Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31212
Title: ผลของวิตามินอีต่อการตายของเซลล์ประสาทในปมประสาทไขสันหลังและการงอกใหม่ของเส้นประสาทภายหลังการบาดเจ็บในหนูแรท
Other Titles: Effect of vitamin E on dorsal root ganglion neuronal death and nerve regeneration after nerve injury in rats
Authors: จุฑามาศ ดอกแก้ว
Advisors: สิทธิพร แอกทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sithiporn.A@Chula.ac.th
Subjects: ภาวะเครียดออกซิเดชัน
ระบบประสาท -- การสร้างใหม่
วิตามินอี
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เมื่อเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ จะเกิดกระบวนการเสื่อมสลายของเส้นประสาท เรียกว่า Wallerian degeneration และจะเกิดการงอกใหม่ของเส้นประสาทได้เอง (nerve regeneration) แต่มักใช้เวลานานและมีการตายของเซลล์ประสาทเกิดขึ้น จึงมีการพัฒนาวิธีการรักษา เพื่อให้การงอกใหม่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิตามินอีมีคุณสมบัติที่ช่วยลดการเกิดภาวะ oxidative stress ในงานวิจัยที่ผ่านมามีการพบผลดีของวิตามินอีในการรักษาโรคทางระบบประสาทที่เป็นผลจาก oxidative stress นอกจากนี้ภาวะเส้นประสาทบาดเจ็บก็มีการพบภาวะ oxidative stress ด้วย วิตามินอีจึงน่าจะส่งผลดีต่อภาวะเส้นประสาทบาดเจ็บ ดังนั้น วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของวิตามินอีต่อการสูญเสียเซลล์ประสาทรับความรู้สึกในปมประสาทไขสันหลัง (DRG) และการงอกใหม่ของ axon (axonal regeneration) หลังการบาดเจ็บของเส้นประสาท โดยทำการหนีบเส้นประสาท sciatic ที่ขาข้างซ้ายของหนู และป้อนวิตามินอีเข้าทางปาก ขนาด 100, 500 และ 1,000 mg/kg/day เป็นระยะเวลา 10 วัน แล้วทำการนับจำนวนเซลล์ประสาทในปมประสาทไขสันหลัง ที่ระดับ L4 พบว่า วิตามินอีขนาด 500 และ 1,000 mg/kg/day ช่วยบรรเทาการลดลงของจำนวนเซลล์ประสาทในปมประสาทไขสันหลังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อเทียบกับกลุ่ม 100 mg/kg/day และกลุ่มควบคุม จึงเลือกวิตามินอีขนาด 500 mg/kg/day มาศึกษาต่อในการทดลองที่ 2 โดยหนีบเส้นประสาท sciatic เหมือนการทดลองแรก แต่ใช้เวลานานกว่าที่ 3 สัปดาห์ แล้วทดสอบการคืนหน้าที่ของเส้นประสาทสั่งการของเส้นประสาท sciatic โดยวัดจากรอยพิมพ์เท้าหนูเพื่อคำนวณค่า sciatic functional index (SFI) พบว่า วิตามินอีขนาด 500 mg/kg/day ไม่มีผลต่อการคืนหน้าที่ของเส้นประสาทสั่งการของเส้นประสาท sciatic แต่ในลักษณะทางจุลกายวิภาค พบว่า สามารถช่วยเพิ่ม fiber density ใน segment ที่ 2 และ 3 และเพิ่มจำนวน myelinated nerve fiber ใน segment ที่ 3 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ดังนั้นผลการทดลองที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของวิตามินอีต่อภาวะเส้นประสาทบาดเจ็บ โดยช่วยบรรเทาการลดลงของจำนวนเซลล์ประสาทใน DRG และให้ผลดีต่อการงอกใหม่ของเส้นประสาท sciatic
Other Abstract: After nerve injury, there is degeneration of nerve fibers called Wallerian degeneration followed by nerve regeneration. However, the recovery is limited by slow axonal regeneration and neuronal cell death. To improve the regeneration, many drugs have been testing. Vitamin E has antioxidant property which can reduce oxidative stress. In the past, several studies have shown the benefits of vitamin E in nervous system disorders in which oxidative stress plays a causal role. Oxidative stress is also found after nerve injury. Therefore, vitamin E may be beneficial to nerve injury. The aim of this study was to test the effect of vitamin E on dorsal root ganglion neuronal death and nerve regeneration after nerve injury in rats. After crushing the left sciatic nerve, vitamin E was gavaged 100, 500 and 1,000 mg/kg/day for 10 days. L4 DRG neurons was counted and vitamin E 500 and 1,000 mg/kg/day significantly reduced neuronal cell loss in DRG (p<0.01) compared with 100 mg/kg/day and control group. The next study used the same nerve injury model with vitamin E 500 mg/kg/day treatment for 3 weeks. Then, the functional recovery of sciatic nerve was tested by measuring foot prints for calculating the sciatic functional index (SFI). The results showed that vitamin E 500 mg/kg/day did not significantly improve the functional recovery. However, in the nerve morphometry study, fiber density and myelinated nerve fiber were significantly increased in the distal nerve segments in the vitamin E (p<0.05) compared with the control group. These data show the benefits of vitamin E on nerve injury by reducing neuronal cell loss and enhancing nerve fiber regeneration.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31212
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.277
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.277
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jutamard_do.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.