Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30654
Title: อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองในงาน และวัฒนธรรมองค์การต่อความผูกใจมั่นในงานและความสุขเชิงอัตวิสัยโดยมีความเพลินในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: Effects of work self-efficacy and organizational culture on work engagement and subjective well-being : the mediating of flow at work
Authors: ไอริณ จิรวิทย์โอฬาร
Advisors: อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Apitchaya.C@Chula.ac.th
Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: ความสามารถในตนเอง
วัฒนธรรมองค์การ
ความพอใจในการทำงาน
การทำงาน -- แง่จิตวิทยา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเองในงาน และวัฒนธรรมองค์การต่อความผูกใจมั่นในงาน และความสุขเชิงอัตวิสัย โดยมีความเพลินในงาน เป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 540 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรแฝงภายนอกการรับรู้ความสามารถของตนเองในงาน ตัวแปรแฝงภายนอกวัฒนธรรมองค์การ ตัวแปรแฝงภายในความเพลินในงาน ตัวแปรแฝงภายในความผูกใจมั่นในงาน และตัวแปรแฝงภายในความสุขเชิงอัตวิสัย โดยตัวแปรดังกล่าววัดได้จากตัวแปรสังเกตได้รวมทั้งสิ้น 14 ตัวแปร ข้อมูลรวบรวมโดยใช้เครื่องมือวิจัยซึ่งเป็นมาตรวัดประมาณค่ารวม 5 ตอน มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง ตั้งแต่ .70 ถึง .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรส ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ โมเดลลิสเรสของความสุขเชิงอัตวิสัยที่มีความเพลินในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านโดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 72.617, df = 55, p = .056, RMSEA = 0.024, RMR = 0.023, GFI = 0.981, AGFI = 0.964) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกใจมั่นในงาน ความสุขเชิงอัตวิสัย และความเพลินในงาน ได้ร้อยละ 87 ร้อยละ 52 และร้อยละ 59 ตามลำดับ ตัวแปรแฝงการรับรู้ความสามารถของตนเองในงานและวัฒนธรรมองค์การ มีอิทธิพล ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความผูกใจมั่นในงานและความสุขเชิงอัตวิสัย โดยมีความเพลินในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Abstract: The purposes of this research were to study the effects of work self-efficacy and organizational culture on work engagement and subjective well-being, with the flow at work as a mediator. The research sample consisted of 540 private business employees in Bangkok. The variables consisted of five latent variables: work self-efficacy, organizational culture, work engagement, subjective well-being and flow at work, all of which were totally measured by 14 observed variables. Data were collect by 5 sets of likert scale questionnaires, with reliability ranged from .70 - .93. The data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, confirmatory factor analysis and LISREL model analysis. The major findings are as follows: the LISREL model of subjective well-being with the flow at work as a mediator fitted the empirical data. (χ2 = 72.617, df = 55, p = .056, RMSEA = 0.024, RMR = 0.023, GFI = 0.981, AGFI = 0.964) The variables in the model accounted for 87%, 52% and 59% variance of work engagement, subject well-being and flow at work respectively. The two latent variables: work self-efficacy and organizational culture had direct and indirect effects via the flow at work on work engagement and subjective well-being.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30654
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1219
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1219
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
irin_ji.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.