Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29406
Title: การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ในการปรับปรุงระบบระบายน้ำในเมือง
Other Titles: Application of mathematical model in urban drainage system improvement
Authors: พิสิฐ ศรีวรานันท์
Advisors: สุจริต คูณธนกุลวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอสำหรับพื้นที่ในเขตเมือง โดยเฉพาะตัวเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบใกล้ริมแม่น้ำ ซึ่งมีความลาดชันของพื้นที่น้อย ปัญหานี้จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นตามการพัฒนาของเมือง ระบบระบายน้ำจึงเปลี่ยนจากระบบง่าย ๆ ไปสู่ระบบที่มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีการประมวลขบวนการทางอุทกวิทยาและชลศาสตร์ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ พัฒนาเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWMM (RUNOFF Block และ EXTRAN Block) มาเป็นเครื่องมือช่วยทางด้านเทคนิค โดยใช้พื้นที่ศึกษาภายในเขตการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันออก บริเวณหอประชุมกลางและศูนย์สารนิเทศ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 90,927 ตารางเมตร และความลาดชันเฉลี่ยของท่อระบายน้ำ 1: 500 นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลภาคสนามคือ ข้อมูลฝน ค่าระดับน้ำ และวัดอัตราการไหล รวมทั้งทดลองหาค่าอัตราการซึมของพื้นที่รับน้ำด้วย ผลการเก็บข้อมูลภาคสนามได้นำมาวิเคราะห์หาคุณสมบัติของพื้นที่ทางด้านอุทกวิทยา พบว่าค่าสัมประสิทธิ์น้ำท่าได้ค่าตั้งแต่ 0.08-0.18 ที่ความเข้มฝนในช่วง 17.0-99.0 มม./ชม. และเวลาน้ำหลากสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 23.9 นาที ในการปรับเทียบแบบจำลอง ได้ทำการวิเคราะห์ความไวของค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ซึ่งพบว่าค่าความลึกเก็บกักจะมีผลต่อการปรับเทียบปริมาณน้ำท่ารวมมากที่สุด และพบว่าทั้งค่าความกว้างการไหลบ่าตามผิวและค่าสัมประสิทธิ์แมนนิ่งของท่อระบายน้ำ มีอิทธิพลมากต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำและอัตราการไหลออกสูงสุด และมีอิทธิพลมากกว่าค่าพารามิเตอร์ตัวอื่น ๆ ค่าพารามิเตอร์ที่ปรับเทียบได้มีดังนี้ ค่าความลึกเก็บกักตามผิวของพื้นที่ทึบน้ำเท่ากับ 34.0 มม. ของพื้นที่ซึมน้ำเท่ากับ 37.0 มม. ค่าสัมประสิทธิ์แมนนิ่งพื้นที่ทึบน้ำเท่ากับ 0.050 ของพื้นที่ซึมน้ำเท่ากับ 0.300 และได้ค่าสัมประสิทธิ์แมนนิ่งของท่อ/รางระบายน้ำ เท่ากับ 0.038 การประยุกต์ใช้แบบจำลองในการประเมินและออกแบบปรับปรุงระบบระบายน้ำ ได้ใช้ฝนออกแบบที่คาบการกลับ 2 และ 5 ปี ช่วงเวลา 2 ชั่วโมง และเสนอแนวทางปรับปรุงเผื่อเลือกที่เป็นไปได้ไว้ 3 แนวทาง คือ (1) การใช้สระเก็บกักน้ำภายในพื้นที่อย่างเดียว (2) การใช้สระเก็บกักน้ำ และเชื่อมท่อ (3) การใช้สระเก็บกักน้ำ, เชื่อมท่อให้มากขึ้น และเพิ่มขนาดท่อ/รางระบายน้ำ และพบว่าทางเลือกที่ 3 เป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดและสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ทั้งหมด นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังได้สรุปประเด็นปัญหาการประยุกต์ใช้แบบจำลองไว้ด้วย
Other Abstract: Flood is one of the most important social problem which usually occurs in the urban area, especially in the city located in the low lying plain near the river. Flood problem becomes more severe with the urbanization of city. The simple drainage system in the city then gradually changed to be a more complicated one. The simulation of hydrologic and hydraulic processes by mathematical model becomes more necessary to tackle flood problem. In this study, SWMM (RUNOFF Block and EXTRAN Block) was applied as a tool to improve drainage scheme and the zone of Central Hall and Auditorium Hall in the east campus of Chulalongkorn University was selected as the study area with the total area of 90,927 sq.m. and average drainage channel slope of 1:500. Field data i.e. rainfall, water level and flow rate in the drainage channel and infiltration rate were collected to be a basic data for model calibration. From the field data investigation, hydrological characteristics of the study area were analysed. The runoff coefficient of the study area was found to be 0.08-0.18 with the range of rainfall intensity of 17.0-99.0 mm/hr and average time of concentration was found to be 23.9 minutes. Sensitivity tests of each parameters in the model were conducted and it is found that the depression storage of the impervious and pervious land were the most sensitive parameters to the water balance. The characteristic width and Manning coefficient of the drainage channel were the most sensitive parameters to the change of water level and peak flow in the channel. The calibration results show that the depression storage and the Manning coefficient of the impervious and pervious land equal 34.0, 37.0 mm and 0.05, 0.30 respectively. The Manning coefficient of drainage channel was found to be 0.038. The drainage improvement scheme of the study area was considered by adopting 2 hours design storm with 2 and 5 years return period and three possible alternatives: (i) retention pond only (ii) retention pond and pipe linkage (iii) retention pond, pipe linkage and pipe size enlargement, were studied and the third alternative was found to be the most effective. The problems in model application to study drainage improvement scheme from the study were also summarized for future study.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29406
ISBN: 9745791644
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisith_sr_front.pdf7 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_sr_ch1.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_sr_ch2.pdf23.67 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_sr_ch3.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_sr_ch4.pdf16.53 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_sr_ch5.pdf12.72 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_sr_ch6.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_sr_back.pdf33.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.