Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30670
Title: | ผลของกลุ่มพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ และการฝึกอานาปานสติที่มีต่อภาวะอุเบกขาและปัญญา |
Other Titles: | The effect of Buddhist personal growth and counseling group and Ānāpānasati training on Upekkhā and Paññā |
Authors: | ครรชิต แสนอุบล |
Advisors: | โสรีช์ โพธิแก้ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | Psoree@chula.ac.th |
Subjects: | การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม พุทธศาสนา -- จิตวิทยา อานาปานสติ จิตวิทยากับศาสนา |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ และการฝึกอานาปานสติที่มีต่อภาวะอุเบกขาและปัญญา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่มีกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มและกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 41 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเข้าเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 14 คนที่เข้ากลุ่มพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธในช่วงที่ 1 และฝึกอานาปานสติในช่วงที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 13 คนที่ฝึกอานาปานสติในช่วงที่ 1 และเข้ากลุ่มพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธในช่วงที่ 2 และกลุ่มควบคุมจำนวน 14 คนที่ไม่ได้เข้าร่วมทดลองใด ๆ โดยมีระยะเวลาเข้ากลุ่มพัฒนาตน ฯ และฝึกอานาปานสติ กระบวนการละ 20 ชั่วโมงหรือ 7 ช่วงเวลา และดำเนินการวิจัยใน 2 รุ่น หลังการทดลองสัมภาษณ์เชิงลึกสมาชิกกลุ่มทดลองจำนวน 7 คน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดภาวะอุเบกขา แบบวัดปัญญาฉบับสั้น บันทึกประจำวัน แบบประเมินการรับรู้ของสมาชิกกลุ่ม และแบบประเมินการรับรู้การฝึกอานาปานสติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ MANOVA และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลองช่วงที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 1 ที่เข้ากลุ่มพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธมีคะแนนภาวะอุเบกขาและปัญญาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 และมีคะแนนภาวะอุเบกขาและคะแนนปัญญาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .01 ส่วนกลุ่มทดลองที่ 2 ที่ฝึกอานาปานสติมีคะแนนภาวะอุเบกขาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีคะแนนปัญญาไม่แตกต่างจากช่วงก่อนการทดลอง และมีคะแนนภาวะอุเบกขาและคะแนนปัญญาไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่คะแนนภาวะอุเบกขาและคะแนนปัญญาของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน 2) หลังการทดลองช่วงที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 1 มีคะแนนภาวะอุเบกขาไม่แตกต่างจากช่วงหลังการทดลองที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีคะแนนปัญญาสูงกว่าช่วงหลังการทดลองที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนภาวะอุเบกขาและคะแนนปัญญาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .001 ส่วนกลุ่มทดลองที่ 2 หลังการทดลองช่วงที่ 2 มีคะแนนภาวะอุเบกขาสูงกว่าหลังการทดลองช่วงที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีคะแนนปัญญาไม่แตกต่างจากหลังการทดลองช่วงที่ 1 และมีคะแนนภาวะอุเบกขาและคะแนนปัญญาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .05 อย่างไรก็ตาม หลังการทดลองช่วงที่ 2 คะแนนภาวะอุเบกขาและคะแนนปัญญาของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกยืนยันความเป็นจริงของภาวะอุเบกขาและปัญญาที่เกิดขึ้นในสมาชิกกลุ่มทดลอง |
Other Abstract: | The purpose of this research study was to investigate the effects of a Buddhist personal growth and counseling group and ĀNĀPĀNASATI training on UPEKKHĀ and PAÑÑĀ. The study was conducted in a pre-test and post-test quasi-experimental design with a control group. Forty-one students from public university were purposively sampling and randomly divided into 3 groups for the two experimental conditions and one control group. The first experimental group attended the Buddhist personal growth and counseling group followed by the ĀNĀPĀNASATI training. The second group attended the ĀNĀPĀNASATI training and then the Buddhist personal growth and counseling group. As previously mentioned, the last group was the control one. After the experimental conditions were completed, in-depth interviews were conducted with seven participants from the experimental groups for a qualitative data analysis. The UPEKKHĀ Scale and the abbreviated PAÑÑĀ scale were used for measuring UPEKKHĀ and PAÑÑĀ, respectively. MANOVA statistics were used for data analysis. Results indicated that, for the first experimental group, after the first treatment, the UPEKKHĀ and PAÑÑĀ scores was significantly higher than the pre-treatment scores at .01 and .05 respectively, Additionally, the scores of this treatment group were significantly higher than those of the control group at .01 and .01, respectively. Only the post-treatments UPEKKHĀ scores of the 2nd period experiment group was higher than its pre-treatment score at .05 significant level, while the PAÑÑĀ scores was not significantly different. However; The UPEKKHĀ and PAÑÑĀ scores were not significantly different from the control group. The UPEKKHĀ and PAÑÑĀ scores were not significantly different compared with before experiment. After the 2nd period experiment, the UPEKKHĀ score were not significantly different compared with the 1st period experiment. However; for the PAÑÑĀ score, the 2nd period experiment score was higher than the 1st period experiment score at .05 significant level. Moreover, the UPEKKHĀ and PAÑÑĀ scores of the 2nd period experiment score are higher compared with the control group at .001 and .001 significant levels. By the way, for the second experimental group, only UPEKKHĀ score of the 2nd period experiment was higher compared with the 1st period experiment score at .01 significant level, while there was not significantly different for the PAÑÑĀ score. When compared with control group, the UPEKKHĀ and PAÑÑĀ scores of the 2nd period experiment were higher at .05 and .05 significant level. Finally, the UPEKKHĀ and PAÑÑĀ scores had no difference between 2 experimental groups. Three key findings were as follows. First, participants who attended the Buddhist personal growth and counseling group followed by the ĀNĀPĀNASATI training significantly higher on the UPEKKHĀ and PAÑÑĀ measures than those attending only the ĀNĀPĀNASATI training and the control group (p < .05). Secondly, those attending the ĀNĀPĀNASATI training alone obtained significantly higher on the UPEKKHĀ score at post-treatment, when compared with the pre-treatment score (p < .05). Thirdly, participants who attended the Buddhist personal growth and counseling group followed by the ĀNĀPĀNASATI training scored and those attending the ĀNĀPĀNASATI training followed by the Buddhist personal growth and counseling group scored significantly higher than the control group on the UPEKKHĀ and PAÑÑĀ measures, at 001 and .05 respectively. It was found that qualitative data from depth-interview supported the existence of UPEKKHĀ and PAÑÑĀ in the participants of experimental group. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30670 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.428 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.428 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanchit_sa.pdf | 3.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.