Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31208
Title: การปรับตัวของชุมชนต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโรงงานอุตสาหกรรม : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Environmental movement and survival of communities : the case study of industrial areas
Authors: วรรณี พฤฒิถาวร
สุบเดศ วามสิงห์
Email: pwannee@chula.ac.th
subordas@siam.edu
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
Subjects: ไทย -- สมุทรปราการ -- ภาวะสิ่งแวดล้อม
ไทย -- ระยอง -- ภาวะสิ่งแวดล้อม
ไทย -- สระบุรี -- ภาวะสิ่งแวดล้อม
ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม -- ไทย
ของเสียจากโรงงาน -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย
มลพิษ -- ไทย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในช่วงเวลากว่าสามทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่าต่อเนื่อง โดยใช้แนวทางการพัฒนาการเป็นอุตสาหกรรมใหม่เป็นต้นแบบ รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่เริ่มมีการใช้แผนพัฒนาเศรษบกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมา ได้ดำเนินนโยบายส่เงสิรมการลงทุนภาคอุตสาหกรรม โดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาอุสาหกรรมของประเทศมากขึ้น การดำเนินนโยบายดังกล่าวมุ่งหวังที่จะให้ประเทศเจริญก้าวทัดเทียมอารยประเทศ หากแต่ละเลยการมองประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาที่ตามมาอย่างรุนแรงในพื้นที่หลาย ๆ จังหวัดของประเทศ การศึกษาครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากประเด็นปัญหาสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมและเกิดมลภาวะที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของราษฎรในชุมชนที่ได้รับผลกระทบนั้น ๆ การเก็บรวมข้อมูลใช้วิธีการวบรวมเอกสารงานวิจัยและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาโดยใช้การสำรวจราษฎรในพื้นที่ 3 แห่งที่ได้รัผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2540-2541 อันได้แก่ ตำบลมาบตาพุด ตำบลเชิงเนิน ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีโดย ใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ราษฎรจำนวน 109 คน, 105 คน ละ 65 คน ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้ทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้นำชุมชนในแต่ละจังหวัดด้วย เพื่อให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์และเห็นสภาพของการปรับตัวของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบในชุมชนส่วนใหญ่คือปัญหากลิ่นเหม็นจากวัตถุดิบและจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีตั้งแต่อุตสาหกรรมที่ใช้สารเคมี และอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้แล้วปัญหที่สั่งสมกันมาแต่ตั้งเดิมก็ไม่ได้เบาบางลงไปเลยก็คือปัญหาน้ำในแม่ลำคลองเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น และไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การปรับตัวของราษฎรต่อปัญหาสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมนี้พบว่า ราษฎรส่วนใหญ่ระบุว่าจำต้องทนกับสภาพและช่วยเหลือตนเอง ประเด็นของการให้เหตุผลดังกล่าวนี้ได้สะท้อนถึงสภาพปัญหาที่ซับซ้อนและน่าวิตกอย่างย่ิง กล่าวคือการรายงานดังกล่าวได้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของเวลา โดยที่ผู้นำชุมชนที่ได้ทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกนั้นกล่าวว่า ราษฎรมักเริ่มต้นปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในระยะเริ่มต้น โดยการร้องเรียนผ่านไปยังผู้ใหญ่หรือกำนัน แต่เมื่อปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขหรือเป็นการแก้ไขเพียง ชั่วครั้งชั่วคราว ราษฎรโดยส่วนใหญ่ก็จะเปลี่ยนวิธีการไปในลักษณะของการร้องเรียนโดยตรงต่อโรงงาน อุตสาหกรรม และอาจจะรวมถึงการใช้วิธีการชุมนุมเรียกร้อง ซึ่งในบางครั้งก็ได้รับการตอบสนองจากทางโรงงาน โดยการแก้ไขบำบัดปัญหาเป็นคราว ๆ แต่โดยส่วนใหญ่ราษฎรก็จะพบว่าปัญหามลภาวะ ที่ได้รับจากโรงงานก็กลับมาสู่สภาพเดิม เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการร้องเรียน ซึ่งอาจจะสรุปได้ว่าราษฎรในพื้นที่ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้มากไปกว่านี้ และต้องยอมรับสาภาพไปในที่สุด ในส่วนของราชการส่วนท้องถิ่นต่อกรณีการแก่ไขปัญหาพบว่า ทำได้เพียงแต่การเข้าไปดูสถานที่เพื่อรวจสอบข้อเท็จจริงบ้างเป็นครั้งคราว และการออกหนังสือตักเตือนเจ้าของโรงงานแต่ในท้ายที่สุดปัญหามลภาวะที่ราษฎรได้รับก็กลับมาสู่สภาพเดิม และเกิดขึ้นอีก การปรับตัวของชุมชนจากผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงที่ได้ทำการศึกษากระทำใน 3 รูปแบบหลักคือ การร้องเรียน การชุมนุมประท้วง และการยอมรับสภาพ ซึ่งการปรับตัว ดังกล่าวนี้เป็นดัชนีที่แสดงให้เห็นว่า ระบบการดำเนินงานของหน่วยงานภาครับและเอกชนต่อความรับผิดชอบในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อชุมชนเป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการพิจารณาแก้ไข ในอีกด้านหนึ่งความหวังและทางออกของราษฎรต่อการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมน่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของชุมชนในเรื่องของการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเข้ามาดำเนินการในชุมชน รวมทั้ง มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานจะต้องเป็นที่เปิดเผยและรับรู้่อชุมชน นอกจากนี้แล้วราษฎรในชุมชนอาจจะต้องอาศัยอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล ในการเป็นตัวแทนของชุมชนในการรักษาผลประโยชน์ของชุมชนและประสานความร่วมมือกับโรงงานอุตสาหกรรมในการที่จะดำเนินการและหามาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
Other Abstract: Thailand has developed its economic according to 'NICS' continually since the past three decades. The governments, since the beginning of the First Economic and Social National Development Plan, have contributed the industrial investment by promoting the private sector in playing more essential role to the industries development of the country. Proceeding such a policy to advance Thailand coming up other countries without considering the environmental problems had actually caused serioLlsly damages to the environment in several areas of the country aftermath. This research was carried out on the purpose of studying the adaptability to be survival of the people in the community who is impacted by the damage of environment and pollution. The data was available by two means, firstly by collecting documents, such as research papers, reviews and related literatures and theories. Secondly, by the field survey of the households living in three impacted areas during 1987-1988, namely: Mab Ta Phut District, Cheongneon and Ta Phong District in Amphur Muang, Rayong Province, Bang Pu Mai District in Amphur Muang, SamutPrakarn Province and Songkhorn District in Amphur Kang Khoy, Saraburi Province. The questionnaires were distributed to the villagers in a number of 109, 105 and 65 persons respectively. In addition, the interviews were also exploited to the community leaders in order to collect the environmental problems facing with the communities. The outcome of the study reflects that the most seriously problem of the three communities is the odor occurring from the industrial process in various kinds of industries around the area, such as chemical industries, food industries, etc. Moreover, it was reported that the villagers are also faced with the odor from the polluted and unusable rivers and canals which has been an accumulated problem. Considering to the point of the villagers' adaptation, it was found that most of them have to admit the situation unavoidably. The only choice is to endure and struggle to survive by themselves. These attitudes may be the reflection of the most complicated and anxious problem. The community leaders gave their opinions during the deep interview that the villagers' movement began with complaint to the header of the village (Phu Yai Ban or Kamnan). After that, if the problems still were not solved, they would complain to the factories directly or even formed the mob to revolt the factory's owner, which sometimes it was effective but just only a while or at times. However, most of the problems were not permanently solved. So, the villagers concluded that they could do nothing but admitting the surrounding finally. The role of the local officials towards the problems solution is just investigating the problem areas according to the villagers' claim and give the warning letter to the factories' owner which almost have no effect whatever, and the problems still go on as it used to be. The conclusion of this study is that the movement to survive and adaptation of the communities towards the environmental problems obviously appeared in 3 different ways: complaining to the authorized person, protest, and surrender to the problems and accepting them peacefully. Those ways of the community's adaptation indicated the low efficiency and lack of responsibility of the government officials and private sectors concerning to the environmental solution which have to be urgently implemented. On the other hand, the potential to acknowledge the people about the incoming activities operating in their communities has to be improved too. In addition, the environmental policy of industries must be uncovered and sincerely revealed to the public. In the mean time, the local government such as Or Bor Tor should be the agency to preserve advantages of communities and harmonize a cooperation with the factories in operation and finding out the environmental resolution and preservation regulation together.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31208
Type: Technical Report
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wannee_pu_2541_2.pdf13.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.