Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29487
Title: การเพิ่มผลผลิตของเอนไซม์เพนนิซิลินเอซิเลส โดยการปรับปรุงพลาสมิดดีเอนเอ (pJR69)
Other Titles: Enhancement of the pennicillin acylase production VIA reconstruction of plasmid DNA (pJR69)
Authors: พัชรากร ทิพรังกร
Advisors: ไพเราะ ทิพยทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ การหาวิธีเพิ่มความสามารถของการสังเคราะห์เพนนิซิลินเอซีเลส จากแบคทีเรียสายพันธุ์ที่มีพลาสมิดดีเอนเอ pJR69 พลาสมิดดีเอนเอ pJR69 นี้มียีนเพนนิซิลิน เอซีเลสที่ตัดจาก Escherichia coli สายพันธุ์ ATCC 11105 ซึ่งสร้างขึ้นโดย นางสาวจรัญญา เงินประเสริฐดี ในปี 2528 ปัญหาที่เผชิญก็คือ การลดลงของแอคติวิตีของเพนนิซิลิน เอซีเลส ตามจำนวนครั้งของการถ่ายเชื้อที่เพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์นี้พบในเซลล์เจ้าเรือนทุกสายพันธุ์ไม่ว่าจะใช้สายพันธุ์ที่มีจีโนไทพ์อย่างไร แต่ความเสถียรของแอคติวิตีของเอนไซม์นี้พบ ในสายพันธุ์ที่เลือกจากทรานสฟอรแมนท์ที่มี พลาสมิดดีเอนเอที่สร้างขึ้นใหม่และให้ชื่อว่า pCR28 ซึ่งมีขนาดน้ำหนักโมเลกุล 5.5 กิโลเบส แต่อย่างไรก็ตาม แอคติวิตีสูงสุดของเพนนิซิลิน เอซีเลสที่พบในสายพันธุ์ดังกล่าวก็ยังมีค่าต่ำ ซึ่งเนื่องมาจากได้สูญเสียสมบัติการเพิ่มจำนวนพลาสมิดดีเอนเอไป ได้แก้ไขให้ความสามารถในการเพิ่มจำนวนชุดของพลาสมิดดีเอนเอกลับคืน โดยการตัดยีนเพนนิซีลีน เอซีเลสจากว่า pCR28 มาต่อเข้ากับพลาสมิดดีเอนเอของ pSY343 ซึ่งตัด เอายีนต้านยาคานามัยซีนออกแล้ว ผลที่ได้คือพลาสมิดดีเอนเอใหม่ที่ให้ชื่อว่า pCR29 ซึ่งมีขนาด 11.5 กิโลเบส หลังจากทรานสฟอร์มพลาสมิดดีเอนเอ pCR29 เข้าสู่เซลล์เจ้าเรือน E.coli BD817 แยกไดัทรานส์ฟอร์แมนท์ชุดหนึ่ง ซึ่งคัดเลือกตัวที่น่าสนใจตัวหนึ่งให้ชื่อว่า W21 เป็นตัวแทนการศึกษาจากการทดลองพบว่า แอคตีวิตีสูงสุดของเพนนิซิลิน เอซีเลส จากสายพันธุ์ W21 มีค่าเท่ากับ 500 นาโนโมล PABA ต่อนาทีมิลลิกรัมโปรตีน ซึ่งเป็นค่าสูงกว่า E.coli ATCC 11105 อยู่ 21 เท่า เมื่อเจริญในสภาวะเดียวกัน เนื่องจาก pCR29 ยังคงสมบัติของการเพิ่มจำนวนพลาสมิดดีเอนเอโดยการเพิ่มอุณหภูมิ จึงทำให้เป็นข้อได้เปรียบในการหาวิธีคัดสายพันธุ์ ซึ่งมีจำนวนพลาสมิดดีเอนเอสูงกว่าโดยหลักการ sibling จากการทดลองได้นำ W21 ผ่านกระบวนการ sibling 2 ครั้ง จึงแยกได้สายพันธุ์ที่ใช้ชื่อว่า X25 และ Y324 และทั้งสองสายพันธุ์นี้มีพลาสมิดดีเอนเอชนิดเดียวกัน แต่ทว่ามีความสามารถต้านยาเพนนิซิลินจีระดับต่างกัน ค่าแอคตีวิตีสูงสุดที่พบในเซลล์ X25 และ Y324 มีค่าเท่ากับ 810 และ 1111 นาโนโมล PABA ต่อนาทีต่อมิลลิกรัมโปรตีนตามลำดับ น่าสังเกตว่าค่าแอคติวิตีสูงสุดที่พบใน Y324 มีค่าสูงถึง 48 เท่า เมื่อเทียบกับค่าที่วัดได้จากสายพันธุ์ E.coli ATCC 11105 ในสภาวะเดียวกัน พบว่าการเติมพีนิลอะซีติก เอซิด (PAA) 0.02% และ MgCl2 1 mM ลงในอาหารอุดม นั้นก็เป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการชักนำทางพันธุกรรม และทำให้แอคติวิตีสูงสุดของเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซีเลส เพิ่มขึ้น 2 เท่า ในขณะที่การเจริญสูงสุดยังมีค่าไม่ต่างจากก่อนเติมสารดังกล่าว นอกจากนั้นเซลล์ที่ผ่าน starve ในสภาวะที่เหมาะสมอย่างน้อย 4 ชั่วโมง จะพบแอคติวิตีของ เพนนิซิลีน เอซีเลส เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่า เช่นกัน ประการสุดท้าย ในการเพิ่มแอคตีวิตีของเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซีเลส ต่อจำนวนเซลล์ทั้งหมด สามารถทำได้โดย การปรับความขุ่นของคัลเจอร์ หลังเปลี่ยนอุณหภูมิจาก 30 ◦ซ เป็น 37 ◦ ซ ให้ได้ประมาณ 400 KU ก่อนจะเปลี่ยนอุณหภูมิการเจริญกลับมาที่ 30 ◦ซ จะสามารถทำให้ความขุ่นสูงสุด เพิ่มขึ้นจาก 425 KU เป็น 600 KU ทำให้แอคตีวิตีของเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซีเลส ทั้งหมดเพิ่มขึ้นตามความขุ่นที่เพิ่มขึ้นนี้
Other Abstract: The aim of this research was to establish the enhancement of penicillin acylase biosynthesis from the strain of Escherichia coli K12 harboring the plasmid DNA called pJR29. This pJR29 possessed penicillin acylase gene which was tailored from Escherichia coli ATCC 11105 by Miss Jaranya Ngemprasirtsiri in 1985. The first confronted problem was the declination in the activity of penicillin acylase in accordance with the increment of the subculturing number. This event was found in any strain of E.coli which harbored pJR29 , regardless of the original genotype, Reconciliation of the enzymic activity was found in a strain screened from transformants harboring the new constructed plasmid DNA, called pCR28. The average molecular size of pCR28 was 5.5 Kb. However, it gave low maximal activity of penicillin acylase which may be due to the loss of the amplification property. Recurrent of the amplification property was succeeded by joining penicillin acylase gene fragment tailored from pCR28 with the large fragment of DNA prepared from pSY343 in which, the Kanamycin resistance gene was previously cut. This new constructed plasmid was named pCR28 which later was identified as a Kb plasmid DNA. Transformation of pJR29 into E.coli BD817 rendered a group of new transformants, from which one strain so-called W21 was selected to study the role of pJR29 plasmid DNA towards the production of the penicillin acylase. The W21 strain gave a maximal activity of value was 21 folds higher than that obtained from the original strain ATCC 11105 when compared under an identical condition.Due to the presence of the runaway replication resided in pJR29 plasmid DNA, it, therefore, offered an advantage to a screening method designed based on the principle of a sibling selection for a strain of higher copy plasmid number. After two successive sibling selections, strains so called X25 and Y324 were isolated and identified as strains having the same type of plasmid but of different levels of penicillin G resistance. The maximal activities of penicillin acylase detected from strains X25 and Y324 were 810 and 1111 nmole PABA per min. per mg. protein, respectively. The highest activity found in Y324 was 48 folds higher than that from the ATCC 11105 when compared under an identical condition. In addition, a supplementation of 0.02% Phenyl acetic acid (PAA) plus 1 mM MgCl2 into the LB medium resulted in an induction and the two-fold increase in the activity of penicillin acylase. Furthermore, when the cells were starved under an appropiate condition for a duration of 4 hours, the enzyme production was found increase to 2 folds. Finally, means to enhance the total activity of pennicilin acylase was established that concentrating cell turbidity after amplification to a total of 400 KU prior to shifting temperature from 37°c. to 30°c. provided a maximal turbidity of 600 KU whereas the maximal activity of the enzyme was detected in cells grown under that heavy turbidity was still maintained at a high value.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29487
ISBN: 9745681466
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pachrakorn_ti_front.pdf8.92 MBAdobe PDFView/Open
Pachrakorn_ti_ch1.pdf7.73 MBAdobe PDFView/Open
Pachrakorn_ti_ch2.pdf10.54 MBAdobe PDFView/Open
Pachrakorn_ti_ch3.pdf18.41 MBAdobe PDFView/Open
Pachrakorn_ti_ch4.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open
Pachrakorn_ti_back.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.