Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30685
Title: การประยุกต์ใช้ข้อมูลเรดาร์อุตุนิยมวิทยาและข้อมูลความต้องการน้ำของพืชเพื่อวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร
Other Titles: Application of weather radar and plant water requirements for agricultural landuse analysis
Authors: ไพรัช จงเจริญ
Advisors: บรรเจิด พละการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Banjerd.P@chula.ac.th
Subjects: อุตุนิยมวิทยาการเกษตร
น้ำฝน -- ข้อมูล -- วิจัย
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันข้อมูลจากเรดาร์ตรวจสภาพอากาศ หรือเรดาร์อุตุนิยมวิทยา ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในลักษณะต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เช่น ใช้คำนวณหาปริมาณน้ำฝนที่จะตกเพื่อป้องกันน้ำท่วม หรือใช้เพื่อติดตามการเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆฝน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการใช้งานข้อมูลเรดาร์อุตุนิยมวิทยาเหล่านั้น ส่วนใหญ่เป็นการวิเคราะห์เป็นรายเหตุการณ์ในขอบเขตพื้นที่เฉพาะเจาะจง ณ ขณะเวลาหนึ่ง ๆ หรือช่วงเวลาสั้น ๆ หรือมิเช่นนั้นก็เป็นการใช้งานในลักษณะข้อมูลภาพในการดูด้วยสายตาเท่านั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทดสอบความเป็นไปได้ ของการประยุกต์ใช้ข้อมูลเรดาร์อุตุนิยมวิทยาในการคำนวณและสร้างแผนที่แสดงปริมาณน้ำฝนรายเดือนหรือรายปี โดยใช้สมการความสัมพันธ์ Z-R และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ได้จากสถานีวัดน้ำฝนภาคพื้นดิน รวมทั้งแสดงตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ความเพียงพอของปริมาณน้ำฝนต่อการเพาะปลูกข้าวและข้าวโพดในพื้นที่ศึกษา ทั้งนี้ นับเป็นการสร้างทางเลือกใหม่ในการหาปริมาณน้ำฝนเชิงพื้นที่เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลต่างๆ ต่อไป ผลจากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ และเทคนิคการประมวลผลข้อมูลจากเรดาร์อุตุนิยมวิทยาในการคำนวณหาปริมาณน้ำฝนที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่ดีกว่าปริมาณน้ำฝนที่คำนวณจากข้อมูลสถานีวัดน้ำที่ใช้กันโดยทั่วไปในอดีต เนื่องจากข้อมูลเรดาร์สามารถให้ข้อมูลการกระจายตัวของฝน (Rainfall Distribution) ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยตรง ในขณะที่ข้อมูลฝนจากสถานีวัดน้ำฝนนั้นได้จากการประมาณค่าของฝนแบบจุด (Point Rainfall) ซึ่งมีความละเอียดน้อยกว่า ผลจากการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าข้อมูลปริมาณน้ำฝนเชิงพื้นที่จากข้อมูลเรดาร์นั้น สามารถนำไปวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลความต้องการน้ำของพืชในพื้นที่ และทำให้สามารถระบุระดับความเพียงพอของน้ำฝนต่อการเพาะปลูกพืชดังกล่าวในแต่ละพื้นที่ได้ โดยพบว่าระดับความสอดคล้องของผลการวิเคราะห์กับสภาพความเป็นจริงมีความแตกต่างกันในพื้นที่ศึกษา สืบเนื่องจากพื้นที่ศึกษาบางส่วนเป็นพื้นที่เขตชลประทานซึ่งการเพาะปลูกพืชมิได้พึ่งพาเฉพาะน้ำฝน
Other Abstract: Data from Weather Radar is now being widely used for several purposes, for example to measure precipitation in flood-control system or to monitor cloud motion. However, those typical usages of weather radar data are normally event-based analyses within specific or small extent of space and time. This thesis objective is, therefore, set to explore the technical feasibility in using weather radar data to determine spatial rainfall data by creating the rainfall map. The well-known Z-R relationship equation is used and the result rainfall maps were compared with the maps derived from observed rainfall data from rain gauge stations. The example application of that rainfall map derived from weather radar data, i.e. the analysis of rain water adequacy for rice and corn crop, was also demonstrated. Finally, this could prove to be a new alternative of generating more precise spatial rainfall information to be analyzed with another data. The result of this research work demonstrates that weather radar data can be utilized for generating spatial rainfall map. Data processing techniques in analyzing that weather radar data are also exemplified. The resulted rainfall information is also believed to be more accurate compared to conventional rainfall map compiled from rain gauge data. This is due to the fact that radar data contain more detailed, continuous rainfall distribution information while rain gauge collects rainfall data in a point-based manner. This research has also exhibited that spatial rainfall map from radar data can be further used in analyses with crop water requirements data to determine the levels of rainwater adequacy for rice and corn cultivation in study area. The conformity between the resulted rainwater adequacy map and existing cropping area is still quite varying. This inconsistency could come from the fact that some study area be within the irrigated area and therefore getting other water sources than the rain water.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30685
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.153
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.153
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pairush_ch.pdf9.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.