Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29757
Title: ผลของการสอนโดยเพื่อนด้วยการจับคู่ตามรูปแบบการคิด ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง และผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา
Other Titles: The effect of peer tutoring paired by cognitive styes on self-efficacy and achievement in mathematics of elementary education level students
Authors: ยมลพร พันธนาม
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนโดยเพื่อนด้วยการจับคู่ตามรูปแบบการคิดที่มีต่อการรับรู้ ความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกบาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน15 คน ซึ่งใช้แบบทดสอบเดอะกรุปเอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสต์ จำแนกนักเรียนเป็นผู้ที่มีรูปแบบการคิดแบบไม่อิสระ(Field Dependence/FD) และรูปแบบการคิดแบบอิสระ(Field Independence/FI) และได้จัดกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 เงื่อนไข ดังนี้ เงื่อนไขที่ 1 จับคู่นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD และมีผลสัมฤทธิ์ต่ำในวิชาคณิตศาสตร์ให้ได้รับการสอนโดยนักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FI และมีผลสัมฤทธิ์ต่ำในวิชาคณิตศาสตร์ เงื่อนไขที่ 2 จับคู่นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD และมีผลสัมฤทธิ์ต่ำในวิชาคณิตศาสตร์ให้ได้รับการสอนโดยนักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD และมีผลสัมฤทธิ์สูงในวิชาคณิตศาสตร์ และ เงื่อนไขที่ 3 จับคู่นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD และมีผลสัมฤทธิ์ต่ำในวิชาคณิตศาสตร์ให้ได้รับการสอน โดยนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์สูงในวิชาคณิตศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการทดลองแบบทดสอบก่อนการทดลองและทดสอบหลังการทดลอง ผู้วิจัยทำการทดสอบกลุ่ม ตัวอย่างทุกเงื่อนไขโดยใช้แบบทดสอบการรับรู้ความสามารถของตนเองและแบบทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ใน ระยะก่อนการทดลอง ผู้วิจัยทำการฝึกอบรมนักเรียนผู้สอน หลังจากนั้นจัดผู้สอนทำหน้าที่สอนผู้เรียนใช้เวลาในการดำเนิน การทดลอง 12 ครั้ง ภายใน 3 สัปดาห์ ในระยะหลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่างทั้งสามเงื่อนไขโดยใช้ แบบทดสอบการรับรู้ความสามารถของตนเองและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (t - test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD และมีผลสัมฤทธิ์ค่ำในวิชาคณิตศาสตร์จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 เงื่อนไขมี คะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองและคะแนนผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD และมีผลสัมฤทธิ์ต่ำในวิชาคณิตศาสตร์จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 เงื่อนไขมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองและคะแนนผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of the research was to study the effect of peer tutoring paired by cognitive styles on self- efficacy and achievement in mathematics of elementary fifth students. The subjects were 15 students from Anuban Sisaket School, Sisaket province. The Group Embedded Figures Test (GEFT) was used to assess Field Dependeilce (FD) and Field Independence (FI) students. And, they were assigned into 3 conditions : 1. the first condition was the field dependence students who got low achievement in mathematics were taught by the field independence students who got high achievement in mathematics (FI/H - FD/L); 2. the second condition was the field dependence students who got low achievement ill mathematics were laugh by the field dependence students who got high achievement in mathematics (FD/H - FD/L);and 3. The third condition was the field dependence students who got low achievement in mathematics were taught by the students who got high achievement in mathematics. (X/H - FD/L). Pretest - Posttest design was used ill this study. All subjects were tested their self-efficacy and mathematical ability before the treatment. The tutors were trained by the researcher. After that, all subjects were tued by the tutors for twelve times within 3 weeks. All subjects were tested their self-efficacy and achievement in mathematics after the treatment.. The data were analyzed by using the One Way ANOVA and t-test. Results were as follows : l. There was no significant difference on self-efficacy and achievement in mathematics scores among three conditions at the .05 level. 2. The scores on self-efficacy and achievement in mathematics of all conditions on posttest were significantly higher than pretest at the .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29757
ISBN: 9746360124
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yamonporn_pu_front.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open
Yamonporn_pu_ch1.pdf24.88 MBAdobe PDFView/Open
Yamonporn_pu_ch2.pdf6.5 MBAdobe PDFView/Open
Yamonporn_pu_ch3.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open
Yamonporn_pu_ch4.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open
Yamonporn_pu_ch5.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Yamonporn_pu_back.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.