Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29988
Title: การประยุกต์ใช้การจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดิน ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : กรณีศึกษาที่ดินบริเวณคลองพลับพลา ถนนพระราม 9 กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Application of land readjustment technique for developing land of Crown Property Bureau : a case study of Klong Plubpla, Rama IX road, Bangkok metropolis area
Authors: หทัยรัตน์ ยุภาศ
Advisors: บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำเอาวิธีการจัดรูปที่ดิน เพื่อพัฒนาเมืองมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการใช้ที่ดินในเขตเมือง โดยใช้พื้นที่ในเขตเมืองกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ทดลองศึกษา พร้อมทั้งเป็นการหาข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาและดำเนินการจัดรูปที่ดินในบริเวณอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต จากการศึกษาทราบว่า การที่จะนำเอาวิธีการจัดรูปที่ดินมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ศึกษานั้น มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง เนื่องจากลักษณะของพื้นที่มีความเหมาะสม ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ส่วนใหญ่มีความเข้าใจในผลดีของการจัดรูปที่ดิน แต่สำหรับในพื้นที่เมืองอื่น ๆ แล้ว จะต้องมีความพร้อมที่จำเป็นต่อความสำเร็จของการจัดรูปที่ดินก่อน โดยปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ (1) โครงสร้างทางกฎหมาย (2) การให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐบาลอย่างจริงจัง ทั้งในด้านงบประมาณและ การให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่องค์กรที่สนใจเรื่องการจัดรูปที่ดินทั้งภาครัฐและเอกชน (3) ความร่วมมือและการยอมรับจากประชาชน (4) งบประมาณการเงิน ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาและการจัดรูปที่ดินต่อไปในอนาคต ได้แก่การนำเอาการจัดรูปที่ดินไปใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ให้มากขึ้น เช่นพื้นที่ชานเมือง พื้นที่สำหรับพักอาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ฯลฯ เพื่อให้ได้แง่มุมที่น่าสนใจและจะเป็นประโยชน์สำหรับที่พัฒนาการของการจัดรูปที่ดินต่อไป นอกจากนั้น ได้แก่การเตรียมการทางด้านทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดรูปที่ดินให้มากขึ้น เช่นเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง, ประชาชนทั่วไป, เจ้าของที่ดิน ฯลฯ เป็นต้น
Other Abstract: The objective of the study was to study the feasibility of introducing land readjustment concept to land use planning in urban area by case study which was urban area in Bangkok Metropolis. In addition, it attempts to give some suggestions for the others studying and land readjustment project that will be take place in the future. The results from the study found that it was highly feasibility to use land readjustment technique in the study area because it was suitable and the people in this area understand it, but for the other urban areas, it must be improved the essential factors which was very important for the accomplishment of land readjustment. Those factors were (1) The structure of law, (2) The collaboration between government and private sectors concerning the land readjustment matter, (3) The cooperation and acception of the people and (4) The budget for implementation. The suggestions for the furture studying and land readjustment project such as in the suburb area, low income residential area, ect. beside of this, a well-preperation for a personnel resources must be include, the town planning and Developing Agencis's staff, Publicity and the land-lords, ect.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29988
ISBN: 9746323725
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hatairut_ju_front.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Hatairut_ju_ch1.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Hatairut_ju_ch2.pdf15.3 MBAdobe PDFView/Open
Hatairut_ju_ch3.pdf11.45 MBAdobe PDFView/Open
Hatairut_ju_ch4.pdf12.97 MBAdobe PDFView/Open
Hatairut_ju_ch5.pdf5.01 MBAdobe PDFView/Open
Hatairut_ju_ch6.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open
Hatairut_ju_back.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.