Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29676
Title: คิวเพลง
Other Titles: Payola
Authors: ยกจริง ปลดเปลื้อง
Advisors: ปนัดดา ธนสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ เกิดความเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของคิวเพลง ความเป็นมา และการดำเนินการ เกี่ยวกันคิวเพลง ตลอดจนอิทธิพลของค่ายเพลงที่มีต่อรายการเพลงการวิจัยครั้งนี้ใช้แนวทางการวิจัย เชิงคุณภาพ นำแนวคิดทางการส่งเสริมการจำหน่ายและ แนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์มาเป็นกรอบในการศึกษา โดย เก็บข้อมูลจาก เอกสารที่ เกี่ยวข้อง จากประสบการณ์ของผู้วิจัยเอง และจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการจัดคิวเพลงทางวิทยุ รวม 4 กลุ่ม ได้แก่ ค่ายเพลง บริษัทเจ้าของรายการเพลง ผู้จัดรายการเพลง และ เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ ผลการวิจัยสรุปไว้ว่าคิวเพลง เป็นวิธีการหนึ่งที่ค่าย เพลงใช้ในการส่งเสริมการจำหน่าย เทปเพลง เพื่อให้เพลงครองตลาดได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ โดยการว่าจ้างบริษัทเจ้าของรายการ เพลงหรือผู้จัดรายการเพลงให้เปิดเพลงในรายการตามจำนวนวันเวลา และสถานีที่ตกลงกันไว้ การดำ เนินการ ในลักษณะนี้ก่อให้เกิดผลกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องคือ สถานีวิทยุต่างๆ เสนอเพลงได้ในวงจำกัดมีการเปิดเพลงซ้ำๆ กันทุกวัน ทำให้ผู้ฟังทั่วๆ ไปเกิดความเบื่อหน่ายในขณะที่ผู้ฟังกลุ่ม เป้าหมายจะถูกยัดเยียดให้ฟังเพลงจนรู้จักยอมรับและนิยมเพลงนั้น อันจะนำไปสู่การซื้อเทป เพลงในที่สุด ทางด้านค่าย เพลงก็สามารถจำหน่ายเทปเพลงได้รวดเร็วขึ้น ก่อให้เกิดรายได้และกำไรตาม เป้าหมายที่วางไว้ ในขณะที่บริษัท เจ้าของ รายการ เพลงหรือผู้จัดรายการได้รับรายได้จากการรับจ้าง เปิดเพลงและสปอตโฆษณาเทปเพลง ค่ายเพลงกับรายการเพลงจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นในลักษณะผลประโยชน์ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
Other Abstract: The objective of this research is to gain an understanding of "payola" by looking at its purposes, its development and the processes involved, together with the influence of music companies upon radio program owners. The study is a qualitative research using the sales promotion and the product promotion approaches as its theoretical frameworks. The data are collected from documents, the researcher's own experience and depth interview with four groups of people involved in payola music companies, radio program owners, disc jockeys and radio stations. Results indicate that "payola" is a means that the music companies use to promote the sale of music casette tapes so that they can occupy the market share in a short period of time. The companies pay the program owners or the disc jockeys to broadcast certain songs on certain dates at specified times and stations. The practice affects the business in that it automatically .limits the number of songs the stations may broadcast. While general audience may be fed up with the songs that are broadcasted repeatedly, those songs will be imposed on the target groups until they accept and enjoy the songs and finally buy the casettes. The music companies, therefore, can boost up the sale of the casettes, leading to the desired amount of profit. The radio programs owners or the disc, jockeys, likewise, earn part of their income by broadcasting the songs and the radio spots that advertise the songs. In short; music companies and radio program owners have a very close relationship with each other. They have common interests and must depend on each other.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29676
ISBN: 9745827525
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yokching_pl_front.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open
Yokching_pl_ch1.pdf6.99 MBAdobe PDFView/Open
Yokching_pl_ch2.pdf6.38 MBAdobe PDFView/Open
Yokching_pl_ch3.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open
Yokching_pl_ch4.pdf23.47 MBAdobe PDFView/Open
Yokching_pl_ch5.pdf18.13 MBAdobe PDFView/Open
Yokching_pl_ch6.pdf8.23 MBAdobe PDFView/Open
Yokching_pl_back.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.