Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29905
Title: การพัฒนาพฤติกรรมการช่วยเหลือทางการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลตามแนวทฤษฎีปัญญาทางสังคม
Other Titles: Development of nursing caring behaviors for nursing students according to social cognitive theory
Authors: ทัศนีย์ นนทะสร
Advisors: ชุมพร ยงกิตติกุล
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาพฤติกรรมการช่วยเหลือทางการพยาบาลที่จัดให้กับนักศึกษาพยาบาล ตามแนวทฤษฎีปัญญาทางสังคม โดยให้นักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองที่ 1 ดูตัวแบบสัญลักษณ์จากแถบบันทึกภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มทดลองที่ 2 ดูตัวแบบสัญลักษณ์จากแถบบันทึกภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นร่วมกับทำกิจกรรมฝึกการกำกับตนเอง และให้กลุ่มควบคุมอยู่ในสภาพการเรียนการสอนตามปกติ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ดูตัวแบบอย่างเดียว มีพฤติกรรมการช่วยเหลือทางการพยาบาลในภาพรวมทั้งหมด และในพฤติกรรมแต่ละพฤติกรรมไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม ทั้งในระยะพัฒนาพฤติกรรมและในระยะติดตามผล แต่เมื่อวิเคราะห์ภายในกลุ่มพบว่า มีพฤติกรรมในภาพรวม 3 พฤติกรรม และพฤติกรรมจำนวน 3 พฤติกรรม ในระยะพัฒนาพฤติกรรมและในระยะติดตามผลสูงกว่าระยะข้อมูลเส้นฐาน นักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ดูตัวแบบและฝึกการกำกับตนเอง มีพฤติกรรมการช่วยเหลือทางการพยาบาลในภาพรวมทั้งหมดไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ดูตัวแบบอย่างเดียว ทั้งในระยะพัฒนาพฤติกรรม และในระยะติดตามผล แต่เมื่อวิเคราะห์แต่ละพฤติกรรมพบว่า ในระยะพัฒนาพฤติกรรมมีจำนวน 5 พฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีจำนวน 4 พฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มที่ดูตัวแบบอย่างเดียว ส่วนในระยะติดตามผลมีจำนวน 3 พฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ดูตัวแบบอย่างเดียว สำหรับกรณีวิเคราะห์ภายในกลุ่มพบว่า มีพฤติกรรมในภาพรวมทั้งหมด และพฤติกรรมจำนวน 8 พฤติกรรม ในระยะพัฒนาพฤติกรรมและในระยะติดตามผลสูงกว่าระยะข้อมูลเส้นฐาน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the development of the Nursing Caring Behaviors for nursing students according to the Social Cognitive Theory. The first experimental group watched a videotaped symbolic model developed by the researcher; the second experimental group, in addition to watching the videotaped symbolic model was required to do self-regulation exercises; the control group carried on the normal course of studies. Results show no significant difference between the first experimental group and the control group during the treatment and follow-up phase. However, analysis of change within the groups who watched the model shows significant increases for the three behaviors analysed as a whole and for three individual behaviors from the baseline phase to the treatment and follow-up phase. There is no significant difference between the control group and the two experimental groups for all behaviors as a whole during the treatment and follow-up phase. An analysis of individual behaviors shows significant differences of increases between the second experimental group and the control group for five behaviors during the treatment phase; the second experimental group also shows a greater increase than the first one for four behaviors during the treatment phase; the second experimental group also shows a greater increase than the first group and the control group for three behaviors during the follow-up phase. For the second experimental group there are significant increases for all behaviors as a whole and for eight individual behaviors during the treatment and follow-up phase when compared to the baseline phase.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29905
ISBN: 9745775851
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tassanee_no_front.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_no_ch1.pdf34.34 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_no_ch2.pdf11.32 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_no_ch3.pdf13.38 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_no_ch4.pdf11.71 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_no_ch5.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_no_back.pdf31.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.