Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29790
Title: ความเป็นประโยคของหน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย
Other Titles: Clausehood in serial verb constructions in Thai
Authors: ยาใจ ชูวิชา
Advisors: กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ และอรรถศาสตร์ของหน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย และวิเคราะห์ความเป็นประโยคของหน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย ผู้วิจัยพบว่าหน่วยสร้างกริยาเรียงจำแนกได้เป็น 2 ชนิดคือ (1) หน่วยสร้างกริยาเรียงพื้นฐานซึ่งประกอบด้วยกริยาเพียง 2 คำ กริยาที่ปรากฏในหน่วยสร้างนี้มีข้อจำกัดในการเกิดร่วมกัน และ (2) หน่วยสร้างกริยาเรียงซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยกริยาตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป หน่วยสร้างกริยาเรียงซับซ้อนนี้อาจอยู่ในรูปของ (ก) หน่วยสร้างกริยาเรียงพื้นฐาน เกิดร่วมกับคำกริยาอีกคำหนึ่ง หรือ (ข) หน่วยสร้างกริยาเรียงพื้นฐานเกิดร่วมกับหน่วยสร้างกริยาเรียงพื้นฐานอื่นๆ หน่วยสร้างกริยาเรียงพื้นฐานสามารถแบ่งเป็นกระสวนต่างๆได้ 14 กระสวนย่อย ตามคุณสมบัติทางความหมายของคำกริยาและข้อจำกัดในแง่ตำแหน่งคำกริยาที่ปรากฏในหน่วยสร้าง ผู้วิจัยได้เสนอคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ 4 ประการ เพื่อแสดงความตรึงแน่นระหว่างกริยาในหน่วยสร้างกริยาเรียงพื้นฐาน ได้แก่ การมีประธานร่วมกัน การอ้างถึงเวลาเดียวกัน การมีการณ์ลักษณะเดียวกัน และการไม่อนุญาตให้คำปฏิเสธปรากฏระหว่างคำกริยาทั้งสอง หน่วยสร้างกริยาเรียงใดมีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ หน่วยสร้างนั้นจะมีความตรึงแน่นระหว่างกริยาในระดับสูงสุด ซึ่งเรียกว่า หน่วยสร้างนั้นมีเอกภาพ หน่วยสร้างกริยาเรียงที่มีเอกภาพ 4 ประการ จะมีโครงสร้างเป็นเอกประโยคซึ่งผู้วิจัยพบว่ามี 10 กระสวน ส่วนหน่วยสร้างกริยาเรียงที่มีคุณสมบัติไม่ครบ 4 ประการ จะมีความตรึงแน่นลดน้อยลงมา หมายความว่าไม่มีเอกภาพ จะมีโครงสร้างไม่ใช่เอกประโยค ซึ่งผู้วิจัยพบว่ามี 4 กระสวน คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ หมายถึง เหตุการณ์และเวลาในการเกิดเหตุการณ์ที่แสดงโดยหน่วยสร้างกริยาเรียง ผู้วิจัยพบว่าหน่วยสร้างกริยาเรียงพื้นฐานแสดงความสัมพันธ์ในแง่เวลาในการเกิดเหตุการณ์ 5 ประเภท ได้แก่ (1) เหตุการณ์ 2 เหตุการณ์เกิดพร้อมกันแบบซ้อนทับกันสนิท (2) มีความกำกวมระหว่างการเกิดพร้อมกันแบบซ้อนทับกันสนิทหรือเหลื่อมเวลากัน (3) การเกิดเรียงต่อกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาของการเกิดเหตุการณ์ที่สอง (4 ) การเรียงต่อกันโดยมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาของการเกิดเหตุการณ์ที่สอง และ (5) การไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่ 2 แต่ถ้าจะเกิดหลังเหตุการณ์แรก นอกจากนี้ยังพบว่าความเป็นประโยคของหน่วยสร้างกริยาเรียงและคุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของหน่วยสร้างกริยาเรียงสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ หน่วยสร้างกริยาเรียงที่มีโครงสร้างประโยคต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ที่เสนอโดยหน่วยสร้างกริยาเรียงนั้น ๆ จะต่างกันด้วย
Other Abstract: This study aims at investigating the syntactic and semantic properties of serial verb constructions (SVC) in Thai and determining the clause hood of the constructions. It is found that SVC's can be classified into two groups: the basic SVC, consisting of only two verbs, and the complex SVC, consisting of more than two verbs. It is also found that there are some co-occurring restrictions between verbs in the basic SVC. This basic SVC can co-occur with another verb or another SVC to form a complex. SVC’s The basic SVC's are classified into 14 patterns according to the semantic properties and the position of the verb in the construction. Four syntactic and semantic properties are found to indicate the compactness within the SVC’s. They are sharing the same subject, having the same time reference, having the same aspect and not allowing the negative word to occur in between. The SVC's that have all the four properties are considered to have the highest degree of compactness or unity. Such kinds of SVC's are considered to be mono-clausal. It is found that there are 10 mono-clausal SVC patterns. The SVC's that have only some of the four properties are considered to have lesser degrees of compactness. It follows that they do not have unity and are not mono-clausal. The semantic properties of SVC's are analyzed in terms of the kinds of event expressed by each verb in the SVC's and the temporal relations between the events in the SVC's. It is found that there are systematic relationships between the clausal structure and the semantic properties of SVC's. The temporal relations proposed in the mono-clausal SVC's are different from those proposed in the non-mono clausal SVC's.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29790
ISBN: 9745829293
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yajai_ch_front.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ch_ch1.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ch_ch2.pdf18.53 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ch_ch3.pdf52.28 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ch_ch4.pdf23.67 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ch_ch5.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ch_back.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.