Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30719
Title: การเปรียบเทียบระดับแรงเบรกแบบเอ็คเซ็นตริกที่แตกต่างกัน ขณะแบกน้ำหนักกระโดดที่มีผลฉับพลันต่อพลังกล้ามเนื้อในนักกีฬาชายที่มีความแข็งแรงสัมพัทธ์สูง
Other Titles: A Comparison of different eccentric braking loads during weighted jump squat on the acute effect of muscular power in high relative strength male athletes
Authors: ธงทอง ทรงสุภาพ
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chalerm.C@Chula.ac.th
Subjects: กำลังกล้ามเนื้อ
สมรรถภาพทางกาย
กล้ามเนื้อ -- การทดสอบ
นักกีฬา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับแรงเบรกแบบเอ็คเซ็นตริกที่แตกต่างกัน ขณะแบกน้ำหนักกระโดดที่มีผลฉับพลันต่อพลังกล้ามเนื้อ ในนักกีฬาชายที่มีความแข็งแรงสัมพัทธ์สูง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอล และกรีฑาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-22 ปี เพศชาย จำนวน 18 คน ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม ด้วยวิธีการจับสลาก กลุ่มตัวอย่างทำความคุ้นเคยกับเครื่องมือที่ใช้ก่อนการทดลอง 1 สัปดาห์ จากนั้นจะได้รับเลือกสภาวะการทดลองจากการสุ่มอย่างง่าย และดำเนินการทดลองตามแบบการทดลองหมุนเวียน แบกน้ำหนักกระโดดด้วยแรงเบรกแบบเอ็คเซ็นตริกที่ระดับ 0, 30, 60 และ 90 เปอร์เซ็นต์ ตามสภาวะที่ได้รับเลือก จำนวน 6 ครั้ง ทั้งหมด 2 ชุด แต่ละสภาวะการทดลองห่างกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้จากการแบกน้ำหนักกระโดดครั้งที่ 2 - 6 ในชุดที่ได้ค่าพลังกล้ามเนื้อสูงสุดของทุกสภาวะการทดลอง มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรข้อมูลทางสรีรวิทยาทั่วไป ค่าความแข็งแรงสัมพัทธ์ของผู้เข้าร่วมวิจัย ก่อนการทดลอง และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ ของค่าพลังกล้ามเนื้อสูงสุด พลังกล้ามเนื้อสูงสุดสัมพัทธ์ แรงกล้ามเนื้อสูงสุด แรงกล้ามเนื้อสูงสุดสัมพัทธ์ และความเร็วสูงสุด ในช่วงการกระโดดขึ้นและการลงสู่พื้น หากพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ ด้วยวิธีแบบแอลเอสดี ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าพลังกล้ามเนื้อสูงสุด และพลังกล้ามเนื้อสูงสุดสัมพัทธ์ ระหว่างระดับแรงเบรกแบบ เอ็คเซ็นตริก ในช่วงการกระโดดขึ้นมีค่าไม่แตกต่างกัน แต่ในช่วงการลงสู่พื้น ระดับแรงเบรกที่ 90 เปอร์เซ็นต์ มีค่าน้อยกว่าที่ระดับ 0, 30 และ 60 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าความเร็วสูงสุด ในช่วงการกระโดดขึ้น ของระดับแรงเบรกที่ 0 เปอร์เซ็นต์ มีค่าน้อยกว่าที่ระดับ 30, 60 และ 90 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัยได้ว่า ระดับแรงเบรกแบบเอ็คเซ็นตริกที่ 30 และ 60 เปอร์เซ็นต์ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ฝึกแบกน้ำหนักกระโดด เพื่อพัฒนาพลังกล้ามเนื้อได้ดีกว่าระดับแรงเบรกแบบเอ็คเซ็นตริกที่ 0 และ 90 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the effect of different eccentric braking loads during weighted jump squat on the acute effect of muscular power in high relative strength male athletes. Eighteen male athletes (11 rugby football players and 7 sprinters) of ages between 18 to 22 years old from Chulalongkorn University were purposively sampled to be subjects in this study. All subjects participated in a counterbalanced design comprising four types of weighted jump squat performed in 2 sets of 6 repetitions at 30% of 1RM with varying levels of eccentric braking load, namely 0%, 30%, 60% and 90%. On the experimental day, peak power, relative peak power, peak force, relative peak force and peak velocity were measured during sessions by ballistic measurement system. The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviations, one-way analysis of variance with repeated measure and multiple comparisons by the LSD were also employed. The statistical significance of this study was accepted at p < .05 level. The results were as follow: 1. There were no significant differences in peak power and relative peak power during propulsive phase between different levels of eccentric braking load but there were significant differences during landing phase between 90% level comparing with 0%, 30% and 60% levels of eccentric braking load at the .05 significance level. 2. There were significant differences in peak velocity during propulsive phase between 0% level comparing with 30%, 60% and 90% levels of eccentric braking load at the .05 significance level. In conclusion, the results demonstrated that eccentric braking loads at 30% and 60% levels are more optimal for weighted jump squat training to improve muscular power than eccentric braking loads at 0% and 90% levels.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30719
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1224
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1224
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tongthong_so.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.