Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29611
Title: การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินสมรรถนะของผู้จัดการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน
Other Titles: Development and psychometric validation of nurse manager competency scale, private hospital
Authors: จารุวรรณ ธานี
Advisors: บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: sboonjai@chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาล -- การบริหารงานบุคคล
ลูกจ้าง -- การประเมิน
หัวหน้าพยาบาล -- การทดสอบความสามารถ
หัวหน้าพยาบาล -- การประเมิน
ความสามารถหลักของธุรกิจ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะของผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ ผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 310 คน ผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 15 คน ผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนจำนวน 15 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 15 คน เครื่องมือวิจัยมี 3 ชุด ชุดที่ 1 เป็นแบบการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะที่จำเป็นของผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน ชุดที่ 2 และ 3 เป็นแบบสอบถามสมรรถนะของผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนี CVI ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธ์แอลฟา ครอนบาค ตรวจสอบความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) โดยวิธีวิเคราะห์ตัวประกอบ ด้วยวิธีตัวประกอบหลัก หมุนแกนแบบออโธโกนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ นำสมรรถนะที่ได้ไปสร้างแบบประเมินสมรรถนะของผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน นำแบบประเมินไปประเมินสมรรถนะของผู้จัดการพยาบาล เพื่อตรวจสอบความเที่ยงของการของการประเมิน (Inter-rater reliability) ระหว่างผู้ประเมิน 3 กลุ่มโดยใช้สถิติ Intraclass Correlation และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมิน โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะของผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน ประกอบด้วย 6 ตัวประกอบหลัก มีจำนวนข้อรายการสมรรถนะย่อย 46 รายการ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 72.898 ประกอบด้วยตัวประกอบสมรรถนะ ดังนี้ 1) ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ 2) ด้านความฉลาดทางอารมณ์ 3) ด้านการติดต่อสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 4) ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 5) การพัฒนาบุคลากรพยาบาลที่มีศักยภาพสูง และ 6) ด้านการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 2. คุณภาพแบบประเมินที่สร้างมีค่าดัชนีตรงตามเนื้อหา (CVI) .80 ค่าสัมประสิทธ์ความเที่ยง(α) = .98 ค่าเฉลี่ย = 4.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) = .40 และการประเมินสมรรถนะของผู้จัดการพยาบาล ระหว่างผู้จัดการพยาบาลประเมินตนเอง ประเมินโดยผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล และประเมินโดยพยาบาลวิชาชีพ พบว่า ICC = .89 ผลการตรวจคุณภาพแบบประเมินสามารถสรุปได้ว่าแบบประเมินสมรรถนะของผู้จัดการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานครมีความตรงตามโครงสร้าง และมีความเที่ยง สามารถนำไปใช้ประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน
Other Abstract: Objectives: This paper described the development and psychometric testing of nurse manager competency scale. Sample: The multi-stage random sampling was used for 3 groups of participants, Nurse managers (n=310) Directors of nursing (n=15), nurse managers (n=15) and nurses (n=15) Instruments: 3 questionnaires were developed for this study. The first questionnaire was used to indicate competency of nurse manager from expert groups. A Likert scale of 1-5 was added to list in the second and third questionnaires. Method: The instruments tested for content validity and reliability by Cronbach’s alpha coefficients. Psychometric validation of nurse manager competency scale included: construct validity, inter-rater reliability and internal consistency. Construct validity using Principal Components Extraction and Orthogonal Rotation with Varimax Method. Inter rater reliability (evaluators were director of nursing, nurse managers and registered nurses) were analyzed by Intraclass Correlation. Internal consistency using Cronbach’s Alpha Coefficient. Research findings were as follows: 1. The variation of performance appraisal from can be explained 72.898% from the change in six component consecutively; 1) Strategic planning 2) Emotional intelligence 3) Communication and interpersonal skill 4) Human resource management 5) Talent Development and 6) Information technology. 2. The CVI = .80, α = .98, X bar =.404, SD = .40 and ICC = .89 The model can represent a correlation between the appraisal by oneself, Directors and subordinates Conclusion: The research findings provide strong evidence of validity and reliability of the nurse manager scale
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29611
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1048
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1048
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jaruwan_th.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.