Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29844
Title: ระบบบัญชีสำหรับการบริหารโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษา
Other Titles: Accounting system for management of public secondary school
Authors: มนฤดี แป้นกลัด
Advisors: วันเพ็ญ กฤตผล
อินทิรา เทศวิศาล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการในการบริการด้านการศึกษาซึ่งมีความจำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติเพิ่มขึ้น ในการบริหารของโรงเรียน แต่ละแห่ง กรมสามัญศึกษาพยายามที่จะก่อประโยชนแก่สังคมส่วนรวมสูงสุด นักบริหารจึงมีหน้าที่สำคัญใน การวางแผน ควบคุม และประเมินผลงาน ให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้ทรัพยากรในสถาบันของตน งานทั้งสามประเภทนี้นอกจากจะอาศัยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ส่วนตัวของนักบริหารแต่ละคน แล้ว ยังขึ้นอยู่กับ "ระบบบัญชี" ดังนั้น ระบบบัญชีที่ได้วางรูปไว้อย่างดีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับฝ่ายบริหาร อนึ่งในปัจจุบันนี้ระบบบัญชีของโรงเรียนใช้วิธีการบันทึกบัญชีตามเกณฑ์เงินสด (Cash Basis)ทั้งนี้เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีดังกล่าวเพื่อควบคุม เงินสด อย่างไรก็ตามในการดำเนินงานของโรงเรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับรายการที่เป็นเงินสดแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องกับรายการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ เงินสดด้วย ดังนั้นรายการใดที่ไม่สามารถบันทึกในสมุดเงินสดได้ จึงไม่มีการบันทึกบัญชี ซึ่งจะมีผลให้ข้อมูล ทางบัญชีที่แสดงอยู่นั้นไม่ครบถ้วน และทำให้ยุ่งยากในการตรวจสอบอันจะนำมาซึ่งการทุจริต จึงเสนอแนะให้ใช้วิธีการบันทึกบัญชีตามเกณฑ์สิทธิ (Accrual Basis) ซึ่งจะทำให้มีการบันทึก ข้อมูลทางบัญชีอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ในส่วนของเจ้าของจะแสดงฐานะของกิจการโดยแยกกองทุน การศึกษาออกจากกองทุนคงเหลือ กองทุนเพื่อการศึกษาเป็นเงินส่วนที่ได้รับบริจาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือการศึกษาของนักเรียน ส่วนกองทุนคงเหลือแบ่งออกเป็น กองทุนคงเหลือจากเงินบำรุงการศึกษา กองทุนคงเหลือจากเงินงบประมาณ และกองทุนคงเหลือจากเงินบริจาคที่ไม่มีวัตถุประสงค์เฉพาะในแต่ละ กองทุนคงเหลือนี้ จะแสดงให้เห็นถึงเงินส่วนที่ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และเงินส่วนที่เหลือจ่ายของสถานศึกษา ดังนั้น เพื่อให้ข้อมูลที่ผู้บริหารจะได้รับมีประโยชนและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ยิ่งขึ้น จึงเสนอแนะให้มีการจัดทำผังบัญชีและรายงานการเงิน ในส่วนของรายงานการเงินนั้น กำหนดให้มีการแยกแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายของเงินแต่ละประเภท เพื่อให้มีการวัดผลการดำเนินงานของโรงเรียนเช่นเดียวกับการดำเนินธุรกิจขององค์การธุรกิจอื่น ๆ ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะเป็นองค์การธุรกิจที่ไม่หวังผลกำไรก็ตาม ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าการดำเนินงานของโรงเรียนมีประสิทธิภาพหรือไม่มีสิ่งใดบกพร่องและควรแก้ไขเพราะการดำเนินงานที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้หรืออยู่รอดต่อไปได้เป็นเป้าหมายที่สำคัญของทุกหน่วยงาน
Other Abstract: Education is the most importance factor in the development of the Country's human resources and the country itself. The present rapid population growth has increased the demand for more education services. General Education Department takes care of matters concerning general education. The administrators of each schools must plan, direct and evaluate the success of his or her establishment. A well-organized and efficient accounting is a necessary part of every school's administration and can assist it to achieve its goals. The accounting system that the public secondary school utilized mostly establish in the Cash Basis System. The system deals directly with cash transaction. Consequently, business transactions which cannot be entered in the cash account are not recorded at all. The figures in the book of entry do not represent the exact details. Subsequently, auditing becomes complicated and may cause fund mismanagement. Resulting from the research, the Accrual Basis System are recommended. In this system, every instance of transaction is entered in the expense account. Furthermore the owner's equities show the organization status in the form of funds. They are comprised of Educational Fund and Balanced Fund. All donation for special purpose in students' education and welfare is stated into the Educational Fund. The Balanced Fund is divided into Balanced Fund for Tuition Fee, Budget and Donation, of which the donors do not specify their purposes. Each Balanced Fund clearly shows the investment in fixed assets and the amount of excess income of the organization. In order that the administrators will have a more organized and useful information, a chart of accounts and Financial Statements, which show incomes and expenses of each sources separately, are suggested. These will be a schematic evaluation of the school as a general business organization. Even though a school is a non-profit organization, the school must at least be self-sufficient and financially able to continue its operations.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29844
ISBN: 9745774782
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monrodee_pa_front.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open
Monrodee_pa_ch1.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Monrodee_pa_ch2.pdf8.73 MBAdobe PDFView/Open
Monrodee_pa_ch3.pdf22.57 MBAdobe PDFView/Open
Monrodee_pa_ch4.pdf12.6 MBAdobe PDFView/Open
Monrodee_pa_ch5.pdf54.25 MBAdobe PDFView/Open
Monrodee_pa_ch6.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Monrodee_pa_back.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.