Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30876
Title: การปฏิรูปองค์กรในกระบวนการยุติธรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีกรมอัยการ
Other Titles: Structural reform in Criminal Justice System : a Case Study of the Public Prosecution Department
Authors: ไพฑูรย์ ขัมภรัตน์
Advisors: กุลพล พลวัน
วิษณุ เครืองาม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากในปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมมีความจำเป็นจะต้องทารปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะของสังคม กรมอัยการเป็นองค์กรหนึ่งที่มีอำนาจหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้สุจริตชนดำรงตนโดยปกติสุข ผลการวิจัยพบว่า องค์กรอัยการยังขาดความเป็นอิสระที่แท้จริง และอำนาจในการควบคุมการสอบสวนยังไม่มีประสิทธิภาพ กรมอัยการจึงควรปฏิรูปองค์กรให้เป็นหน่วยงานอิสระปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางอรรถคดี และนอกจากปฏิรูปองค์กรในด้านดังกล่าวแล้ว กรมอัยการจะต้องแก้ไขปรับปรุงอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการให้มีอำนาจควบคุมการสอบสวนเช่นเดียวกับอัยการนานาประเทศ ซึ่งการแก้ไขปรับปรุงทั้งสองกรณีจะทำให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมในเยื้องต้นได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม วิทยานิพนธ์เขียนขึ้นและสำเร็จลงได้ในช่วงเวลาที่การอภิปรายเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างของกระบวนการยุติธรรมโดยทั่วไป และขององค์กรอัยการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังดำเนินอยู่อย่างกว้างขวาง งานชิ้นนี้จึงหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาที่จะช่วยผลักดันกระบวนการยุติธรรมของไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากลเช่นเดียวกับนานาอารยประเทศทั้งหลาย
Other Abstract: In response to the rapid change of Thai society, the whole system of the justice administration is currently in the process of reorganization. The Office of the Attorney-General, one of the judicial organs, had also been embarking on the most important program of reforming. As a result of our study, the office is in need to enhance both its organization and responsibility i.e. to position the Office as a public body independent from the political interference and to upgrade its supervisory power over the inquiry process in order to make it in line with the international standard. The ultimate goal of this reformation is to enable the Office, through the independent status and more effective power, to be better served the public. By a coincidence, this thesis which dealt exclusively with the above­mentioned issues is completed in the course of change of the judicial process. The author would therefore be grateful if this thesis can be served as an additional piece of information in this connection.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30876
ISBN: 9745793965
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paitoon_khu_front.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_khu_ch0.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_khu_ch1.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_khu_ch2.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_khu_ch3.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_khu_ch4.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_khu_ch5.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_khu_back.pdf649.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.