธ์ทั้งในเพศชายและหญิง ข. เพศชาย ได้แก่ตัวแปร Xi-D₇, Abr-D₇, MD₈, Mp-LA₈, MP-LA₁, MP-OS₈, LA₈-L, Abr-D₇/MD₈ x 100, Xi-D₇/Ar-Pog x 100, Xi-D₇/Postp-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Me x 100, MD₈/Go-Me x 100, MD₈/Postp-Pog x 100, MD₈/Go-Pog x 100 ค. เพศหญิง ได้แก่ตัวแปร Ar-Pog, Postp-Pog, Go-Pog, Go-Me, Xi-D₇, Abr-D₇, MP-LA₈, MP-OP, MP-OS₈, LA₈-L, Abr-D₇/MD₈ x 100, Xi-D₇/Ar-Pog x 100, Xi-D₇/Postp-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Me x 100 เพื่อป้องกันปัญหาการอธิบายซ้ำซ้อนของตัวแปรอิสระ พิจารณาเลือกตัวแปรเพื่อเป็นตัวแทนขององค์ประกอบขากรรไกรล่างที่มีความสัมพันธ์กับการขึ้นของฟันกรามล่างซี่สุดท้ายได้ดังต่อไปนี้ เพศชาย 1. องค์ประกอบของขากรรไกรล่างที่วัดเป็นระยะ ได้แก่ ตัวแปร MD₈ 2. องค์ประกอบของขากรรไกรล่างที่วัดเป็นมุม ได้แก่ ตัวแปร LA₈-L 3. องค์ประกอบของขากรรไกรล่างที่วัดเป็นสัดส่วน ได้แก่ ตัวแปร MD₈/(Go-Pog) x 100 เพศหญิง 1. องค์ประกอบของขากรรไกรล่างที่วัดเป็นระยะ ได้แก่ ตัวแปร Abr-D₇ 2. องค์ประกอบของขากรรไกรล่างที่วัดเป็นมุม ได้แก่ ตัวแปร MP - OS₈ 3. องค์ประกอบของขากรรไกรล่างที่วัดเป็นสัดส่วน ได้แก่ ตัวแปร Abr-D₇/MD₈ x 100 2. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบของขากรรไกรล่างซึ่งมีฟันกรามล่างซี่สุดท้ายขึ้นได้ปกติและเป็นฟันคุด ที่ระดับนัยสำคัญ .01 พบว่าตัวแปรที่มีความแตกต่างดังกล่าวได้แก่ Ar-Pog, Postp-Pog, Go-Pog, Go-Me, Xi-D₇, Abr-D₇, Mp-LA₈, MP-OS₈, LA₈-L, Abr-D₇/MD₈ x 100, Xi-D₇/Ar-Pog x 100, Xi-D₇/Postp-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Me x 100, MD₈/Go-Me x 100, MD₈/Postp-Pog x 100, MD₈/Go-Pog x 100 3. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศขององค์ประกอบขากรรไกรล่างที่มีฟันดังกล่าว ที่ระดับนัยสำคัญ .01 พบว่าตัวแปรที่มีความแตกต่างนี้ ได้แก่ Ar-Pog, Post-Pog, Go-Pog, Go-Me, MD₈/Go-Me x 100, MD₈/Postp-Pog x 100, MD₈/Go-Pog x 100
Other Abstract: Purpose of the study In order to study the relationship between mandibular components and lower third molar eruption, comparison both of the significant difference between mandibular components with normal erupted tooth and mandibular components with impacted tooth, and the significant difference between sex at the .01 level. The knowledge from this research would benefit for diagnostic, treatment planning in dentistry and to be the basis for further research. Method of the study The sixty Thai males and the sixty Thai females, above 20 years old, were selected by the purposive random sampling. It was derived from those students of the Naval Nursing School, the School of Dentistry and the patients from the Naval Hospital and the School of Dentistry of Chulalongkorn University. The lateral cephalgrams were studied and the data were analysed utilizing the correlation coefficient and analysis of variance at the.01 significant level. Research results : From this study were summarized as follows : 1. The mandibular components that correlated to lower third molar eruption at the .01 level were : a. Variables : Xi-D₇, Abr-D₇, Mp-LA₈, MP-OS₈, LA₈-L, Abr-D₇/MD₈ x 100, Xi-D₇/Ar-Pog x 100, Xi-D₇/Postp-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Me x 100 for both sexes. b. Variables :: Xi-D₇, Abr-D₇, MD₈, Mp-LA₈, MP-LA₁, MP-OS₈, LA₈-L, Abr-D₇/MD₈ x 100, Xi-D₇/Ar-Pog x 100, Xi-D₇/Postp-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Me x 100, MD₈/Go-Me x 100, MD₈/Postp-Pog x 100, MD₈/Go-Pog x 100 c. Variables : Ar-Pog, Postp-Pog, Go-Pog, Go-Me, Xi-D₇, Abr-D₇, MP-LA₈, MP-OP, MP-OS₈, LA₈-L, Abr-D₇/MD₈ x 100, Xi-D₇/Ar-Pog x 100, Xi-D₇/Postp-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Me x 100 for females. In order to prevent multicollinearity problem of independent variables, the representative variables for all of the mandibular components which had relationship to lower third molar eruption were selected as follows : Males 1. Mandibualr component which measured in linear dimension was MD₈. 2. Mandibular component which measured in angular dimension was LA₈-L. 3. Mandibular component which measured in ratio was MD₈/Go-Pog x 100 Females 1. Mandibular component which measured in linear dimension was Abr-D₇. 2. Mandibular component which measured in angular dimension was MP-OS₈. 3. Mandibular component which measured in ratio was Abr-D₇/MD₈ x 100. 2. Comparing the significant difference between mandibular components with normal erupted tooth and mandibular components with impacted tooth at the .01 level, variables that had significant difference were Ar-Pog, Postp-Pog, Go-Pog, Go-Me, Xi-D₇, Abr-D₇, Mp-LA₈, MP-OS₈, LA₈-L, Abr-D₇/MD₈ x 100, Xi-D₇/Ar-Pog x 100, Xi-D₇/Postp-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Pog x 100, Xi-D₇/Go-Me x 100, MD₈/Go-Me x 100, MD₈/Postp-Pog x 100, MD₈/Go-Pog x 100 3. Comparing the significant difference between sexes in these independent variables at the .01 level, variables that had significant difference were Ar-Pog, Postp-Pog, Go-Pog, Go-Me, MD₈/Go-Me x 100, MD₈/Postp-Pog x 100, MD₈/Go-Pog x 100.
Description: วิทยานิพนธ์ (ท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ทันตแพทยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมจัดฟัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29397
ISBN: 9745620173
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattawi_tr_front.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open
Pattawi_tr_ch1.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Pattawi_tr_ch2.pdf27.9 MBAdobe PDFView/Open
Pattawi_tr_ch3.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Pattawi_tr_ch4.pdf10.04 MBAdobe PDFView/Open
Pattawi_tr_ch5.pdf6.64 MBAdobe PDFView/Open
Pattawi_tr_back.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.